ข่าว

แพทย์เตือน คนชอบกินปลาดิบ เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ แนะเลี่ยงของดิบและปรุงไม่สุก

แพทย์เตือน คนชอบกินปลาดิบเสี่ยงติดเชื้อ ‘แบคทีเรียกินเนื้อ’ มีอาการรุนแรง แนะเลี่ยงกินอาหารทะเลดิบ และของปรุงไม่สุก คนภูมิคุ้มกันอ่อนแออันตรายถึงชีวิต

‘ปลาดิบ’ วัตถุดิบในเมนูอาหารญี่ปุ่นจานโปรดของใครหลายคนที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย และแน่นอนว่าหลายคนชอบที่จะรับประทานแบบดิบหรือปรุงไม่สุกกัน แต่ถ้าหากปลาดิบที่กินเข้าไปไม่สด ไม่สะอาด หรือปรุงไม่สุกจนไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้แล้วล่ะก็ อาจติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อร้ายแรงที่ชื่อว่า ‘Vibrio vulnificus’

วันที่ 8 กันยายน 2566 หมอหมู หรือ รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัว เตือนคนชอบกินปลาดิบหรืออาหารทะเลที่ปรุงไม่สุกว่าอาจติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อที่ชื่อว่า Vibrio vulnificus ได้ เป็นเชื้อที่พบได้ตามน้ำทะเลและน้ำเค็ม สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านการว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือรับประทานอาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุก บางรายอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

โพสต์จากเฟซบุ๊ก หมอหมู วีระศักดิ์ ระบุว่า CDC ออกคำเตือนเกี่ยวกับแบคทีเรียกินเนื้อ Vibrio Vulnificus

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ออกการแจ้งเตือนด้านสุขภาพระดับชาติเกี่ยวกับแบคทีเรียกินเนื้อ (flesh-eating bacteria) ที่เรียกว่า Vibrio vulnificus แบคทีเรียชนิดนี้พบได้ตามน้ำทะเลและน้ำเค็ม และสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านการว่ายน้ำ ดำน้ำ หรือรับประทานอาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุก

อาการของการติดเชื้อ Vibrio vulnificus มักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงถึง 3 วันหลังสัมผัสกับแบคทีเรีย

อาการ เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน รอยแดงหรือบวมบริเวณที่สัมผัสกับแบคทีเรีย

อาการรุนแรง เช่น ผิวหนังเน่าเปื่อย การติดเชื้อในกระแสเลือด ช็อก และเสียชีวิต

แบคทีเรียกินเนื้อ

ผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคตับ อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ Vibrio vulnificus ที่รุนแรงมากขึ้น

ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ Vibrio vulnificus

1) ไม่ว่ายน้ำหรือดำน้ำในน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีน้ำขุ่นหรือมีสีผิดปกติ

2) หลีกเลี่ยงการกินหอยนางรม กุ้ง หอยแมลงภู่ และปลาดิบหรือปรุงไม่สุก

3) ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาทีก่อนและหลังสัมผัสกับอาหารทะเล

4) ปรุงอาหารทะเลให้สุกทั่วถึงจนอุณหภูมิภายในอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียล

5) ผู้ที่มีอาการที่อาจเกิดจากการติดเชื้อ Vibrio vulnificus ควรไปพบแพทย์ทันที

อ้างอิงข้อมูลจาก: ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC)

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button