‘ศิริกัญญา’ ฟาดเดือด ‘เศรษฐา’ ตรรกะวิบัติ เจอชาวเน็ตฉอดกลับเต็มทวิต
ศิริกัญญา ไม่ทน ขอฟาดกลับบ้าง เศรษฐา ตรรกะวิบัติแบบ Noble Effort หลังถูกซัดเรื่องมาตรฐานความคิดไม่เท่ากัน
ฟาดฟันกันดุเดือดอย่างมากสำหรับประเด็นโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพิ่งจะออกมาชี้แจงไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา โดยในวันเดียวกันนั้นก็ถูก สส.บัญชีรายชื่อจากพรรคก้าวไกลอย่าง ศิริกัญญา ตันสกุล ออกมาแสดงความเห็นต่างว่าโครงการดังกล่าวท้ายที่สุดแล้วจะไม่มีใครได้ใช้เงินแม้แต่คนเดียว
งานนี้ทำเอานายกเศรษฐาปรี๊ดแตก ออกมาโควตข้อความคำแถลงของศิริกัญญาโดยชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานความคิดนั้นคนละระดับ อีกทั้งการทำนโยบายนี้ให้เป็นจริงคือความตั้งใจอยากยกระดับชีวิตประชาชนให้สามารถลืมตาอ้าปากได้ในช่วงที่ข้าวยากหมากแพง เป็นการกระทำที่ทุ่มเทอย่างบริสุทธิ์ใจ และไม่ต้องการให้ศิริกัญญาสร้างความสับสนแก่ประชาชนไปมากกว่านี้
ล่าสุด (11 พ.ย. 66) หลังจากที่ศิริกัญญาเห็นข้อความดังกล่าวของนายกเศรษฐาแล้ว ก็ไม่รอช้าที่จะหยิบยกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นคำพูดที่แสดงออกถึงความคิดและตรรกะวิบัติแบบ Noble Effort โดยระบุไว้ดังนี้ว่า
“Noble Effort คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดหนึ่งที่ตีความผิดๆ ว่า อะไรสักอย่างย่อมถูกต้อง ดีงาม จริงแท้ หรือมีคุณค่า เพียงเพราะใครสักคนทุ่มเทแรงกายแรงใจ หรือแม้แต่เสียสละเวลา ทรัพย์สิน หรือความสุขสบาย มาพากเพียรทำสิ่งนั้นๆ ด้วยเจตนาที่ดี
cr: ศัพท์+ตรรกะวิบัติวันละคำ โดย สฤณี อาชวนันทกุล”
ท่ามกลางชาวเน็ตที่นำข้อความของศิริกัญฐาไปโควตต่อในทวิตส่วนตัว โดยหลายคนมองว่าเมื่อครั้งที่อดีตนายกยิ่งลักษณ์เคยออกนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ศิริกัญญาก็ยังคงไม่เห็นด้วย เหมือนเป็นการวิจารณ์เพื่อกล่อมเกลาให้หลายคนเข้าใจผิดว่าประชาชนจะไม่มีวันได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของทางภาครัฐอย่างแน่นอน
ทังนี้ หลายคนมองว่าการกล่าวหาของศิริกัญญาที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการจะล้มนโยบายของตัวเอง จึงจัดตั้งโครงการที่ไม่มีวันทำสำเร็จขึ้นมาได้นั้น แท้จริงแล้วความคิดเช่นนี้แหละคือความคิดที่ควรจะถูกเรียกว่าตรรกะวิบัติมากกว่า
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง