สุขภาพและการแพทย์อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

เช็กอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เจ็บแบบนี้ต้องแก้ไข เก้าอี้สุขภาพเข้าด่วน

Bewell ชวนหนุ่มสาวออฟฟิศ เช็กอาการ ออฟฟิศซินโดรม พร้อมวิธีป้องกันโรคกำเริบด้วยเก้าอี้สุขภาพ ลงทุนกับร่างกายให้ถูกจุดก่อนสายเกินแก้

วัยทำงานหลายคนที่ต้องนั่งทำงานบนเก้าอี้ท่าเดิมตลอดวัน อาจเสี่ยงเจออาการ ออฟฟิศซินโดรม กันได้ง่าย ๆ ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลยเพราะนอกจากจะทำให้คุณต้องเจ็บและปวดคอ บ่า ไหล่แล้ว ยังอาจกระทบการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันอีกด้วย ดังนั้นหากรู้วิธีป้องกันหรือแก้ไขจะเป็นออฟฟิศซินโดรมเร็วเท่าใด ยิ่งเป็นผลดีกับตัวเราเองเท่านั้น

เพราะการป้องกันก่อนเป็นหรือตั้งแต่เริ่มมีอาการแรก ๆ ย่อมดีกว่าการรักษาหลังจากเป็นออฟฟิศซินโดรมไปแล้ว วันนี้ทีมงาน Thaiger และ Bewell จึงอยากชวนคนนั่งทำงานนาน ๆ มาใส่ใจสุขภาพกัน

ออฟฟิศซินโดรม ปัญหาสุขภาพใหญ่ของคนทำงานออฟฟิศ

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร

ออฟฟิศซินโดรม เป็นชื่อเรียกอาการเจ็บและปวดที่เกิดกับร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ทำงานในออฟฟิศ หรือสำนักงาน ซึ่งไม่ค่อยได้ขยับร่างกายเท่าที่ควร

Bewell เก้าอี้สุขภาพ

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรมเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  • การนั่งทำงานท่าเดิม ๆ หรือนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน
  • อุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ใช้ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกาย มีการจัดวางในตำแหน่งที่สูงหรือต่ำจนเกินไป
  • ความไม่พร้อมของร่างกาย เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ความกังวล เป็นต้น

อาการของออฟฟิศซินโดรม

วิธีดูว่าคุณเข้าข่ายเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ สามารถสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้

1. ปวด หรือปวดร้าวบริเวณกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณ คอ บ่า ไหล่ สะบัก หรือไม่สามารถชี้ตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน อาการปวดมีหลายระดับ ตั้งแต่ปวดเล็กน้อยไปจนถึงปวดอย่างรุนแรง

2. มีอาการชาหรือรู้สึกอ่อนแรงบริเวณมือหรือแขน

3. รู้สึกหูอื้อ ตาพร่า มึนงง เหงื่อออก ปวดจนรู้สึกขนลุกบริเวณที่ปวด เป็นต้น

วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม

1. ปรับท่านั่งทำงานให้เหมาะสม

การนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้องและสบาย จะทำให้คุณไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อ โดยท่านั่งที่เหมาะสมคือ ศีรษะอยู่ในลักษณะสมดุล ลำตัวตรง ไหล่สองข้างปล่อยสบาย ๆ ไม่ยกหรือต่ำจนเกินไป ควรมีที่วางเท้า วางแขนและข้อศอก

2. จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานใหม่

บ่อยครั้งสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดความเครียด รวมถึงส่งผลเสียต่อร่างกายของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นควรใส่ใจสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีความเหมาะสมและพร้อมต่อการทำงานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่างที่เพียงพอ ไม่มีเสียงรบกวน อุณหภูมิพอดี ไม่หนาวหรือร้อนจนเกินไป

Bewell เก้าอี้สุขภาพ

3. ลุกเดินเป็นระยะ เพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว

นอกจากจะเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวระหว่างวันแล้ว ยังเป็นการพักสายตา ลดความเมื่อยล้าจากการทำงาน ซึ่งจะช่วยลดความเครียดได้

4. ออกกำลังกาย และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ

ควรหาเวลาออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายได้ขยับอยู่เสมอ รวมถึงฝึกเหยียดกล้ามเนื้อให้เป็นนิสัย โดยเฉพาะบริเวณคอ กล้ามเนื้อสะบักหลัง ต้นขา กล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อไทรเซ็ปส์

5. ใช้โต๊ะ – เก้าอี้เพื่อสุขภาพ

กรณีต้องนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรเลือกใช้อุปกรณ์การทำงานที่รองรับและพอดีกับโครงสร้างของร่างกาย โดยเฉพาะโต๊ะทำงานและเก้าอี้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่เหล่ามนุษย์วัยแรงงานจะต้องใช้อยู่ตลอดวัน หากเลือกใช้ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ ที่รับกับสรีระของร่างกาย จะช่วยลดความปวดเมื่อย การนั่งผิดท่า และลดโอกาสเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง

Bewell เก้าอี้สุขภาพ

หากสนใจสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพของคนทำงาน สามารถเข้าไปซื้อผ่านออนไลน์ได้เลยที่ bewellstyle.com โดยทาง Bewell มีอุปกรณ์ทำงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเบาะรองหลัง เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ แว่นกรองแสงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ออกกำลังแก้โรคออฟฟิศซินโดรม ไปจนถึงสินค้าตัวช่วยในการเดินทางเช่น หมอนรองคอ ผ้าเช็ดตัวแห้งไว กระเป๋าจัดระเบียบ ฯลฯ

บอกรักตัวเองด้วยการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับการทำงานให้ตัวคุณกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : thatoomhsp.com

กดติดตามเพจเฟซบุ๊ก Thaiger เพจใหม่ ไม่พลาดทุกข่าวสาร คลิกที่นี่

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button