ข่าว

โต้เดือด “ทนายเกิดผล” แนะเหยื่อโนติสร้าน “ปังชา” ฟ้องกลับ เรียกค่าเสียหายให้เข็ด

ปังชาเตรียมพัง! ทนายเกิดผล แนะนำเหยื่อที่โดน “ร้านปังชา” เรียกฟ้องร้อยล้าน ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมตัวฟ้องกลับเรียกค่าเสียหายให้เข็ดหลาบจำ เพราะเป็นการใช้กฏหมายและสิทธิที่ไม่สุจริตแต่แรก

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 “นายเกิดผล แก้วเกิด” ทนายความชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว แนะนำให้เหยื่อโนติสร้าน “ปังชา” ที่เคยโดนเรียกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา เสนอแนะให้ฟ้องกลับ เหตุใช้ช่องว่างทางกฎหมายเป็นเครื่องมือเอาเปรียบผู้อื่น โดยระบุข้อความว่า

Advertisements

“ทรัพย์ทางปัญญา ที่ควรได้รับความคุ้มครอง ควรเป็นของผู้ที่คิดค้น ออกแบบ ใช้ความวิริยะ อุตสาหะ และพัฒนา ด้วยความรู้ความสามารถของผู้เป็นเจ้าของ ตั้งแต่แรกเริ่ม

ไม่ใช่มาใช้ขื่อทีหลัง ทั้งๆที่คำว่า #ปังชา ร้านอื่นใช้มานานนม แล้วตัวเองเห็นว่าเหมาะ ก็นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบให้แตกต่างจากของคนอื่นเพียงเล็กน้อย

แบบนี้ ไม่ใช่การใช้ความวิริยะ อุสาหะ หรือ การพัฒนา การรัังสรรค์ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อตัวเองไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ แม้นำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ประกอบกับคำว่า ปังชา เป็นคำสามัญ บุคคลทั่วไปย่อมมีสิทธิ์ใช้คำนี้ได้

การร่อนโนโต๊ส ให้เขาจ่ายเงินถึง 102 ล้านบาท มากกว่ากำไรจากผลประกอบการ ทางธุรกิจ ในช่วงเวลาไม่นาน หลังจดทะเบียน ผมถือว่า เป็นการใช้สิทธิ์ไม่สุจริต หากขึ้นศาล ก็เป็นพวกมาศาลแต่มือสกปรก ใช้กฎหมายและศาลเป็นเครื่องมือ
ถ้าผมเป็นร้านปังชา ร้านอื่นที่ได้รับโนติ๊ส ผมฟ้องกลับแน่นอน หรือผมจะเปิดร้าน ปังชา เพื่อลองของ สักคดี”

Advertisements

ย้อนกลับไปสู่ต้นตอของเหตุการณ์ ดราม่าทรัพย์สินทางปัญญาร้าน “ปังชา” เมื่อเฟซบุ๊ก “Lukkaithong – ลูกไก่ทอง Thai Royal Restaurant” ได้โพสต์เกี่ยวกับ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ชื่อเมนู “ปังชาเย็น” ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษเรียบร้อยแล้ว พร้อมอ้างอิงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 พร้อมเน้นย้ำสงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข

โดยมีการจะทะเบียนลิขสิทธิ์และจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และ สงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย

ฟ้องกลับ ปังชา 2566

อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นแย้ง โดยได้เฉลยว่าแท้จริงแล้วเราสามารถใช้คำต่าง ๆ ไม่ว่าจะ PANG CHA, the Best Thai Tea เราห้ามทำรูปโลโก้ หรือ เครื่องหมายการค้าแบบที่เค้าจดไว้ เช่น ผู้หญิงใส่ชุดไทยมานั่งกับถ้วยไอศกรีมแบบนี้ หรือ ทำเป็นโลโก้แบบในภาพ แต่คำต่าง ๆ ไม่ว่าจะ PANG CHA, the Best Thai Tea ใคร ๆ ก็สามารถใช้ได้

จนสรุปออกมาได้ว่า คำว่า “Pang Cha” หรือ “ปังชา” ไม่ได้มีการจดไว้เป็นเครื่องหมายการค้าของใคร ที่จดคือ รูปภาพหรือโลโก้ ซึ่งได้สละสิทธิคำว่า Pang Cha ไว้แล้ว

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button