สรุปสาระสำคัญ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับ สว.โหวตผ่าน
เปิดข้อกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับที่ผ่านในประเทศไทย หลัง สว.มีมติเห็นชอบ บังคับใช้หลังประกาศราชกิจจานุเบกษา 120 วัน สิ้นสุดการต่อสู้เรียกร้องเพื่อสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ พร้อมปูทางสู่สังคมที่หลากหลาย
จากเส้นทาง 23 ปี สู่ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านวาระ 3 ด้วยมติ เอกฉันท์ 400 เสียง ในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2567 พร้อมเตรียมส่งให้วุฒิสภาฯ แล้วจึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ตัดสิ้นชี้ขาดในขั้นต่อไป ส่งผลให้ในตอนนี้ ประเทศไทย กลายเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศแห่งที่ 3 ในทวีปเอเชีย ที่ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่อจาก ไต้หวัน และเนปาล
กระทั่งเมื่อวันอังคารที่ 18 มิถุนายน 2567 เวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ลงมติเห็นชอบใน พรบ.สมรสเท่าเทียม โดยจากผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน มีผู้เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง ซึ่งจากมีการบังคับใช้
สรุปร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม สว.โหวตผ่าน
เปรียบเทียบร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับที่ผ่านวาระ 3 ชั้นกรรมาธิการ ด้วยมติเอกฉันท์ 400 เสียง จะมีรายละเอียดแตกต่างจาก กฎหมายสมรสปัจจุบัน กฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับร่าง ครม. และฉบับที่ สว.โหวตผ่านแล้วอย่างไรบ้าง หลังจากที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน
กฎหมายสมรสปัจจุบัน ฉบับ สว.โหวตผ่าน
1. สถานะทางกฎหมาย : “คู่สมรส” คือมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมาย
2. ให้อายุการสมรสเป็น 18 ปี จากเดิม 17 ปี
3. คำว่า “ชาย” และ “หญิง” ถูกแทนที่ด้วย “บุคคล”
4. กำหนดให้การสมรสหรือแต่งงานครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ไม่จำกัดแค่เพศชายและเพศหญิง
5. การรับบุตรบุญธรรม
กฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับผ่านชั้นกรรมาธิการ
1. การหมั้น : ผู้หมั้น และผู้รับหมั้น
2. เพศ : บุคคลทั้งสองฝ่าย
3. อายุผู้ที่ทำการสมรส : อายุ 18 ปี
4. สถานะหลังจดทะเบียนสมรส : 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. การบัญญัติคำว่า บุพการีลำดับแรก : ในกฎหมายให้มี สิทธิ และหน้าที่เทียบเท่าบิดามารดา
6. ระยะเวลาบังคับใช้ : –
7. แก้ กม.แพ่งฯ บิดามารดากับบุตร : –
8. บัญญัติให้สิทธิตามกฎหมายอื่น : บัญญัติไว้ (มาตรา 66/1)
9. บัญญัติให้หน่วยงานอื่นแก้ กม. : ภายใน 180 วัน
กฎหมายสมรส ร่าง ครม.
1. การหมั้น : ผู้หมั้น และผู้รับหมั้น
2. เพศ : บุคคลทั้งสองฝ่าย
3. อายุผู้ที่ทำการสมรส : อายุ 17 ปี
4. สถานะหลังจดทะเบียนสมรส : 120 วัน นับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5. ระยะเวลาบังคับใช้ : –
6. แก้ กม.แพ่งฯ บิดามารดากับบุตร : –
7. บัญญัติให้สิทธิตามกฎหมายอื่น : –
8. บัญญัติให้หน่วยงานอื่นแก้ กม. : ภายใน 180 วัน
กฎหมายสมรสปัจจุบัน
1. การหมั้น : ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง
2. เพศ : ชาย-หญิง
3. อายุผู้ที่ทำการสมรส : อายุ 17 ปี
4. สถานะหลังจดทะเบียนสมรส : สามีภริยา / คู่สมรส
5. ระยะเวลาบังคับใช้ : –
6. แก้ กม.แพ่งฯ บิดามารดากับบุตร : –
7. บัญญัติให้สิทธิตามกฎหมายอื่น : –
8. บัญญัติให้หน่วยงานอื่นแก้ กม. : –
ทั้งนี้ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม วาระที่ 2-3 หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายครบแล้ว 68 มาตรา ด้วยคะแนนเสียง 400 ต่อ 10 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง ไม่ลงคะแนน 3 เสียง
สมรสเท่าเทียม กฎหมายแก้ปัญหาการแต่งงานคนเพศเดียวกัน
สมรสเท่าเทียมเป็นร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สมรสเท่าเทียม หรือ ร่างแก้ ป.พ.พ. ที่ยืนอยู่บนแนวคิดการเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะเรื่องการสมรสของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIA+ ในสังคมไทย
เดิมมีหลักการคือให้บุคคลสองคนที่เป็นเพศเดียวกัน สามารถสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่างกฎหมายฉบับที่นำเข้าวาระการประชุมนี้ นำเสนอโดยพรรคก้าวไกล โดยมีรายละเอียดสรุปเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
– สามารถหมั้นและสมรสกันได้ทุกเพศ สถานะทางกฎหมายของบุคคลทั้งสองฝ่ายที่สมรสกัน จะถูกเรียกว่า คู่สมรส
– อนุญาตให้หมั้นได้ โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์
– สามารถจดทะเบียนสมรสได้ โดยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หากมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ต้องได้รับความยินยอมจากพ่อแม่
– สามารถจดทะเบียนกับชาวต่างชาติได้
– การมอบของหมั้น ฝ่ายผู้หมั้นจะมอบให้แก่ผู้รับหมั้น หรือทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนของหมั้นกันได้
– การมอบสินสอด ฝ่ายผู้หมั้นมอบให้แก่บิดามารดาของผู้รับหมั้น หรือสามารถมอบให้แก่บิดามารดาของทั้งสองฝ่ายได้
– สามารถใช้นามสกุลร่วมกันได้
– สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
– สามารถรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้
– สามารถจัดการทรัพย์สินร่วมกัน
– การเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายของคู่สมรส จะได้กรณีที่กฎหมายกำหนดให้ เช่น สิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล, การรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม
– สามารถอุ้มบุญได้
– สามารถเซ็นอนุญาตรักษาพยาบาลอีกฝ่ายได้
– สามารถจัดการศพของอีกฝ่ายได้
ขั้นตอนสู่การประกาศใช้กฎหมาย พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม
1. สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับร่างหลักการ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
2. จากนั้นจะมีการแต่งตั้งกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
3. ลำดับต่อไป สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติเห็นชอบ หากผลโหวตออกมาว่าไม่เห็นชอบ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะตกไป
4. หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะถูกส่งต่อให้สมาชิกวุฒิสภาลงมติเห็นชอบ
5. จากนั้นจะมีการแต่งตั้งกรรมาธิการ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
6. สมาชิกวุฒิสภาจะลงมติ หากเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จะถูกส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ
*กรณีสมาชิกวุฒิสภาลงมติไม่เห็นชอบ จะมีการส่งคืนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ยับยั้งไว้ 180 วัน หากเห็นชอบอีกครั้งร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ก็จะถูกนำส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่หากไม่ชอบก็จะตกไป
7. หากร่างกฎหมาย พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ไม่ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ จะมีการส่งให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย
8. ลำดับสุดท้ายคือออกประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- ด่วน! ผ่านแล้ว ‘สมรสเท่าเทียม’ เห็นชอบวาระ 3 ได้คะแนนเสียงท่วมท้น
- เทียบชัด ๆ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล กับ ฉบับก้าวไกล ต่างกันอย่างไร