สรุปดราม่า #เลิกบังคับแปรอักษร งานบอลจตุรมิตรครั้งที่ 30 ทำไมคนรุ่นใหม่ขอไม่ทน
ดราม่าร้อนระอุสำหรับประเพณี งานบอลจตุรมิตร 2566 ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี แต่ปีนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว หลังมีคนมาติดป้ายข้อความ “เลิกบังคับแปรอักษร” ระหว่างเส้นทางจัดงาน จนเกิดเป็นวิวาทะความเห็นสองขั้วเต็มทวิตเตอร์ (X)
เสาร์ที่ 11 พ.ย. 66 เป็นวันแรกของงานบอลจตุรมิตรครั้งที่ 30 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 18 พ.ย. โดยเป็นกิจกรรมแข่งขันฟุตบอลประเพณีของ 4 โรงเรียนชายล้วนระหว่างโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ นอกจากการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังมีการแปรอักษรที่ถือเป็นการแข่งขันแห่งศักดิ์ศรีที่แพ้ไม่ได้
โดยสิ่งที่ทำให้ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน รวมถึงคนรุ่นใหม่ออกมาเรียกร้องผ่านโซเชียลคือ ขอให้เปลี่ยนจากการบังคับเป็นการสมัครใจแทน เพราะได้รับความทรมานกายและใจจากการ “ถูกบังคับ” ให้เข้าร่วม ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมายาวนาน เด็ก ๆ ต้องนั่งแปรอักษรบนสแตนด์นานกว่า 8 ชั่วโมงท่ามกลางแดดประเทศไทย อีกทั้งต้องฉี่ใส่ขวดเพราะถูกรุ่นพี่ห้ามไม่ให้ลงจากสแตนด์
มีคนมาโทรมาข่มขู่ว่าหากต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของนักเรียนใน #การแปรอักษร ต่อไป จะรวบรวมคนในจตุรมิตร (แบบศิษย์เก่า) คนที่โทรมาขู่อายุ 50 ปี ว่าจะให้งานจตุรมิตรขึ้นแปรอักษรบนสแตนด์ #ต่อต้านก้าวไกล ที่ออกมาแสดงจุดยืนต่อต่านการทรมานเด็กที่ต้องถูกบังคับมาแปรอักษร #ยกเลิกแปรอักษร… pic.twitter.com/tPymx4EO0N
— Tisana Choonhavan – ธิษะณา ชุณหะวัณ (@tisanachoonhav2) November 12, 2023
หลังจาก #เลิกบังคับแปรอักษร ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ ธิษะณา ชุณหะวัณ สส.กรุงเทพฯ จากพรรคก้าวไกล เป็นหนึ่งในผู้ออกมาขับเคลื่อนเรื่องสิทธิเสรีภาพของนักเรียน ขณะที่เธอโดนคนอายุ 50 ปี โทรมาข่มขู่ว่าจะให้งานจตุรมิตรแปลอักษรต่อต้านก้าวไกลด้วย
ความเห็นส่วนใหญ่มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยปะปนกัน ฝ่ายที่เห็นด้วยกล่าวว่าการได้ขึ้นแปรอักษรบนอัฒจันทร์ สวมเสื้อสถาบันของตน พร้อมกับร้องเพลงประจำสถาบันร่วมกัน ถือเป็นความภาคภูมิใจของชีวิต เชื่อว่าเป็นกิจกรรมที่ฝึกความมุมานะอดทน ทำให้รุ่นพี่รุ่นน้องรักใคร่กลมเกลียวกัน
มีความเห็นของผู้ปกครองท่านหนึ่งกล่าวว่า แม้ลูกชายต้องเจอกับความทรมานที่เด็กโรงเรียนอื่นไม่มีโอกาสได้สัมผัส แต่นับเป็นบทเรียนที่ใช้ก้าวผ่านความยากลำบาก สุดท้ายมันก็จะผ่านไป มองว่าเป็นความมันส์อย่างนึงหากใครรับได้
ขณะที่ความเห็นอีกฝั่งมองว่าไม่มีประโยชน์ที่มาบังคับกันเช่นนี้ อยากให้ความเหนื่อยยากของงานจตุรมิตรมันจบที่รุ่นเรา และไม่แฟร์กับเด็ก ๆ ที่ถูกบังคับให้ทำโดยไม่สมัครใจ
เสียงสะท้อนจากชาวเน็ตคนนหนึ่งระบุว่า งานนี้เป็นการบังคับเด็กม.ต้นมานั่งตากแดดนานครึ่งวัน ไม่ให้ลุกไปเข้าห้องน้ำหรือทำธุระส่วนตัวใด ๆ เป็นการกดทับสิทธิ์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้
อย่างไรก็ตามได้มีข้อเรียกร้องจากกลุ่มศิษย์เก่าฯ และนักกิจกรรมไปยังผู้อำนวยการโรงเรียนในเครือจตุรมิตรให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนขึ้นเชียร์และแปรอักษรในงานฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี ครั้งที่ 30 เพิ่มเวลารับประทานอาหาร เข้าห้องน้ำ พักผ่อนเพื่อหลบแดด ควบคุมเส้นทางคนเข้า-ออกให้ปลอดภัย และจัดจัดสวัสดิการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์บนอัฒจันทร์ อาทิ ครีมกันแดดสำหรับใบหน้าและร่างกาย
ล่าสุด วันที่ 13 พ.ย. 66 เวลา 12.00 น. สส.ก้าวไกล ทวีตข้อความว่า “วันนี้จะมีศิษย์จากโรงเรียนจตุรมิตรจะไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับกมธ.การศึกษาที่รัฐสภาเรื่องการบังคับขึ้นสแตนด์แปรอักษรโดยไม่สมัครใจ ตอน 12:00 น. โปรดติดตามค่ะ #ยกเลิกบังคับแปรอักษร #จตุรมิตรสามัคคีครั้งที่30 #ยกเลิกแปรอักษร”
หากใครยังนึกภาพไม่ออก นี่เป็นภาพบรรยากาศเบื้องหลังการแปลอักษรบนอัฒจันทร์ที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์(X) รายหนึ่งนำมาเปิดเผยให้ชม
✨หลายคนงงว่าเขาแปรอักษรกันยังไงให้ออกมาเป็นรูปต่างๆได้หลายรูป นี่คือเบื้องหลังการแปรอักษร (จากงานบอลจุฬา-มธ.)
Cr. YouTube : SaySci #จตุรมิตรครั้งที่30 #เลิกบังคับแปรอักษร #จตุรมิตร #จตุรมิตร30 pic.twitter.com/7OC9xFWAG9— Finding Who Asked (@FindWhoAsk) November 11, 2023