ไลฟ์สไตล์

สูดจนติด ดมยาดมบ่อย ๆ อันตราย กระทบต่อระบบหายใจ

ยาดม กลายมาเป็นไอเทมประจำกายของคนไทย ไว้สูดดมเวลาวิงเวียน หรือให้จมูกโล่งปลดโปร่ง บางคนสูดบ่อย พกไว้ติดตัวจนกลายเป็นซอร์ฟพาวเวอร์ ที่นักท่องเที่ยวมาไทยต้องซื้อยาดมไปฝากคนที่บ้าน แต่ยาสามัญประจำบ้านอันนี้ถ้าดมบ่อยไป จะเป็นอันตรายไหมนะ แล้วยาดมแท่งเดียวจะส่งผลเสียต่อสุขภาพขนาดนั้นจริงหรือไม่ มาหาคำตอบกัน

ดมยาดมบ่อยๆ อันตรายจริงหรือ

อ้างอิงข้อมูลจากโรงพยาบาลเพชรเวช ยาดมจะเป็นอันตรายต่อเมื่อผู้ใช้งานเสพติดยาดมมากเกินไป เพราะยาดมมีส่วนผสมของเมนทอล การบูร พิมเสน น้ำมันหอมระเหย ถ้ารับเข้าร่างกายผ่านการสูดมากเกินไปจะทำให้ระบบหายใจระคายเคือง เช่น มีอาการแสบจมูก หายใจลำบาก จาม

Advertisements

แล้วแบบไหนล่ะที่เรียกว่าดมมากเกินไป ?

ภัยอันตรายต่อสุขภาพของยาดมจะมาเยือนเมื่อคุณสูดมในระดับมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ดมแทบจะตลอดเวลา มีพฤติกรรมชอบดมยาดมใกล้จมูกเกินไป หรือยัดยาดมเข้าไปในจมูก และข้อสำคัญ คุณมักจะดมยาดมบ่อย ๆ ทั้งที่ไม่มีเรื่องเครียดมาก่อกวนจิตใจ

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณต้องเลิกดมยาดมคือ แสบบริเวณโพรงจมูก ระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจและปอด รุนแรงสุดอาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้

ดมยาดมบ่อย อันตรายต่อร่างกายจริงไหม

วิธีเลิกติดยาดมง่าย ๆ ห่างไกลโรคทางเดินหายใจและปอด

แม้ยาดมจะเป็นภัยต่อปอดและทางเดินหายใจหากคุณเสพติดการสูดยาดมมาก ๆ แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจจนเกินไป เพราะติดแล้วก็ใช่ว่าจะเลิกไม่ได้ ทุกอย่างมีทางออกให้คุณอยู่เสมอ วิธีเลิกติดยาดมแบบง่าย ๆ สามารถทำตามได้ทันที แล้วอาการติดยาดมของคุณจะหายไปเอง แต่ทุกอย่างก็ต้องใช้เวลา อย่าเพิ่งใจร้อนกันล่ะ

Advertisements

1. หากคุณชอบพกยาดมติดตัวตลอดเวลา พยายามหลีกเลี่ยงการพกยาดมไว้ในกระเป๋า หรือนำมาไว้ใกล้ตัว

2. ไม่ใส่ยาดมค้างไว้ในจมูก หรือไม่สูดยาดมใกล้จนเกินไป

3. ใช้ยาดมเฉพาะตอนที่มีอาการวิงเวียนศีรษะเท่านั้น

4. หากคุณใช้ยาดมเพราะหายใจไม่สะดวก ลองล้างจมูกด้วยน้ำเหลือแทนการดมยาดม เพียงเท่านี้คุณก็จะหายใจสะดวกขึ้นแล้ว

5. นึกไว้เสมอว่าถ้าดมยาดมมากเท่าไหร่ คุณจะได้รับผลเสียจากการดมยาดมมากเท่านั้น

ย้ำอีกที หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรหยุดใช้ยาดมทันที

  • มีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก ไอ จาม หายใจลำบาก
  • มีอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวหนัง
  • มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีอาการซึมเศร้า ขาดสมาธิ

 

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button