ไลฟ์สไตล์

ประวัติ วัดนางกุย จ.อยุธยา โบราณสถานชื่อเดียวกับ ยายกุย ในละครพรหมลิขิต

เปิดประวัติที่มา วัดนางกุย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หนึ่งในโบราณสถานเก่าแก่สมัยพระสรรเพชญ์ที่ 1 ตั้งชื่อตามหญิงสาวร่ำรวยนามว่า “กุย” ผู้มอบเงินสร้างวัด แท้จริงแล้วใช่ยายกุยในละครไทยพีเรียดหรือไม่

เรื่องราวการสร้าง วัดนางกุย ย้อนกลับไปในสมัยประวัติศาตร์กรุงศรีอยุธยาเมื่อ 400 ปีก่อนหน้านี้ ถูกระบุว่าตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีสิ่งสำคัญประจำวัดได้แก่ พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี โดยมีผู้อำนวยสร้างนามว่า “นางกุย” นั่นเอง

Advertisements

ตามตำนานเล่าขานกันว่า นางกุย เป็นหญิงผู้มีทรัพย์สินมากมายสอดคล้องกับบทยายกุยในละครพรหมลิขิตในฉากที่ชีปะขาวประทานพรให้ยายกุยมีเงินทองเหลือกินเหลือใช้ทั้งชีวิตหากเธอดูแลแม่พุดตานให้ แต่เมื่อดูตามไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์แล้ว สรุปว่านางกุยและยายกุยไม่ใช่คนเดียวกัน

วัดนางกุย
ภาพจาก : ททท.

ประวัติวัดนางกุย ศาสนสถานสมัยพระสรรเพชญ์ที่ 1

ย้อนกลับไป วัดนางกุย ถูกสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2130 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีเมื่อปีพ.ศ. 2190 เป็นวัดที่เคยมีความเรืองมากในอดีต แต่หลังจากสิ้นกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุยถูกทิ้งให้ชำรุดทรุดโทรมลง

กระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 3 มีประสงค์ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดที่ถูกทิ้งร้างในพระนครศรีอยุธยา และวัดนางกุยได้รับการบูรณะในส่วนของอุโบสถที่หน้าบันมีรูปนารายณ์ทรงครุฑและใบเสมาคู่รอบอุโบสถ รวมถึงสร้างเจดีย์และพระปรางค์ใหม่ให้สวยงามจนได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณโดยสถานกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2484

วัดนางกุย อยุธยา
ภาพจาก : wikipedia

ปูชนียวัตถุที่ทรงคุณค่าได้แก่ พระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดี ปางสมาธิ หรือเรียกกันว่า องค์หลวงพ่อศิลาแลงนาคปรกและหลวงพ่อยิ้มเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแกะสลักจากไม้สักทองและลงรักปิดทองดูต้องมนต์ขลังประดิษฐานในอุโบสถวัดนางกุย จากตำนานเล่าขานกล่าวว่า หลวงพ่อยิ้มล่องลอยมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาและติดอยู่บริเวณหน้าวัด เจ้าอาวาสจึงทำการอัญเชิญหลวงพ่อยิ้มมาประดิษฐานจนเป็นที่สักการะบูชาตั้งแต่นั้นมา คาดเดาว่าเพราะใบหน้าของท่านเจือรอยยิ้มชัดเจนทำให้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าหลวงพ่อยิ้มนั่นเอง

หลวงพ่อยิ้ม-วัดนางกุย
ภาพจาก : วัดนางกุย

นอกจากหลวงพ่อยิ้มแล้วมีศาลสิ่งศักดิ์สิทธ์อื่นให้ชาวบ้านได้กราบไหว้อีกได้แก่ ศาลแม่ตะเคียนทอง เป็นต้นตะเคียนใหญ่ยืนต้นตายอายุ 400 ปี ทางวัดจึงได้นำมาแกะสลักเป็นรูปแม่ตะเคียนทอง และนำกลับมาวางไว้บนตอตะเคียนต้นเดิม

Advertisements

เจ้าแม่ตะเคียนทอง 400 ปี วัดนางกุย

อย่างไรก็ตาม เหตุผลวัดนางกุยไม่มีความข้องเกี่ยวกับที่ตัวละครยายกุยในพรหมลิขิตเพราะวัดถูกสร้างขึ้นก่อนในปี พ.ศ.2130 ขณะที่ยายกุยมีชีวิตอยู่ในสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งครองราชย์อยู่ในปี พ.ศ. 2251 ระยะเวลาที่ห่างกันถึง 121 ปีทำให้เชื่อได้ว่าทั้งสองเป็นคนละคนกัน

ยายกุย พรหมลิขิต

ขอบคุณข้อมูลจาก : thai.tourismthailand

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button