AI สร้างรูป “พระแม่คงคา” ยืนร้องไห้วันลอยกระทง เจอดราม่าตกลงจะลอยดีไหม ?
ดราม่าขยะวันลอยกระทง กลุ่มเฟซบุ๊กสร้างภาพเอไอ พระแม่คงคายืนร้องไห้กลางน้ำจนเป็นประเด็น เหมอนเอาสิ่งแวดล้อมไปแลกเศรษฐกิจหมุนเวียนชั่วคราว อีกฝั่งโต้ เทศเก่าเก่าแก่แค่ปีละครั้ง เทียบปัญหาน้ำเน่าเสียบ้านเรือน โรงงาน น่ากังวลกว่านี้หลายเท่า
เป็นประเด็นดราม่าเบา ๆ หลังจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ภาพลงในกลุ่มเอไอครีเอทีฟไทยแลนด์ (AI CREATIVES THAILAND) กลุ่มที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนโชว์ผลงานศิลปะจากเทคโนดลยีปัญญาประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2566 โดยเป็นภาพของหญิงสาวสวมใส่ชุดไทยยืนอยู่ในคลองกำลังร้องห่มร้องไห้ มืออีกข้างยืนถือกระทงพร้อมกับติดข้อความบนแคปชั่นว่า “เมื่อแม่คงคาตื่นมายามเช้า #วันลอยกระทง #งดลอยกระทง #งดทิ้งขยะลงน้ำ ก่อนจะทิ้งท้ายว่า ขออภัยหากท่านใดไม่ถูกใจ”
โพสต์ดังกล่าวถึงตอนนี้มีคนกดถูกใจไปแล้วกว่า 2.5 พันครั้ง ความเห็นอีกกว่า 250 กว่าข้อความที่ถูกหย่อนลงไปใต้โพสต์เนื้อหาที่พยายามสะท้อนถึง”การสร้างขยะ” ที่จะเพิ่มขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องจากวันลอยกระทง เทศกาลประจำปีซึ่งจะจัดทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย และตามปฏิทินจันทรคติล้านนา
“เหมือนเอาสิ่งแวดล้อมไปแลกกับเศรษฐกิจหมุนเวียนชั่วคราว”
“ถ้ามันยาก มันวุ่นวาย มันสร้างปัญหา ไม่สร้างสรร งั้นก็ยกเลิกไปค่ะ”
“อารมณ์เหมือนหาเงินในกระทงแล้วโดนเด็กตัดหน้าไปก่อน”
“แม่คงคาไม่ได้เดือดร้อน คนเดือนร้อนคือคนเก็บขยะตามเขตต่างๆที่มีการจัดงาน แม่คงคาไม่เคยเห็นหน้าเห็นตาสักทีตั้งแต่ก่อนจัดงานจนงานเลิก” ตัวอย่างความเห็น 3-4 ตัวอย่างซึ่งมองว่า เทศกาลลอยกระทงสร้างปัญหาให้กับแหล่งน้ำที่ต้องเชผิญกับเศษขยะจกอุปกรณืที่นำมาสร้างและลอยเป็นกระทงตามแม่นำลำคลอง
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าหัวข้อดังกล่าวมีมาให้ถกเถียงกันเป็นประจำทุึกรั้งไปเมื่อ ประเพณีที่มีมาแต่โบราณนี้มาถึง โดยอีกฝ่ายที่มีความเห็นรต่าง ก็มองในมุมของตนว่า ปัจจุบันมีการเลือกใช้วัตถุิบมาทำกระทงที่ย่อยสลายได้ง่าย อาทิ การนำขนมปังมาใบ้ทำกระทง ซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ อีกทั้งเทศกาลดังกล่าวก็มีเพียงปีละครั้ง เทียบกับปัญหาน้ำเน่าเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ยังดูน่ากลัวกว่ามาก
ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจากประชาสัมพันธ์กรุงเพทมหานคร เคยลงเปิดเผยตัวเลขสถิติการจัดเก็บกระทงในปี 2564 ของกรุงเทพมหานคร จัดเก็บกระทงได้ จำนวน 403,235 ใบ เทียบกับปี 2563 ปริมาณกระทงที่จัดเก็บได้ จำนวน 492,537 ใบ
แนวโน้มปริมาณกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 96.40 เป็น 96.46 ขณะที่การใช้กระทงโฟมมีปริมาณลดลงจากร้อยละ 3.60 เป็น 3.54 เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ประชาชนหันมาใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย
เช่น กระทงที่ทำจากหยวกกล้วยและใบตอง แป้งมันสำปะหลัง ชานอ้อย ซึ่งจะเป็นการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและได้ขอความร่วมมือเขตแจ้งสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองในพื้นที่ที่มีการลอยกระทงงดใช้กระทงโฟม รวมถึงรณรงค์วิธีลดปริมาณขยะ หลังคืนลอยกระทง โดยให้ประชาชนลอยกระทงร่วมกัน โดยร่วมลอย 1 ครอบครัว/1 คู่รัก/1 กลุ่ม/1 สำนักงานต่อ 1 กระทง เลือกกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ขนาดเล็ก ใช้วัสดุไม่หลากหลาย เพื่อลดภาระในการคัดแยกอีกด้วย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2565).