ข่าวข่าวการเมือง

ธนาธร เผยกลางที่บรรยาย “ถ้ามี 5 แสนล้านบาทในมือ” จะเอาไปทำอะไร ?

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ระบุ หลังขึ้นบรรยายวันนี้ ถ้ามี 5 แสนล้านบาทในมือจะเอาไปทำอะไรบ้าง ชี้สภาพแบบนี้ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ปัญหาอยู่ที่ขีดความสามารถไปแข่งกับเพื่อนบ้านและทั่วโลก

วันที่ 17 พ.ย.2566 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้ขึ้นบรรยายสาธารณะ ในหัวข้อ “ประเทศไทยควรได้อะไร หากต้องใช้เงิน 5 แสนล้านบาท” ณ อาคารอนาคตใหม่ เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โดยการบรรยายซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. ที่ผ่านมานั้น

ปธ. คณะก้าวหน้า แจ้งกับสื่อมวลชนและผู้ที่เข้ามาร่วมฟังบรรยาย ก่อนจะเปิดฉากร่ายยาวเนื้อหาเชิงลึก ถึงวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือ ตนอยากให้สิ่งที่นำเสนอวันนี้ได้เกิดการถกเถียงกันในสังคม เพราะยิ่งแลกเปลี่ยนกันมากเท่าไหร่ สุขภาพของประชาธิปไตยก็จะแข็งแรงขึ้นเท่านั้น

ธนาธร ยังระบุความต้องการอีกประการ คือ อยากทำให้ประชาชนเห็นว่า ประเทศไทยที่ดีกว่านี้ “เป็นไปได้” สามารถทะเยอทะยานและกล้าฝันถึงประเทศที่ดีกว่านี้ได้ ก่อนที่จากนั้นจะเริ่มเปิดการบรรยายด้วยการเปิดกราฟตัวเลขสถิติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ของประเทศไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , สิงคโปร์ เวียดนาม และจีดีพีมวลรวมของประเทศทั่วโลก

“โดยผมเริ่มต้น 10 ปีที่แล้ว คือ ปี 2013 ผมให้จีดีพี 2013 ปรับฐานมันให้เป็น 100 นะครับ เดินทางมา 10 ปี เนี่ย เทียบกับเพื่อนบ้านท่านจะเห็นได้เลยว่า 100 ในวันนั้นกลายมาเป็น 116 ในวันนี้ จีดีพีของโลกในวันนั้นกลายมาเป็น 126 ในวันนี้ ของสิงคโปร์เป็น 131 ของมาเลเซียเป็น 142 ของอินโดนีเซียเป็น 143 และของเวสวียดนามเป็น 170” อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ วัย 44 ปี ที่ปัจจุบันรับบทบาทหน้าที่ประธานของกลุ่มคณะทำงานที่ใช้ชื่อว่า “คณะก้าวหน้า” เปิดประเด็นด้วยการเทียบตัวเลขจีดีพีของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านก่อนจะสรุปชี้ชัดว่า สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยยังไม่ใช่ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ

ธนาธรวันนี้
ภาพ Facebook @ThanathornOfficial

“นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่นักเศรษฐศาสตร์พูดเรื่องนี้มานานแล้วครับ การเติบโตจีดีพีของประเทศไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ต่ำกว่าของโลก ท่านจะเห็นได้เลยว่าวันนี้เราแพ้เขา ทีนี้พอมาดูแบบนี้ ประเทศไทยเป็นวิกฤตเศรษฐกิจรึเปล่า จีดีพียังเติบโตอยู่ มีตกลงบ้างช่วงโควิด แต่ก็ยังเติบโตอยู่”

“สภาพแบบนี้ผมไม่คิดว่าเป็นวิกฤติเศรษฐกิจ จีดีพีไม่ได้ติดลบต่อเนื่อง แต่ผมคิดว่าสิ่งที่มันสะท้อนจากกราฟนี้ สะท้อนให้เห็นว่า เราแข่งกับโลกไม่ได้มากกว่า”

หลังจบการแจกแจงชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองส่วนตัวว่า เศรษฐกิจประเทศยังไม่เข้าขั้นวิกฤตเนื่องจากเหตุผลที่ได้ยกมาแล้วในตอนต้น นายธนาธร ยังขยายรายละเอียดในเชิงลึกเพื่อให้คนที่มารับฟังเข้าใจว่าที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเราสู้กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่ง คือ ขีดความสามารถทางการแข่งขันที่เรายังมีไม่เพียงพอจะไปแข่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกันก็ยังต้องเผชิญปัญหาใหญ่อีกอย่าง คือ “คนไม่มีงานทำ”

บรรยายธนาธรวันนี้ ข่าว
ภาพ Facebook @ThanathornOfficial

ถามผม ถ้ามี 5 แสนล้านอยู่ในมือจะทำอะไร ?

หลังจากได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ พร้อมกับย้ำชัดว่าจากสถิติจีดีพี มวลรวมในประเทศว่า ประเทศไทยตอนนี้ยังไม่ใช่สถานการณ์ที่กำลังประสบกับปัญาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ธนาธร จึงรุงเรืองกิจ ก็ไม่รอช้า โดยโพล่งคำถามหัวข้อโต ๆ ขึ้นกลางที่บรรยายสาธารณะต่อทันที

ด้วยการถามคนที่มาเข้าฟังการบรรยายว่า “ถ้าถามผมนะครับ ถ้าผมมี 5 แสนล้านอยู่ในมือ ผมจะทำอะไร ? ก่อนจะเปิดสไลด์ชุดต่อมาซึ่งประกอดบ้วยรายะลเอียดที่ทางปธคณะก้าวหน้า ตั้งเป้าหมายไว้ในเชิงสมมติฐานว่าตัวเองจะนำเงินหมาศาลดังกล่าวไปทำอะไรขึ้นมาแบบเป็นรูปเป็นร่างได้บ้าง

  1. พัฒนาขนส่งสาธารณะ
  2. การคมนาคม
  3. ระบบสาธารณสุข
  4. การศึกษา
  5. สิ่งแวดล้อม
  6. พัฒนาระบบน้ำประปา
ธนาธร บรรยาย
ภาพ Facebook @ThanathornOfficial

ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจากสไลด์ที่เปิดในการบรรยายของนายธนาธร ประเด็นที่ว่าถ้าเจ้าตัวมีเงิน 500,000,000,000 บาท จะนำไปใช้พัฒนาระบบทั้ง 6 หัวข้อนั้น จะใช้งบประมาณโดยแจกแจงรายละเอียดตัวเลขตามแต่ละโครงการพฒนาจะต้องใช้งบประมาณ ดังนี้ การคมนาคม 88,000 ล้านบาท , สาธารณสุข 60,000 ล้านบาท , น้ำปะชระปา 67,000 ล้านบาท , สิ่งแวดล้อม 120,000 ล้านบาท และการศึกษา 121,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นระบบที่จากตัวอย่างในสไลด์เป็นระบบที่จะใช้งบมากสุดเมื่อเทียบกับระบบอื่น ๆ ตามที่ได้กล่าว.

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button