ตอบแล้ว “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” ประจำเดือนสิงหาคม 2566 สามารถกดเป็นเงินสดออกมาได้กี่บาท
เช็กสิทธิ์ล่าสุด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนสิงหาคม 2566 เงินเข้าวันไหน ได้เงินกี่บาท พร้อมตรวจสอบสถานะผลการทะเบียนผู้มีสิทธิ์ใช้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้ที่เว็บไซต์ welfare พร้อมข้อมูลการดำเนินการต่อ สำหรับผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในรอบอุทธรณ์
ทีมงาน Thaiger ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน งวดวันอังคารที่ 1 เดือนสิงหาคม 2566 วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป
ส่วน วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ จำนวน 200 บาทต่อเดือน โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิ หรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสิงหาคม 2566 เงินเข้าวันไหนบ้าง ได้กี่บาท
วันที่ 1 สิงหาคม 2566
วันแรกของเดือนเป็นวงเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ผู้มีสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสด และไม่สามารถสะสมเงินในเดือนถัดไปได้
- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อเดือน
- วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 80 บาทต่อ 3 เดือน
- วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อเดือน ประกอบด้วย บขส. รถไฟ ขสมก. รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL)
วันที่ 20 สิงหาคม 2566
เงินคนพิการ โอนเข้าบัตรคนจน เพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน
โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลักของผู้มีสิทธิ หรือบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้มีสิทธิหรือผู้รับมอบอำนาจที่ใช้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาท
(สำหรับผู้มีสิทธิที่เป็นผู้พิการ ซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ 800 บาทต่อเดือน โดยจะต้องทำการยืนยันตัวตนกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ภายในวันที่ 26 เมษายน 2566)
สำหรับผู้มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐรายเดิมที่ได้รับสิทธิในการชดเชยค่าไฟฟ้าและ/หรือค่าน้ำประปา กรมบัญชีกลางได้โอนเงิน e-Money เข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ครั้งสุดท้ายในวันที่ 18 เมษายน 2566
ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 0 2109 2345 หรือ Call Center กรมบัญชีกลาง 0 2270 6400 ในวัน เวลาราชการ โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าว
เช็คสิทธิ์บัตรคนจนเดือนสิงหาคม 2566
ท่านใดที่ลงทะเบียนไว้ สามารถเช็คสิทธิ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนสิงหาคม 2566 ได้แล้ว โดยผู้ที่ได้รับสิทธิโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2566 ในครั้งนี้ จะไม่ได้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเช่นเดิมแล้ว แต่จะเปลี่ยนไปใช้บัตรประชาชนแบบสมาร์ตการ์ดแทน โดยผู้ที่ลงทะเบียน และผู้ที่ยื่นอุทธรณ์ สำหรับขอแก้ไขข้อมูล สามารถเช็กสิทธิได้ที่เว็บไซต์ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ส่วนผู้ที่ผ่านเกณฑ์ในรอบอุทธรณ์สามารถดำเนินการต่อได้อย่างไรบ้าง วันนี้ทีมงาน Thaiger รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วค่ะ
โดยผู้ที่ลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ และผู้ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในรอบอุทธรณ์ เพื่อขอแก้ไขข้อมูลส่วนตัว สามารถตรวจสอบสถานะสิทธิการลงทะเบียน หรือตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินการต่อหลังจากผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในรอบอุทธรณ์ ได้ดังนี้
ขั้นตอนการดำเนินต่อเมื่อผ่านรอบอุทธรณ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565
ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ
-
- เดินทางไปยื่นยันตัวตน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยืนยันตัวตนได้ผ่าน 3 หน่วยงาน ได้แก่
-
-
- ธนาคารกรุงไทย โดยให้บริการยืนยันตัวตน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 และยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการบริการ
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) โดยให้บริการยืนยันตัวตนเป็นเวลา 180 วัน นับจากวันที่ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 27 สิงหาคม 2566
-
ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ
-
- ยื่นอุทธรณ์ โดยสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ได้แก่
- ติดต่อหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ไม่ผ่าน เพื่อตรวจสอบหรือขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยหลังจากยื่นอุทธรณ์แล้ว ผู้ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต้องติดต่อหน่วยงานตรวจสอบ หรือขอแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป
หากตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นผู้ที่ ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติในรอบอุทธรณ์ ทางกระทรวงการคลังขอให้ดำเนินการยืนยันตัวตนได้ ที่ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารออมสิน หรือ ธ.ก.ส. ได้ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card)เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าวตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร
นอกจากนี้ ผู้ผ่านการพิจารณา ต้องตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน โดย ธ.ก.ส. และ ธนาคารออมสิน จะให้บริการยืนยันตัวตน จนถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2566 สำหรับ ธนาคารกรุงไทยฯ ยังไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดการให้บริการยืนยันตัวตน ในส่วนของช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละธนาคาร
ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์ กับหมายเลขประจำตัวประชาชน เพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้ โดยผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติที่ได้รับสิทธิ ที่ดำเนินการยืนยันตัวตนภายในวันที่ 26 กันยายน 2566 จะได้รับวงเงินสิทธิสวัสดิการย้อนหลัง ตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 เฉพาะวงเงินในส่วนของการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และร้านอื่น ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น จำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน และหากมีวงเงินคงเหลือจะไม่มีการสะสมไปในเดือนถัดได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติที่ไม่สามารถดำเนินการยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง ได้แก่ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายืนยันตัวตนแทนได้ โดยใช้เอกสารดังต่อไปนี้
1) บัตรประจำตัวประชาชนผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ(ผู้ได้รับสิทธิ)
2) หนังสือมอบอ านาจการยืนยันตัวตน (สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของโครงการฯ)
3) บัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
4) บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
5) ใบสำคัญการหย่า หรือใบมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายตาย (เฉพาะผู้ผ่านเกณฑ์แบบมีเงื่อนไข ที่ได้ยื่นเอกสารหนังสือประกอบการพิจารณา กรณีผู้ลงทะเบียนไม่สามารถติดตามคู่สมรสเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้)
ช่องทางตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565
ในส่วนนี้ ผู้ที่ลงทะเบียนทุกคนที่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ “ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน” ได้ทุกการตรวจสอบผลการลงทะเบียน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยสามารถตรวจสอบได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
-
- ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565
- ตรวจสอบผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทุกหน่วยงาน
-
-
- สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ)
- สำนักงานคลังจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ สังกัดกรมบัญชีกลาง
- ที่ว่าการอำเภอทั้ง 878 อำเภอทั่วประเทศ ภายใต้กระทรวงมหาดไทย
- สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา
-