เคสคนไข้กินหมูดิบจนติดเชื้อหูดับ ลามไปสมอง ทำเข้าใจ “ตะเกียบกลาง” สำคัญแค่ไหน
หมอโพสต์เฟซบุ๊ก เผยรายละเอียด เคสอุทาหรณ์คนไข้กินหมูดิบจนติดเชื้อหูดับ ตัวโรคลุกลามไปสมอง ลิ้นหัวใจ จนทีมแพทย์ตัดสิในใจใส่ท่อช่วยหายใจช่วยชีวิต ปัจจุบันให้ยังต้องให้ยาฆ่าเชื้อและรอผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม ทิ้งท้ายแนะใช้ตะเกียบหลายอัน แบบช้อนกลาง คีบเนื้อสดเวลาไปปิ้งย่าง ดีกว่าเสี่ยงรอโรคเกิดกับตัวเองไม่คาดคิดแบบนี้
วันที่ 9 สิงหาคม 2566 นายแพทย์นพณัฐ เตียรถ์สุวรรณ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลขอนแก่น ได้โพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊กของตัวเองที่ใช้ชื่อ “Kan Nop” โดยเป็นการให้ข้อมูลเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่ชื่นชอบรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
ทั้งนี้ รายละเอียดจากโพสต์เปิดเผยกรณีคนไข้ดังกล่าว มีประเด็นที่น่าศึกษาเพื่อเป็นการป้องกันอันตรายการการรับประทาน เนื้อสัตว์แบบบดิบ ๆ ซึ่งเคสนี้เป็นการ “กินหมูดิบ” จนสุดท้ายต้องถูกหามส่งโรงพยาบบาลจากอาการ “โรคไข้หูดับ” หรือ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียโรคสเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) โดยความรุนแรงของตัวโรคนั้น ถึงขั้นต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อทำการช่วยชีวิตเป็นการด่วน และปัจจุบันยังต้องรอผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเทียมด้วย
“รับประทาน หมู กึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ระหว่างที่ on service เดือนสิงหาคม แค่ 8 วัน พบผู้ป่วยติดเชื้อ Streptococcus suis septicemia (โรคไข้หูดับ) แล้วถึง 5 ราย ในรพ.แห่งเดียว ที่สำคัญคือ เชื้อนี้จะลุกลามเข้าใปใน สมอง เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบติดเชื้อ และลุกลามไปที่ลิ้นหัวใจ
“ตัวอย่างเคสนี้ที่เห็นนี้ คือเชื้อโรคเกาะกันเป็นก้อน (Vegetation) ที่ลิ้นหัวใจ Aortic Valve แล้วกินเนื้อเยื่อจนทะลุ (Valve perforation) ทำให้น้ำท่วมปอดทันทีทันใด และต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อช่วยชีวิต ตอนนี้ต้องให้ยาฆ่าเชื้อ และรอผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม”
“ความซวยที่เพิ่มขึ้นมาคือ เชื้อ Strep suis ในเวลานี้ มีเชื้อดื้อยาขนานปกติเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการใช้ยาฆ่าเชื้อพร่ำเพรื่อ หรือจากการใช้ยาฆ่าเชื้อในฟาร์มหมูกันแน่ เมื่อติดเชื้อแล้ว ต้องไปให้ยาฆ่าเชื้อ Vancomycin ที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ต้องติดตามระดับยาขณะให้ และให้ไปแล้วต้องระวังไตวายต่ออีก”
“จึงขออนุญาตเตือนทุกท่าน วิธีป้องกัน คือ เชื้อโรคตัวนี้ติดจากการรับประทานอาหารเนื้อหมูดิบ ที่คนบอกว่าอร่อยนักหนา เช่น เมนูลาบก้อย หรือการคีบเนื้อหมูดิบในวงหมูกะทะ ถ้าให้ดีคงต้องมีการใช้อุปกรณ์ส่วนกลาง ในการคีบอาหารดิบมากขึ้น ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ถ้ามีการสัมผัสหรือเตรียมเนื้อหมูที่ยังดิบอยู่”
“ปล. ใครจะบอกว่า ใช้ตะเกียบหลายอันแล้วกินลำบาก ไม่อร่อย ก็คือ ขอให้โชคดี เวลาเรื่องมันเกิด ไม่มีใครคิดหรอกครับว่าจะเกิดกับตัวเอง” เนื้อหาจากโพสต์แจ้งเตือนเคสผู้ป่วยล่าสุดที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการรักษาเชื้อโรคร้ายที่เกิดจากการรับประทานเนื้อหมูแบบดิบ ๆ ซึ่งต่อมาก็ทำให้ชาวเน็ตจำนวนมากเริ่มมีการพูดถึงความจำเป็นในการใช้ตะเกียบกลาง ยามที่ต้องคีบเนื้อหมู หรือ อาหารที่ต้องผ่านการปรุงสุก จะเป็นการป้องกันแต่เนิ่น ๆ ที่ดีที่สุดอีกด้วย
- กรมอนามัย เตือน อย่ากินซาซิมิหมูดิบ
- เปิดที่มาโรคไข้หูดับ
- ซื้อหมู-ทำหมูกระทะ แต่มือเป็นแผลสุดท้ายสังเวยโรคหูดับ.