‘พริกขี้หนู’ กับ ‘พริกขี้หนูสวน’ ต่างกันยังไง อันไหนเผ็ดกว่า พริกแบบไหนเหมาะกับเมนูต้ม ผัด แกง ทอด และน้ำพริกมากกว่ากัน เพื่อความแซ่บซี๊ดถึงใจ
สิ่งที่คนไทยทุกคนขาดไปไม่ได้เด็ดขาด ขาดเธอเหมือนขาดใจ กินข้าวไม่แซ่บแน่นอน นั่นคือ “พริก” เครื่องปรุงอาหารคู่ครัวไทยที่ให้ความเผ็ดร้อน ไม่ว่าจะใส่ในเมนูไหนก็อร่อย แต่น้อยคนจะรู้ว่าสายพันธ์ุพริกที่ต่างกันอาจทำให้อาหารไทยของคุณรสชาติต่างกันได้
พริกขี้หนูและพริกขี้หนูสวน คู่พริกที่มีหน้าตาคล้ายกันแต่มีรสชาติ ระดับความเผ็ด ความหอม การใช้ปรุงอาหาร และราคาที่ต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพื่อคลายข้อสงสัยว่า ‘พริกขี้หนู’ กับ ‘พริกขี้หนูสวน’ ต่างกันยังไง ชวนทุกคนอ่านตามนี้ได้เลย
พริกขี้หนู และ พริกขี้หนูสวนต่างกันอย่างไร
พริกขี้หนูและพริกขี้หนูสวนเป็นพริกในสายพันธุ์ C. frutescens และ C. annuum ตามลำดับ ให้รสเผ็ดแสบ มี 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีเขียว และสีส้ม นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรสในเมนูอาหารไทยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความหอมและระดับความเผ็ด พริกทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ลักษณะทั่วไป
-
- พริกขี้หนู
หากสังเกตดูจะรู้ว่าพริกทั้งสองชนิดมีรูปร่างที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สามารถแยกได้จากความยาว ขนาด รูปทรง โดยพริกขี้หนูจะมีความยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร รูปทรงรี เรียวยาว และมีปลายแหลมมากกว่าพริกขี้หนูสวน พบเห็นได้ 3 สี ทั้งสีเขียว สีแดง และสีส้ม
-
- พริกขี้หนูสวน
พริกขี้หนูสวนสังเกตให้ง่ายจะมีขนาดเล็กจิ๋ว ผลสั้นกุดและดูป้อมกว่าพริกขี้หนู มีปลายแหลมเล็กน้อยไม่เรียวยาวเท่าพริกขี้หนู สีของพริกขี้หนูสวนมักเป็นสีเขียวและสีแดง
2. ความเผ็ด
-
- พริกขี้หนู
เมื่อวัดจากหน่วยความเผ็ดพริกที่เรียกว่า ‘สโควิลล์’ พริกขี้หนูมีปริมาณสารแคปไซซินหรือสารประกอบที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดอยู่ที่ประมาณ 50,000-100,000 สโควิลล์ จัดอยู่ในระดับความเผ็ดปานกลางถึงสูง เมื่อกัดแล้วจะรู้สึกความเผ็ดแสบที่ปลายลิ้น
-
- พริกขี้หนูสวน
ในขณะที่พริกขี้หนูสวนไม่หนูตามชื่อ มีปริมาณสารแคปไซซินอยู่ที่ประมาณ 100,000-200,000 สโควิลล์ ทำให้พริกขี้หนูสวนเผ็ดแสบร้อนอย่างรู้สึกได้ชัด เมื่อกัดเพียงนิดเดียวอาการเผ็ดแสบจะกระจายทั่วปากและเผ็ดอยู่ในปากนานกว่า
3. ความหอม
พริกขี้หนูสวนหอมหรือฉุนกว่าพริกขี้หนูทั่วไป เกิดจากน้ำมันหอมระเหย (Essential oil) ในพริก เมื่อหั่น บด ทุบ หรือบุ จะมีกลิ่นพริกจะออกมาชัดเจน นอกจากนี้พริกขี้หนูสวนยังมีเนื้อสัมผัสที่กรอบกว่าพริกขี้หนูทำให้สามารถเก็บกลิ่นหอมไว้ได้นานกว่า เป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘เล็กพริกขี้หนู’ ด้วยนั่นเอง
4. การนำไปปรุงอาหาร
-
- พริกขี้หนู
จากระดับความเผ็ดและกลิ่นหอมฉุนของพริกขี้หนู จึงนิยมใส่ในอาหารไทยประเภทแกงกะทิ หรืออาหารที่ต้องการความเผ็ดแบบกลมกล่อมไม่ถึงขั้นเผ็ดแสบโดด มักหั่นเป็นแว่น ซอย หรือบุลงในอาหารเพื่อเพิ่มรส อาทิ แกงเขียวหวาน แกงเผ็ด แกงพะแนงหมู แกงเผ็ดเป็ด น้ำพริก ไข่เจียวพริก ข้าวผัด ยำปลากระป๋อง ฯลฯ
-
- พริกขี้หนูสวน
พริกขี้หนูสวนโดดเด่นหรือความเผ็ดแสบร้อน มีกลิ่นฉุนแรงจึงนิยมใส่ในอาหารไทยประเภทน้ำพริก พริกแกง ต้มแซ่บ หรือเป็นเครื่องเคียงในอาหารที่ต้องการความแซ่บถึงเครื่องถึงใจ ช่วยตัดเลี่ยน เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า พริกแกงส้ม หลน พริกน้ำปลา เล้งแซ่บ เครื่องเคียงข้าวขาหมู ฯลฯ
6. ราคา
พริกขี้หนูสวนมีราคาแพงกว่าพริกขี้หนู ด้วยคุณสมบัติ ความนิยม รวมถึงกรรมวิธีการปลูกที่ยาก ให้ผลผลิตน้อย และมีผลเล็กต้องทะนุถนอมเป็นพิเศษทำให้พริกขี้หนูเป็นที่ต้องการมากกว่านั่นเอง
ราคาพริกขี้หนูสวนเฉลี่ยนอยู่ที่ 140 – 160 บาทต่อกิโลกรัมมี ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท ในขณะที่พริกขี้หนูมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท ดังนั้นพริกขี้หนูสวนมีราคาแพงกว่าพริกขี้หนูประมาณ 20%
อย่างไรก็ตาม ราคาของพริกขี้หนูและพริกขี้หนูสวนอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล โดยราคาพริกขี้หนูและพริกขี้หนูสวนจะสูงในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตมีน้อย
สรุปว่าพริกขี้หนูและพริกขี้หนูสวนมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด 6 ข้อ ได้แก่ ลักษณะทั่วไป ระดับความเผ็ด ความหอมฉุน การนำไปปรุงอาหาร และราคา โดยพริกขี้หนูสวนมีความโดนเด่นเรื่องความเผ็ดร้อน ความหอม และราคาที่แพงกว่าตามความนิยมและปลูกยาก ส่วนพริกขี้หนูเป็นพริกที่ใส่ในอาหารได้หลายประเภท พิเศษตรงที่เผ็ดกำลังพอดี หาซื้อง่าย ราคาถูกกว่า ใส่กับอะไรก็ยังอร่อยเริ่ด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : allkaset, ohmcuisine