ข่าว

อว. สั่งนักวิทย์ลงพื้นที่เฝ้าระวัง “แคดเมียม” เผยอันตรายพร้อมแนะวิธีสังเกตอาการ

เปิดอันตรายแคดเมียม รัฐมนตรี อว. สั่งทีมนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วลงพื้น พร้อมเปิดวิธีป้องกันเบื้องต้น ข้อมูลวิทยาศาสตร์ยันชัดเป็นสารก่อมะเร็งที่ไต ต่อมลูกหมาก

กรณีลักลอบขนย้าย “กากแคดเมียม” และ “สังกะสี” 15,000 ตัน สารอันตรายที่ถูกฝังกลบในหลุม จ.ตาก แต่ถูกขนย้ายนำมาทิ้งไว้ ภายในเขตบริษัทแห่งหนึ่งของพื้นที่ จ.สมุทรสาคร โดย ผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ลงนามประกาศให้ปิดพื้นที่ดังกล่าวเป็นเวลา 90 วัน

Advertisements

อ้างอิงข้อมูลจากไทยพีบีเอส พูดคุยกับ ผู้ว่าฯสมุทรสาคร ยืนยันยังไม่มีการประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เพียงแต่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่ ที่พบสารเคมีเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อให้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครเข้าตรวจสอบ

ขณะที่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. โดย ศุภมาส อิศรภักดี รมว. อว. สั่งการด่วนให้ทีมนักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) ลงพื้นที่เพื่อร่วมเฝ้าระวังควบคุมป้องกันผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและสิ่งแวดล้อม

ศุภมาส อิศรภักดี รมว อว
ภาพ FB. @DSSTHAISCIENCE
แคดเมียม อันตราย
ภาพ Facebook @Sonthi Kotchawat

พร้อมกันนี้ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) อว. ได้ให้ข้อมูลและข้อแนะนำด้านวิทยาศาสตร์ ในการควบคุมสถานการณ์ เฝ้าระวัง ป้องกันผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. แคดเมียม (Cd) เป็นโลหะหนัก พบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสี จะได้แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย สามารถพบแร่แคดเมียมได้ในอาหาร น้ำ เหมือง และส่วนน้ำทิ้ง น้ำเสีย และยังสามารถพบกากแร่แคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร

2. อันตรายจากแคดเมียมเกิดขึ้นได้หากแคดเมียมถูกความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส

Advertisements

จะเกิดเป็นควันกระจายสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปอด ไต และตับจะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอดจะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้นจนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุดล นอกจากนี้ ยังเกิดจากการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

อว ลงพื้นที่แคดเมียม สมุทรสาคร
ภาพ FB. @DSSTHAISCIENCE

ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์พบว่า “แคดเมียม” เป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก

นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไตเกิดโรคไตอย่างรุนแรง ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่นและทำให้ เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้น ๆ จะมีอาการจับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อาการนี้จะเป็นได้นานถึง 20 ชั่วโมงแล้วตามด้วยอาการเจ็บหน้า อก ไอรุนแรง น้ำลายฟูม

เมื่อใดมีไอของแคดเมียม เช่น จากการเชื่อมเหล็กชุบ ควรใช้หน้ากากป้องกันไอและฝุ่นของแคดเมียม หรือสารประกอบแคดเมียม ในขณะทำงาน

อย่างไรก็ตาม อาการส่วนใหญ่มักเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง เช่น “มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือนอนไม่หลับ”

บางครั้งมีความรู้สึกว่าสมองล้า ลืมง่าย หรือความคิดสร้างสรรค์เรื่องงานลดลง

แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน จะทำให้อาการแย่ลงหรือว่าการรักษาไม่สำเร็จผลอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งผู้ที่ได้รับสารพิษโลหะหนักอาจจะพบว่ามีอาการภูมิแพ้แบบไม่ทราบสาเหตุ หรือมักจะมีอาการเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน

แคดเมียม
ภาพ Facebook @Sonthi Kotchawat

เปิดวิธีรักษาหากพบผู้ป่วยได้รับผลกระทบจาก “แคดเมียม”

หากพบผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ต้องมีระบบส่งต่อผู้ป่วยสู่การรักษา มีวิธีรักษา คือ การกำจัดหรือล้างสารพิษโลหะหนักในร่างกาย ทำได้โดยการให้สารทางหลอดเลือดเพื่อที่จะไปจับกับโลหะหนักออกจากร่างกาย ซึ่งวิธีนี้มีการใช้ยาวนานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันก็ยังมีที่ใช้อย่างแพร่หลายทางพิษวิทยา *** แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

ควรมีการเฝ้าระวังและควบคุมปัญหาใน “สิ่งแวดล้อม”

การปนเปื้อนแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะการปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่เพาะปลูก เพราะแคดเมียมไม่สามารถถูกย่อยสลายได้ และสามารถถูกสะสมผ่านทางห่วงโซ่อาหารได้

ดังนั้นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการบำบัดพื้นที่ปนเปื้อน วิธีการหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ วิธีการทางชีวภาพ โดยเฉพาะการใช้พืชในการบำบัดดินปนเปื้อน

แต่การใช้พืชในการบำบัดยังมีประสิทธิภาพที่จำกัด เช่น การนำจุลินทรีย์ต้านทานแคดเมียมบางสายพันธุ์ ที่มีความสามารถในการช่วยส่งเสริมการเติบโตของพืช หรือช่วยในการละลายหรือเคลื่อนที่แคดเมียมให้หลุดออกมาจากดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสให้พืชสามารถดูดดึงแคดเมียมขึ้นไปสะสมในพืชได้มากขึ้นรวมทั้งการที่พืชเติบโตดีขึ้นจะมีมวลชีวภาพที่มากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีในการนำพืชไปใช้ในการบำบัดโลหะหนักในดิน กระบวนการนี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบำบัดโลหะหนักในดินด้วยพืชโดยการเติมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ.

ตรวจพบแคดเมียมถูกำนมาทิ้ง สมุทรสาคร
ภาพ Facebook @Sonthi Kotchawat

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button