การเงิน

แรงงาน ลงมติลด เงินประกัน สมทบ พร้อมจ่ายทดแทน ว่างงาน โควิด-19

กระทรวง แรงงาน มีมติเห็นชอบในการลดอัตรา เงินประกัน สมทบนายจ้างและผู้ประกันตนเป็นเวลา 3 เดือน และเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินทดแทนจากการ ว่างงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของ โควิด-19

เมื่อวันที่ 4 มกราคม ที่ผ่านมา กระทรวง แรงงาน ได้มีมติเห็นชอบในมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ โดยกำหนดให้มีการลดอัตรา เงินประกัน สมทบทั้งในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตนเป็นเวลา 3 เดือน รวมไปถึงมีการเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินทดแทนจากการ ว่างงาน ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว. กระทรวงแรงงาน ได้ทำการแถลงข่าวถึงผลการประชุม ณ ห้องประชุมประสงค์รณะนันทน์ โดยกล่าวว่า สำนักประกันสังคม ได้ทำการออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ปี 2563 ส่งผลให้มีการลดในส่วนเงินสมทบดังนี้

  • ทางด้านของนายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ให้ลดเหลือร้อยละ 3 ของเงินเดือน
  • ในส่วนของผู้ประกันตนในมาตรา 278 ให้เหลือเพียงแค่ 278 บาทต่อเดือน

โดยเป็นการดำเนินการเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2564 เพื่อทำการช่วยเหลือในการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของทุกฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะช่วยได้เป็นมูลค่า 15,660 ล้านบาท

นอกจากนี้แล้วยังมีการพัฒนาระบบการชำระเงินสมทบอัตราใหม่ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นไป ช่องทางดังกล่าวนั้นได้แก่ ผ่านทางเคาท์เตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารซิตี้แบงค์ และสำนักประกันสังคมในพื้นที่ใกล้เคียง

ซึ่งสำหรับผู้ประกันตนภายในมาตรา 39 ที่ใช้บริการการหักเงินจากบัญชีเงินฝากกับธนาคารต่าง ๆ นั้น หน่วยบริการทั้งหมดพร้อมดำเนินการโดยอัตโนมัติในรอบวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ส่วนผู้ที่มีความประสงค์จะจ่ายผ่านช่องทางเคาท์เตอร์ของเทสโก้โลตัสนั้นจะสามารถใช้บริการได้ภายในวันที่ 7 มกราคม, ของทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา เริ่มในวันที่ 15 มกราคม และทางธนาคารธนชาตจะเปิดให้บริการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์

ในส่วนของการดำเนินการจ่ายเงินทดแทนจากกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (การถูกปลด/ไล่ออกจากงานเนื่องด้วยเหตุโรคระบาด) นั้น ทางหน่วยงานจะมีการดำเนินการให้ตามประเภทของผู้ประกันตน โดยแบ่งตามดังนี้

  • ลูกจ้างผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ทำการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องทำการกักตัว หรือในกรณีที่นายจ้างหยุดการประกอบกิจการจนทำให้ไม่ได้รับค่าจ้างนั้น
    • จะได้รับสิทธิทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะเวลาในการกักตัว ทั้งแล้วให้เป็นไปแล้วแต่กรณี โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ฐานเงินเดือนรวมอยู่ที่ 15,000 บาท จะได้รับเงินเยียวยา 7,500 บาท
    • โดยมาตราการนี้จะดำเนินการครอบคลุมไปทั่วประเทศ และสามารถทำการขอรับสิทธิประโยชน์ได้ โดยกรอกแบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทน สปส.2-01/7 ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th แล้วนำส่งนายจ้างได้ตั้งแต่วันนี้ รวมไปถึงให้ทำการระบุเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเลขบัญชีธนาคารในการทำธุรกรรมด้วย
  • ทางด้านของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 หรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกระบบประกันสังคมนั้น จะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น

นายสุชาติ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของนายจ้างนั้น ขอให้มีการยื่นขอรับสิทธิว่างงานผ่านทางเว็บไซต์เดียวกัน และทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบ E-Service โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบฟอร์มและหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิดหรือกักตัว แล้วส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่

ทั้งนี้ ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงาน เมื่อครบถ้วนทุกขั้นตอนสมบูรณ์แล้ว เงินเยียวยาจะทำการโอนเข้าบัญชีภายในระยะเวลา 5 วันทำการ และรอบตัดจ่ายจะมีกำหนดไว้ที่ ทุกสิ้นเดือนถัดไป หรือจนกว่าจะครบวันที่สถานประกอบการมีกำหนดปิดตัว

 

แหล่งที่มาของข่าว : เดลินิวส์ออนไลน์

 


#ข่าวการเงิน #ข่าวเศรษฐกิจ #ประกันสังคม #แรงงาน #กระทรวงแรงงาน #เงินประกันสังคม #การว่างงาน #ว่างงาน #เงินประกัน #โควิด-19 #Covid-19 #สำนักงานประกันสังคม #เงินสมทบกองทุน

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button