สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

รู้จัก “กากแคดเมียม” กลุ่มโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง หลังพบซุกที่ โรงงานสมุทรสาคร

เตือนภัย “กากแคดเมียม” สารปนเปื้อนโลหะหนักตกตะกอน หากสัมผัสหรือสูดดมเข้าสู่ร่างกาย อันตรายถึงแก่ชีวิต เสี่ยงเกิดโรคมะเร็ง และโรคอิไต-อิไต ทรมานไร้ทางรักษานับสิบปี หลังจากก่อนหน้านี้ มีการพบกากแคดเมียมและกากสังกะสีถูกซุกอยู่ใต้โรงงาน แห่งหนึ่ง ในฃ จ.สมุทรสาคร กว่า 15,000 ตัน ส่งผลให้ผู้ว่าฯ ต้องประกาศเป็นเขตห้ามเข้าชั่วคราว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในบริเวณดังกล่าว

เปิดที่มา “แคดเมียม” ปัจจัยก่อให้เกิด โรคอิไต-อิไต และมะเร็ง

แคดเมียม หรือ กากแคิดเมียม (Cadmium) คือ สารเคมีกลุ่มโลหะหนัก เช่นเดียวกับ สารตะกั่ว ปรอท แมงกานีส และสารหนู มีสัญลักษณะในตารางธาตุคือ “ซีดี” (Cd) สามารถพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ ดังนั้นในการทำเหมืองสังกะสี จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น “กากแคดเมียม” ตามมาด้วย

นอกจากนี้ แคดแมียม ยังสามารถพบได้ในอาหาร ในน้ำทิ้งหรือน้ำเสีย ในถ้ำเหมือง หรือในกลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่ มีสัมผัสเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศรีษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปอด ไต และตับ อวัยวะภายในโดยรวมจะถูกทำลาย

จนอาจลุกลามกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือ โรคอิไต-อิไต ที่เคยมีข่าวพบผู้ป่วยโรคนี้ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อในช่วงปี พ.ศ. 2493

ถ่าน แบตเตอรี่ ทำจาก แคดเมียม โลหะหนัก อันตรายต่อชีวิต

กากแคดเมียมมีใช้ทำอะไร

ในปัจจุบัน แคดเมียม ถูกใช้อุตสาหกรรมการก่อสร้างเช่น ผสมในสีที่ผสมที่ใช้กับบ้านหรืออาคาร และอุตสาหกรรมอุปกรรณอิเล็กทรอนิกส์อย่าง การนำมาทำเป็น แบตเตอรี่ต่าง ๆ ถ่านไฟฟ้า ซึ่งพบได้มาในถ่าน Ni-Cd วนที่เหลือมักนิยมนำไปใช้สำหรับทำสีผง สารเคลือบ โลหะชุบ และการสายการผลิตวัสดุพลาสติกอื่น ๆ

ผลข้างเคียงอันตรายต่อ “ร่างกาย-สิ่งแวดล้อม”

ทั้งนี้ หากโลหะแคดเมียมที่ตกค้าง ถูกอุณหภูมิความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เกิดการระเหยเป็นควันกระจายอยู่ในอากาศบริเวณดังกล่าวเป็นวงกว้าง

เมื่อร่างกายสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดการสะสมสารพิษไว้ใน “ตับ” และ “หมวกไต” หรือ (Renal Cortex) และจะอยู่ในร่างกายมนุษยได้นานตามค่าชีวิต Half-Life มากถึง 30 ปี

อย่างไรก็ตาม ตะกอนแคดเมียม ยังพบเจอได้ใน “ปอด” และมีความเสี่ยงเกิดอันตรายส่วนของไตทำให้หน้าที่การกรองของไต (GFR) ลดลงอีกด้วย

สำหรับวิธีการเช็กสารเคมีแคดเมียมในร่างกาย จะต้องใช้เครื่อง Oligoscan เป็นการตรวจวัดระดับแร่ธาตุและโลหะหนักระดับเนื้อเยื่อ

ทว่าอาการส่วนใหญ่ของผู้ได้รับสารพิษจะเกิดขึ้นอย่างไม่เฉพาะเจาะจง บางรายอาจมีแค่อาการไม่สดชื่น นอนไม่หลับ หรืออ่อนเพลียตามปกติ สมองเหนื่อยล้าง่าย หลงลืมง่าย

ในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรค ความดันโลหิตสูง โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และภาวะขาดเลือด หรือโรคเบาหวาน อาจทำให้มีอาการทรุดหนักลงกว่าเดิม หรืออาจมีโรคภูมิแพ้แบบไม่ทราบสาเหตุเพิ่มเติมอีกด้วย

จากกรณีข่าวการรั่วไหลของกากแคดเมียมในประเทศญี่ปุ่นเมื่อครั้งอดีต พบว่าผู้ป่วยมากกว่าพันคน เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาน โดยบริเวณ แขน ขา สะโพก และบริเวณฟันจะพบมีวงแหวนสีเหลืองติดกับเหงือก เรียกว่า “วงแหวนแคดเมียม” และจะมีอาการปวดร้าวสะสมนานถึง 20-30 ปี เมื่อร่างกายเดินไม่ไหว ก็จะเกิดการกดกระดูกสันหลัง เรียกว่าโรคอิไต-อิไต (Itai-Itai disease)

อาการที่ได้รับสารแคดเมียมจากการกิน จะท าให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง

กากแคดเมียม สารเคมีตกค้าง ใช้ทำอะไร และมีประโยชนใหม่

กินอาหารทะเล เสี่ยงปนเปื้อน “กากโลหะแคดเมียม”

โรงงานหรือโกดังที่มีการกักเก็บ กากแคดเมียม ซึ่งมีที่ตั้งใกล้กับแหล่งหาวัตถุดิบอาหารทะเล หรือผลิตภัณฑ์พืชผลเกษตรกรรม อาจเสี่ยงปนเปื้อนตะกอนโลหะได้ด้วยเช่นกัน จึงไม่ควรหาอาหารทะเลหรือวัตถุดิบใกล้กับบริเวณดังกล่าวโดยเด็ดขาด

วิธีการกำจัดแคดเมียมปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

สำหรับกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนแคดเมียมที่ซึมลงชั้นดิน จนส่งผลต่อการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร จะต้องใช้วิธีการทางชีวภาพ หรือ Bioaugmentation-assisted phytoextraction ช่วยบำบัดดินที่ปนเปื้อน ด้วยการนำจุลินทรีย์ต้านทานแคดเมียมบางสายพันธุ์ เพิ่มโอกาสให้พืชสามารถดูดดึงแคดเมียมขึ้นไปสะสมในพืชได้มากขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : mt.mahidol.ac.th

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button