นักสิ่งแวดล้อม ตั้งคำถาม 5 ข้อ ขุด “กากแคดเมียม” ไปขายต่อทำได้อย่างไร ?
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งคำถาม ขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย แคดเมียม สังกะสี จากหลุมฝังกลบถาวรไปรีไซเคิลหริอขายต่อ ทำได้อย่างไร
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ออกมาตั้งคำถามถึงกรณี พบการลักลอบขนย้าย “กากแคดเมียม” และสังกะสี 15,000 ตัน มาทิ้งไว้ภายในโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสาคร โดยตั้งประเด็น “ขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย” ตะกรันกากสังกะสี-แคดเมี่ยม จากหลุมฝังกลบถาวรไปรีไซเคิลหรือขายต่อนั้น ทำได้อย่างไร ?
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งปมไว้ 5 ข้อ ดังนี้
- มีการขนกากอุตสาหกรรมหรือตะกรันที่เกิดจากการหลอมแร่สังกะสี ซึ่งในกากตะ กรันดังกล่าวมีแคดเมี่ยมปนเปื้อนถึง38% จากบ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมแบบปลอ ดภัย (secured Landfll) ซึ่งปิดหลุมแบบถาวรไปแล้ว
โดยหลุมนี้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงงานถลุงแร่สังกะสีบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด จ.ตากและได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเบาด์ แอนด์ บียอนต์ จำกัด เมื่อปี 2564 โดยนำใส่ในถุง big bagรวมแล้วประมาณ15,000ตันขนส่งไปเก็บในอาคารของโรง งานของบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ตั้งอยู่ที่ ถนนเอกชัย ตำบลบางน้ำจืด อำ เภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานลำดับที่106ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการหลอมแท่งโลหะอลูมิเนียมเพื่อเตรียมหลอมหรือขายต่อ
2. ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้ประ กาศเขตอันตราย ห้ามบุคคลหรือสิ่งอื่นใด เข้าไปภายตัวอาคารรวมถึงห้ามมีการหล่อหลอมตะกรันดังกล่าวโดยเด็ดขาด และให้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครส่งกากคืนกลับไปฝังกลบที่โรงงานจังหวัดตากตามเดิม
3. ประเด็นที่สำคัญคือตะกรันกากสังกะสีแคดเมี่ยมถูกฝังกลบแบบถาวรไปแล้วแต่หน่วยราชการจ.ตากไปอนุญาตให้ขุดขึ้นมาได้อย่างไร? ทั้งที่รายงานอีไอเอของโรง งานถลุงสังกะสีผาแดงได้ระบุว่าเป็นกากอุตสาหกรรมอันตรายให้ฝังกลบแบบถาวรตลอดไป ซึ่งตามกฏหมายมาตรการในราย งานอีไอเอดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัดและจ.ตากยังอนุญาตให้ขนส่งไปรีไซเคิลยังโรงงานเจ แอนด์ บี เมททอล จำกัดซึ่งเป็นโรงงานได้รับอนุญาตให้กักเก็บและบดย่อยกากอุตสาหกรรมและหล่อหลอมอะลู มิเนียมเท่านั้น ได้อย่างไร ?
4. หากมีกากตะกรันสังกะสีแคดเมี่ยมบางส่วนดังกล่าวได้ถูกหลอมในเตาหลอมของโรงงานเจ แอด์ บี เมททอล จำกัดซึ่งไม่มีอุปกรณ์ควบคุมก๊าซพิษจะทำให้ไอระเหยของแคดเมี่ยมระบายออกไปสู่บรรยากาศและก่อให้เกิดเป็นพิษอย่างร้ายแรงที่มีผล กระทบอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนใกล้เคียง
5. “สารแคดเมี่ยม” เข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจและการกินจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดและโรคไตเรื้อรังจนไตวาย นอกจากนี้แคดเมี่ยมจะไปสะสมที่กระดูก เป็นโรคปวดข้อ โรคกระดูกผุ จะเจ็บปวดมาก.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รู้จัก กากแคดเมียม กลุ่มโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง หลังพบซุกที่ โรงงานสมุทรสาคร
- อว. สั่งนักวิทย์ลงพื้นที่เฝ้าระวัง แคดเมียม เผยอันตรายพร้อมแนะวิธีสังเกตอาการ
- ผู้ว่าสมุทรสาคร สั่งห้ามเข้าใกล้โรงงานซุกแคดเมียม ไม่ใช่ประกาศภัยพิบัติ