ข่าว

‘ปังชา’ จดทะเบียนสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ อะไรบ้าง สรุปห้ามลอกโลโก้ หรือทำเมนูเหมือน

ร้านอาหารชื่อดัง ลูกไก่ทอง ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า แบรนด์ ปังชา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สงวนสิทธิ์ห้ามเลียนแบบ

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมาทางด้านร้านอาหารชื่อดังอย่างลูกไก่ทอง ได้ออกมาประกาศแจ้งผ่านทางเฟซบุ๊กว่าแบรนด์ปังชาของทางร้าน ได้ทำการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (Copyright All Right Reserved) เครื่องหมายการค้า (Trademark) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อันได้แก่ “ปังชา” ภาษาไทย กับ “Pang Cha” ภาษาอังกฤษ

โดยมีการจะทะเบียนลิขสิทธิ์และจดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสงวนสิทธิ์ห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข และสงวนสิทธิ์ห้ามนำชื่อแบรนด์ปังชา Pang Cha ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไปใช้เป็นชื่อร้านหรือใช้เป็นชื่อสินค้าเพื่อจำหน่าย

อย่างไรก็ดี แม้จะมีความคิดเห็นที่พากันเข้ามาคอมเมนต์ถึงรสชาติความอร่อยของเมนูปังชา ทว่าชาวเน็ตบางส่วนก็ยังคงสับสนงุนงงกับสิ่งที่ทางแบรนด์ต้องการจะสื่อ เนื่องจากไม่มีการลงรายละเอียดว่าจดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรสิ่งใด จึงทำให้หลายคนไม่เข้าใจว่าการห้ามลอกเลียนแบบนั้นหมายถึงชื่อแบรนด์ หรือเมนูปังชา

ต่อมาได้มีบางส่วนเข้ามาแสดงความคิดเห็นช่วยอธิบายว่า สิ่งที่ปังชาจด เป็นการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไม่ใช่เมนูอาหาร ดังนั้น คนยังขายเมนูปังชาเย็นได้ตามปกติ แต่ห้ามนำชื่อ “ปังชา” ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในทุกๆ กรณี เพราะจะถือเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้า

ปังชา จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
ภาพจาก : Lukkaithong – ลูกไก่ทอง Thai Royal Restaurant

“ปังชา” จดทะเบียนอะไรบ้าง

ล่าสุด ทีมงาน เดอะ ไทยเกอร์ ได้ตรวจสอบรายละเอียดผ่านทางเว็บไซต์ของ กรมทรัพย์สินทางปัญหา พบว่า “ปังชา” ได้จะทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหลัก ๆ อยู่ 2 ข้อ ประกอบด้วย ถ้วยไอศกรีม และเครื่องหมายทางการค้า โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ถ้วยไอศกรีม – สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี (ต่ออายุอีกไม่ได้) ความคุ้มครอง คือ ร้านอื่น ๆ จะใช้ถ้วยไอศกรีม บิงซู น้ำแข็งใส ลักษณะเดียวกันกับที่เค้าจดทะเบียนไว้ไม่ได้

2. เครื่องหมายการค้า

จากการสืบค้นการจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้า พบว่าจะมีอยู่ 3 รูป ที่ได้จดคุ้มครองสินค้าประเภทน้ำแข็งใส แต่ทาง ปังชา ก็ยังได้จดเครื่องหมายไว้กับสินค้าประเภทอื่น ๆ อีกหลายอย่างอีกด้วย

2.1 รูปผู้หญิงนั่งอยู่กับถ้วยไอศกรีม

รูปแรกที่เป็นผู้หญิงนั่งอยู่กับถ้วยไอศกรีม จะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า “ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมันที่ปรากฎในภาพ ยกเว้นคำว่า KAM”

2.2 รูปวงรีสีดำ

รูปที่สอง วงรีสีดำ จะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า “ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน คำว่า PANG CHA THE BEST THAI TEA”

2.3 รูป วงรีสีขาว

รูปที่สาม วงรีสีขาว จะมีข้อความสละสิทธิเขียนไว้เลยว่า “ไม่ขอถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้อักษรโรมัน คำว่า PANG CHA”

ปังชา จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
ภาพจาก : Lukkaithong – ลูกไก่ทอง Thai Royal Restaurant

สรุปคำว่า “ปังชา” จดทะเบียนลิขสิทธิ์ไหม

สรปความหมาย คือ เราห้ามทำรูปโลโก้ หรือ เครื่องหมายการค้าแบบที่เค้าจดไว้ เช่น ผู้หญิงใส่ชุดไทยมานั่งกับถ้วยไอศกรีมแบบนี้ หรือ ทำเป็นโลโก้แบบในภาพ แต่คำต่าง ๆ ไม่ว่าจะ PANG CHA, the Best Thai Tea ใคร ๆ ก็สามารถใช้ได้

ส่วนคำว่า ”ปังชา” ภาษาไทย สามารถใช้ได้ตามปกติ เพราะเค้าไม่ได้จดไว้กับสินค้าบริการประเภทนี้ แต่ก็มีชาวเน็ตใบ้มาว่าทางร้านได้มีจดทะเบียนลิขสิทธิ์คำว่า “ปังชา” ภาษาไทยไปจดกับสินค้าประเภทอื่น เช่น สินค้าที่ระลึก

สรุปคำว่า “Pang Cha” หรือ “ปังชา” ไม่ได้มีการจดไว้เป็นเครื่องหมายการค้าของใคร ที่จดคือ รูปภาพหรือโลโก้ ซึ่งได้สละสิทธิคำว่า Pang Cha ไว้แล้ว

สำหรับกรณีฟ้องร้อง 102 ล้านบาท ไม่น่าจะเรียกร้องได้ และผู้ประกอบการที่ตั้งชื่อเพจว่า ปังชา ยังสามารถใช้ขายน้ำแข็งใส บิงซู ต่อไปได้ตามปกติ

อ้างอิง : 1

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button