เงินเดือนนักโภชนาการ กูรูด้านสุขภาพ แต่ละระดับได้เงินเท่าไหร่กันบ้าง
เปิดฐานเงินเดือนนักโภชนาการ อาชีพในฝันด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีโอกาสเติบโตได้ไกล ปัจจุบันมีรายได้เท่าไหร่กันบ้าง
อาชีพนักโภชนาการ สายอาชีพด้านสุขภาพที่สำคัญ ต้องคอยดูแลคุณค่าทางโภชนาการให้กับผู้คนในสังคมหรือองค์กรต่าง ๆ เราสามารถสังเกตได้ว่า ในหลายบริษัทหรือโรงเรียนชั้นนำจะมีนักโภชนาการอย่างน้อย 1-2 คน เพื่อดูแลเรื่องอาหารการกินโดยเฉพาะ เนื่องจากร่างกายของคนเราต้องการของที่มีประโยชน์และเหมาะสมนั่นเอง
วันนี้ไทยเกอร์เลยจะพาทุกท่านไปดูกันว่า อาชีพนักโภชนาการ ทำหน้าที่อะไรและมีฐานเงินเดือนตำแหน่งละเท่าไหร่กันบ้าง
หน้าที่ของนักโภชนาการ บุคลากรทางการแพทย์ด้านอาหาร
หลายคนอาจจะไม่ทราบว่า จริง ๆ แล้วนักโภชนาการถูกนับเป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์สายสุขภาพด้านการแพทย์ด้วยนะ เพราะอาหารที่มนุษย์ทานเข้าไป เป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ฉะนั้นบทบาทของนักโภชนาการจึงเปรียบเสมือนแพทย์หน่วยเริ่มต้นที่คอยดูแลสุขภาพร่างกายของเรา ผ่านการวิเคราะห์อาหารการกินนั่นเอง
สำหรับหน้าที่ของนักโภชนาการ มีหน้าที่หลัก ๆ อยู่ทั้งหมด 2 อย่าง ดังนี้
- แนะนำเรื่องคุณค่าอาหารและโภชนาการของแต่ละบุคคล
- ดูแลเรื่องอาหาร เพื่อช่วยบำบัดผู้ป่วย
ทั้งนี้อาชีพนักโภชนาการแม้จะเป็นงานในฝันของใครหลายคน แต่จริง ๆ แล้วก็มีความยากลำบากอยู่เหมือนกัน เพราะการทำงานอาจมีความยืดหยุ่นเรื่องเวลา ทำให้กลับบ้านไม่ตรงเวลานัก อีกทั้งยังต้องระมัดระวังเรื่องส่วนประกอบของอาหารเพื่อความถูกต้องรัดกุม จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่ตนดูแล ซึ่งหลายครั้งต้องพิจารณาควบคู่ไปกับคำสั่งแพทย์และประวัติการรักษาของผู้ป่วยด้วย
เงินเดือนนักโภชนาการ รายได้กี่บาท
สำหรับเงินเดือนของนักโภชนาการ ในปัจจุบันได้มีการประเมินเอาไว้คร่าว ๆ 3 ระดับ เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกของเด็กจบใหม่ ไปจนถึงการเป็นระดับหัวหน้า ดังนี้
- นักโภชนาการ (นักศึกษาจบใหม่) รายได้ 25,000 -30,000 บาท
- นักโภชนาการอาวุโส รายได้ 40,000 – 60,000 บาท
- หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ รายได้ 60,000 – 80,000 บาท
นอกจากนี้แล้ว หากนักโภชนาการออกเดินสายเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านอาหารและสุขภาพ ก็จะได้เงินค่าวิทยากรเริ่มต้นที่ 5,000 – 6,000 บาทด้วยนะ
อยากทำงานเป็นนักโภชนาการ ต้องสมัครงานทีไหน
ทั้งนี้อาชีพนักโภชนาการมีอยู่ในหลายองค์กรทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษา, โรงพยาบาล, บริษัทเอกชน, ศูนย์บริการความงาม และหน่วยงานรัฐบาล ทำให้ผู้ที่เรียนจบทางด้านนี้ มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานสูงนั่นเอง
- โรงพยาบาล
เป็นสถานที่ทำงานหลักของนักโภชนาการ โดยนักโภชนาการในโรงพยาบาลจะมีหน้าที่ให้คำแนะนำด้านโภชนาการแก่ผู้ป่วย จัดทำแผนอาหารเพื่อรักษาโรค ควบคุมอาหารในหอผู้ป่วย ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับโภชนาการ และวิจัยด้านโภชนาการ
- สถานศึกษา
นักโภชนาการสามารถทำงานในสถานศึกษา โดยให้คำแนะนำด้านโภชนาการแก่นักเรียน นักศึกษา จัดทำแผนอาหารสำหรับโรงเรียน และฝึกอบรมบุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับโภชนาการ
- องค์กรและบริษัท
นักโภชนาการสามารถทำงานในองค์กรและบริษัทต่างๆ โดยให้คำแนะนำด้านโภชนาการแก่พนักงาน จัดทำแผนอาหารสำหรับพนักงาน และวิจัยด้านโภชนาการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร
- หน่วยงานราชการ
นักโภชนาการสามารถทำงานในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน โดยให้คำแนะนำด้านโภชนาการแก่ประชาชนทั่วไป จัดทำแผนอาหารสำหรับหน่วยงาน และวิจัยด้านโภชนาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ
- คลินิกโภชนาการ
นักโภชนาการสามารถเปิดคลินิกโภชนาการของตนเอง เพื่อให้บริการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการแก่บุคคลทั่วไป
ในการสมัครงาน นักโภชนาการควรเตรียมเอกสารประกอบการสมัครงานให้พร้อม เช่น ประวัติส่วนตัว ใบรับรองการศึกษา ใบรับรองประสบการณ์ทำงาน ใบรับรองการผ่านการสอบวิชาชีพ และผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการ นอกจากนี้ ควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งาน โดยฝึกตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ด้านโภชนาการ
นอกจากนี้ นักโภชนาการยังสามารถพัฒนาทักษะและความรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มโอกาสในการสมัครงาน เช่น ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และทักษะด้านการสื่อสาร
ในส่วนของคุณสมบัติของผู้ที่จะมาทำอาชีพนักโภชนาการ นอกจากจะต้องเรียนจบให้ตรงสายในด้านอาหารและโภชนาการแล้วนั้น ยังต้องมีสกิลการคิดวิเคราะห์ในการคำนวณ, การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า, มีทักษะการฟังและการพูดที่ดี ตลอดจนสามารถโต้ตอบกับคนไข้หรือผู้ที่อยู่ในความดูแล เพื่อสังเกตพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคได้ด้วย ซึ่งหากใครมีความสามารถตรงตามนี้ ก็สามารถลองสมัครเป็นนักโภชนาการกันได้เลย.