ข่าว

มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ตอบแล้วสาว HIV เที่ยววันไนต์สแตนด์ กินยาทุกวันไม่แพร่เชื้อ

มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ให้ข้อมูลกรณีสาวเป็นเอดส์แต่กำเนิดช้ำรักเที่ยวมีเซ็กซ์แบบ One Night Stand นาน 7 เดือนว่า หากกินยาต้านต่อเนื่องไวรัสจะน้อยมากจนไม่สามารถแพร่เชื้อได้ และเหล้าไม่ทำให้ดื้ยา แนะการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยเป็นหน้าที่ของทุกคน

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 นายนิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ โพสต์ข้อความผ่านโซเชีลยมีเดีย หลังทราบข่าวหญิงป่วย HIV แต่กำเนิดออกมาสารภาพว่าตนมีเพศสัมพันธ์กับคนไม่ซ้ำหน้าต่อเนื่องกันนาน 7 เดือนตั้งแต่เมษายนที่ผ่านมา โดยเธอระบุว่ายังคงกินยาต้านเชื้ออยู่ทุกวันแต่การดื่มเหล้าทำให้เชื่อเริ่มดื้อยา จนกลายเป็นที่วิพากย์วิจารณ์หนักในสังคม

Advertisements

โดยนายนิมิตร์ชี้แจงว่า เรื่องนี้ถ้าหากบุคคลรายดังกล่าวอยู่ในการรักษาอย่างต่อเนื่อง มีการรับประทานยาทุกวันจริง ๆ ก็เท่ากับว่าอยู่ในการรักษามานานแล้ว น่าจะอยู่ในเกณฑ์ที่มีไวรัสในกระแสเลือดน้อยมาก น้อยกว่า 50 Copy ต่อเลือด 1 หยด หรือที่เรียกว่าตรวจไม่พบ

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ที่ปรึกษาผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์

ถ้าไวรัสที่ตรวจพบน้อยอย่างนั้นก็เหมือนกับที่เราพยายามรณรงค์เรื่อง U = U หรือ Undetectable = Untransmittable คือ ตรวจไม่พบเท่ากับไม่แพร่เชื้อ ดังนั้นคนที่รักษาเอชไอวีมานาน กินยาตลอด การไปมีเพศสัมพันธ์โอกาสที่จะทำให้ติดเชื้อหรือแพร่เชื้อต่อนั้นน้อยมากหรือไม่มีเลย

“เราจึงพยายามรณรงค์อยู่ในปัจจุบันว่า หากติดเชื้อเอชไอวีให้เข้ามารับการรักษาเพื่อจะได้กินยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่องจนเชื้อไวรัสในร่างกายต่ำมากจนตรวจไม่พบ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนกับคนทั่วไปที่ไม่มีเชื้อเพราะโดยทั่วไปการกินยาและอยู่กับการรักษาก็เท่ากับเหมือนเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังโอกาสแพร่เชื้อเท่ากับศูนย์ ส่วนที่ว่าดื่มเหล้าแล้วทำให้เชื้อดื้อยานั้นก็ไม่จริง เพราะเชื้อไม่ได้เมาเหล้า เหล้าไม่ได้มีผลต่อเชื้อ และไม่ได้มีผลต่อประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส” นายนิมิตร์กล่าว

การป้องกันตนเองเมื่อมีเซ็กซ์จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ เมื่อถามว่าหากติดเชื้อเอชไอวีแต่ไม่ได้มีการรักษาต่อเนื่องยังแพร่เชื้อได้ การจงใจไปมีเพศสัมพันธ์จะเข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ นายนิมิตร์กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่มีโทษฐานความผิดตามกฎหมาย

Advertisements

prep-ป้องกันเอชไอวี

อย่างไรก็ตาม เรื่องของการป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นหน้าที่ของทุกคนที่สมัครใจมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะกับใครก็ตาม เราต้องป้องกันตนเองจะรอให้คู่มาบอกว่าต้องป้องกันไม่ได้ หรือจะรอให้คู่เราเป็นคนป้องกันไม่ได้ ซึ่งการป้องกันก็มีทั้งการสวมถุงยางอนามัย การรับประทานยา PrEP (เพร็พ) รวมไปถึงการอยู่กับการรักษาเอชไอวีอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : hfocu

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button