สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

12 ผักห้ามกินดิบ เสี่ยงปนเปื้อนสารพิษ ให้โทษมากกว่าประโยชน์

ผักยอดนิยมห้ามรับประทานแบบดิบ ๆ เสี่ยงปนเปื้อนสารพิษตกค้าง อันตรายถึงชีวิต เช็กเลยมีผักไหนที่เราชอบรับประทานดิบบ้าง

เลือกทานผักอย่างไรให้ดีต่อร่างกาย รวมพืชผักสมุนไพร 12 ชนิด ห้ามกินดิบ อาจอันตรายถึงชีวิต ไม่ว่าจะใบเขียวหรือใบสีไหน ๆ เป็นที่ทราบกันดีว่าล้วนมีคุณประโยชน์ มาพร้อมกับวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ถ้าผักที่เรารับประทานเข้าไป ดันให้โทษจากการรับประทานแบบไม่ถูกต้องล่ะ

Advertisements

วันนี้ทีมงาน Thaiger ขอชวนทุกท่านมาเช็กให้รู้ ดูให้ชัด ผักห้ามกินดิบ ควรปรุงสุกก่อนรับประทาน จะมีผักชนิดไหนบ้าง ตามไปเช็กพร้อม ๆ กันเลย

ผักห้ามกินดิบ inforgraphic

1. ผักโขม

เมนูยอดฮิตของผักชนิดนี้คงหนีไม่พ้นผักโขมอบชีส กินแบบอบร้อน ๆ ว่าอร่อยแล้ว แต่อย่าเผลอไปลองรับประทานแบบดิบเชียว แม้ว่าผักโขมจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก แต่หากไม่ผ่านการปรุงสุกอาจเกิดโทษแก่ร่างกายได้ เพราะผักโขมดิบมีกรดออกซาลิก (Oxalic Acid) ส่งผลให้ลำไส้ของเราระคายเคือง ทั้งยังเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุและแคลเซียมได้ ทำให้เกิดโรคนิ่วตามมาในอนาคต

2. กะหล่ำปลี

กินไส้กรอกอีสาน หรือลูกชิ้นทอด ผักเคียงที่ขาดไม่ได้เลยคือ กะหล่ำปลี หลายท่านอาจจะสงสัยว่า กะหล่ำปลีรับประทานแบบดิบ ๆ ได้ไหม เพราะนอกจากนำไปผัดน้ำปลา เราก็รับประทานเป็นผักเคียงแบบดิบ ๆ แต่ทุกท่านทราบไหมว่า แม้กะหล่ำปลีจะมีวิตามินซีสูง แต่เราจะได้รับวิตามินแบบเต็ม ๆ ก็ต่อเมื่อนำไปปรุงสุกเท่านั้น

นอกจากนี้ กะหล่ำปลีดิบยังมีสารออกซาเลต (Oxalate) หากเรารับประทานกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก กรวยไตจะได้รับสารออกซาเลตในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคนิ่วได้ กะหล่ำปลีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ที่คอยยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมโทรอยด์ในร่างกาย ทำให้ดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ ผลที่ตามมาคือเกิดโรคคอพอกขึ้นได้ แต่สารนี้จะสลายตัวเมื่อโดนความร้อน จึงควรปรุงสุกก่อนรับประทาน

Advertisements

3. ดอกกะหล่ำ หรือกะหล่ำดอก

ดอกกะหล่ำเป็นผักที่ห้ามรับประทานดิบ เพราะดอกกะหล่ำมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เพราะไม่สามารถย่อยน้ำตาลชนิดนี้ได้ หากรับประทานดอกกะหล่ำโดยไม่ผ่านการปรุงสุก อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด และรู้สึกแน่นท้อง

4. บรอกโคลี

บรอกโคลี เป็นพืชตระกูลเดียวกับกะหล่ำปลีและดอกกะหล่ำ จึงมีน้ำตาลที่ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้เช่นกันหากรับประทานแบบดิบ ๆ ทั้งยังมีฮอร์โมนบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์ การรับประทานบรอกโคลีดิบในปริมาณมาก จึงเกิดอันตรายต่อร่างกายและลำไส้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

5. มันฝรั่ง

พืชหัวที่ห้ามรับประทานดิบโดยเด็ดขาดคือ มันฝรั่ง ต้องนำมาผ่านความร้อนก่อนรับประทานเท่านั้น เพราะหัวมันฝรั่งดิบมีสารโซลานีน (Solanine) อยู่มากตรงส่วนหน่อที่งอกออกมาจากหัว และยังมีสารพิษไกลโคแอลคาลอยด์ (Glycoalkaloids) เป็นสารที่พืชสร้างมาเพื่อปกป้องตัวเองจากแมลงศัตรูพืช หากรับประทานเข้าไปอาจเกิดอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

6. มันสำปะหลัง

มันสำปะหลังดิบค่อนข้างที่จะอันตรายมาก เนื่องจากมีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ที่มีพิษร้ายแรง หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก น้ำลายฟูมปาก ชัก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เราสามารถลดพิษมันสำปะหลังได้ โดยการปอกเปลือก และปรุงให้สุกด้วยความร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง และเมื่อปรุงสุกมันสำปะหลังจะรสชาติหวานกว่าเดิมอีกด้วย

ผัก 12 ชนิด ห้ามกินดิบ ปนเปื้อนสารพิษ ให้โทษมากกว่าประโยชน์

7. มันเทศ

มันเทศ รวมถึงมันหวานสีต่าง ๆ มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) อยู่เช่นเดียวกับมันสำปะหลัง แม้มีปริมาณน้อยกว่าแต่ก็อันตรายไม่แพ้กัน นอกจากนี้ หัวมันเทศยังมีสารออกซาเลต (Oxalates) ที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม และแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคนิ่วในไตได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายจากสารพิษในมันเทศ เราควรล้างทำความสะอาดก่อนนำมาผ่านความร้อนทุกครั้ง และไม่ควรรับประทานดิบ ๆ

8. แครอท

พืชผักที่มีประโยชน์ต่อสายตาและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดีอย่าง แครอทหรือแคร์รอต แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย และมีสารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) แต่หากรับประทานแครอทแบบดิบจะให้ผลตรงกันข้าม เพราะร่างกายจะดูดซึมสารเบต้าแคโรทีนได้ลดลง เราจึงควรนำแครอทมาปรุงสุกก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อให้ได้ประโยชน์จากพืชผักอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม หากรับประทานในปริมาณที่เกินไป เช่น รับประทานแครอทติดกัน 10 วัน อาจทำให้ผิวเหลือง ฟันเสื่อม หรือฟันผุได้

9. เห็ด

เห็ดชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเห็ดนางฟ้า เห็ดเข็มทอง หรือเห็ดฟาง ล้วนไม่ควรรับประทานดิบทั้งสิ้น เพราะเห็ดมีผนังเซลล์ที่ย่อยยากอยู่ หากนำไปผ่านความร้อนก่อน จะช่วยทำลายผนังเซลล์นั้นได้ และช่วยลดสารพิษที่ปนเปื้อนในเห็ดอีกด้วย ที่สำคัญคือเห็ดดิบยังมีรสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัสที่ไม่ดีเท่าเห็ดสุก อย่างไรก็ตาม ผู้คนบางส่วนบอกว่า เห็ดแชมปิญองบางสายพันธุ์สามารถรับประทานดิบได้ โดยฝานบาง ๆ ใส่ในสลัด

10. ถั่วงอก

ผักเคียงที่อยู่เคียงข้างเมนูก๊วยเตี๋ยวอย่าง ถั่วงอกดิบ มีแบคทีเรียหลายชนิดและยังมีไฟเตต (Phytates) ที่จะเข้าไปจับแร่ธาตุบางชนิดในอาหาร ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้ อีกหนึ่งสิ่งที่เราไม่ควรรับประทานถั่วงอกดิบ เพราะถั่วงอกดิบผ่านสารฟอกขาว หรือสารโซเดียมซัลไฟต์ (Sodium sulfite) หากรับประทานเข้าไปแล้วแพ้ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ หายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย เราจึงควรปรุงถั่วงอกให้สุกก่อนรับประทานนั่นเอง

11. ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวดิบแม้จะเข้ากับส้มตำได้ดี แต่กลับอันตรายมากกว่าที่คิด เพราะถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงหรือสารกำจัดศัตรูพืชสูง ทั้งยังมีปริมาณไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และเลคติน (Lectin) สูง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดอาการท้องเสียได้ เราจึงไม่ควรรับประทานถั่วฝักยาวแบบดิบ แต่หากต้องการรับประทานดิบ ควรล้างให้สะอาดและแช่น้ำไว้นาน ๆ ก่อนนำไปรับประทาน

12. หน่อไม้

หน่อไม้ดิบ มีสารไซยาไนด์ (Cyanide) ที่เป็นพิษต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมาก สารนี้จะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ส่งผลทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน จนทำให้หมดสติ และอาจจะเสียชีวิตได้ แต่สารนี้กำจัดได้ด้วยความร้อน เราจึงควรนำหน่อไม้ดิบมาล้างให้สะอาด และปรุงสุกก่อนรับประทาน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

พืชผักสมุนไพรแม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากรับประทานแบบดิบ ๆ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดโทษต่อร่างกายได้มากกว่า ดังนั้นจึงควรรับประทานผักที่ปรุงสุกแล้ว เพื่อที่จะรับประทานได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ผักบางชนิดสามารถรับประทานแบบสด ๆ ได้ เช่น ผักกาดหอม แตงกวา เป็นต้น แต่ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย มั่นใจตอนรับประทาน รับสารอาหารได้แบบเต็มที่ค่ะ

อ้างอิง : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Kamonlak

นักเขียนข่าวประจำ Thaiger ผู้มีความสนใจที่หลากหลาย มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเขียนข่าวการเงิน เศรษฐกิจ จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานอดิเรก ติดตามข่าวสารความบันเทิง โดยเฉพาะภาพยนตร์และแอนิเมชัน เขียนงานโดยมีแนวคิดที่ต้องการถ่ายทอดมุมมองของตัวเองและถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ช่องทางติดต่อ kamonlak@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button