ข่าวข่าวต่างประเทศ

เปิดลิสต์ อาหารที่พบ “ไมโครพลาสติก” มากที่สุด เรากำลังกินโดยไม่รู้ตัว

คุณกินพลาสติกไปมากเท่าไหร่แล้ว ประโยคนี้อาจเหมือนเป็นการหยอกล้อทั่วๆไป แต่มันดันกลายเป็นความจริงที่หลายๆคนไม่ทราบมาก่อนก็เป็นได้

ล่าสุดวันที่ 24 เม.ย. 67 สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น (CNN) ออกมาเปิดเผยว่าจากได้มีงานผลวิจัยในช่วงต้นปี 2024 ซึ่งระบุว่า 90 เปอร์เซนต์ ของเนื้อสัตว์และผัก ได้ตรวจพบ ไมโครพลาสติก (Microplastics) ซึ่งเป็นเศษพลาสติกขนาดจิ๋วที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมโครเมตรเสียอีก

Advertisements

แม้แต่สายมังสวิรัติ ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยผลวิจัยในปี 2021 ได้ระบุไว้ว่าผักและผลไม้สามารถดูดซับไมโครพลาสติกผ่านทางราก และหากพลาสติกนั้นมีขนาดเล็กมากพอ จะส่งผลให้ ลำต้น, ใบ และผล มีการปนเปื้อนไปอีกด้วย

ไม่ใช่แค่ผัก, ผลไม้ เท่านั้น แต่เกลือที่เราใช้ปรุงอาหารอยู่ทุกวันนี้ก็มีพลาสติกแฝงอยู่เช่นเดียวกัน ผลการวิจัยในปี 2023 ได้พบว่า เกลือหิมาลัยสีชมพู มีปริมาณไมโครพลาสติกมากที่สุด รองลงมาคือเกลือดำและเกลือทะเล

แม้แต่ ชาถุง ที่เราชงดื่มกันบางยี่ห้อก็ทำจากพลาสติกเช่นเดียวกัน ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัย McGill ในแคนาดา พบว่าการชงชาเพียงถุงเดียว อาจปล่อยไมโครพลาสติกสู่เครื่องดื่มมากถึง 11.6 พันล้านชิ้น และนาโนพลาสติกอีก 3.1 พันล้านชิ้น

พร้อมทั้ง University of Queensland ได้ค้นพบว่า ข้าวทุกๆ 100 กรัม มีไมโครพลาสติก ราว 3-4 มิลลิกรัม และสำหรับข้าวสำเร็จรูปอาจมีได้ถึง 13 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค รวมถึงน้ำดื่มบรรจุขวด ได้พบว่าในน้ำ 1 ลิตร มีเศษพลาสติกเฉลี่ยถึง 240,000 ชิ้น เลยทีเดียว

Advertisements

ลิสต์อาหารที่พบไมโครพลาสติก

Environmental Research ได้พบว่าโปรตีนที่เรารับประทานกันทั่วไป ทั้งเนื้อวัว, กุ้ง, เนื้อไก่ต่างๆ, หมู, อาหารทะเล, เต้าหู้ รวมไปถึงเนื้อสัตว์เทียมจากพืช ต่างมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนกัันทั้งหมด

โดยในการศึกษาพบว่า กุ้งชุบเกล็ดขนมปัง มีปริมาณไมโครพลาสติกสูงที่สุด เฉลี่ยมากกว่า 300 ชิ้นต่อหนึ่งหน่วย รองลงมาคือ นักเก็ตจากพืช ซึ่งมีปริมาณน้อยกว่า 100 ชิ้นต่อหนึ่งหน่วย ตามด้วย นักเก็ตไก่, กุ้งสด เป็นต้น ซึ่งโปรตีนที่มีการปนเปื้อนน้อยที่สุดได้แก่ อกไก่ ตามด้วย สันใน/สันนอกหมู และ เต้าหู้

นักวิจัยยังได้เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์นี้กับข้อมูลการบริโภคของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และประมาณการค่าเฉลี่ยได้ว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน จะได้รับไมโครพลาสติกอยู่ระหว่าง 11,000 – 29,000 ชิ้นต่อปี และอาจสูงถึง 3.8 ล้านชิ้นต่อปี

ความอันตรายของไมโครพลาสติกต่อร่างกาย

จากงานวิจัยเมื่อมีนาคม 2024 ที่ผ่านมาได้ระบุไว้ว่า ผู้ที่มี ไมโครพลาสติก หรือ นาโนพลาสติก อยู่ในหลอดเลือดแดงบริเวณลำคอจะมีโอกาสอาการ เกิดหัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หรือเสียชีวิต มากขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีพลาสติกเหล่านี้ในร่างกาย

โดยผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ว่า นาโนพลาสติก คือมลพิษพลาสติกชนิดที่น่ากลัวต่อสุขภาพของมนุษย์เรามากที่สุด เนื่องจากอนุภาคที่เล็กมาก ทำให้พวกมันสามารถแทรกซึมเข้าสู่เซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งอาจนำไปสู่การขัดขวางกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ และสะสมสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ เช่นกลุ่มสารบิสฟีนอล (bisphenols), พาทาเลต (phthalates), สารหน่วงการลามไฟ หรือแม้แต่สารในกลุ่ม PFAS และโลหะหนัก

อ้างอิงข้อมูลจาก : 1

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

sorrawit

นักเขียนข่าวกีฬาประจำ Thaiger มีความสนใจในด้านกีฬาตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล บาสเกตบอล หรืออเมริกันฟุตบอล รวมไปถึงชื่นชอบเกมและอนิเมะเป็นชีวิตจิตใจ ปัจจุบันสั่งสมประสบการณ์เขียนบทความกีฬาออนไลน์ มากกว่า 4 ปี หัวข้อที่เชี่ยวชาญคือเรื่องกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล ช่องทางติดต่อ gig@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button