ข่าวข่าวการเมือง

หมายกำหนดการ “ในหลวง-พระราชินี” เสด็จฯ เปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก เย็นวันนี้

หมายกำหนดการ “ในหลวง-พระราชินี” เสด็จพระราชดำเนิน เปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก ที่อาคารรัฐสภา ในเวลา 17.00 น. วันนี้

วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เปิดเผยถึงหมายกำหนดการรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกในวันนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี จะเสด็จพระราชดำเนินมายังรัฐสภา ในเวลา 17.00 น.

กำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดําเนินไปทรงเปิดประชุมรัฐสภา ณ ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566

เวลา 16.50 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดําเนินออกจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังอาคารรัฐสภา แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อาคารรัฐสภา แขวงถนนนครไชยศรีฯ

เวลา 17.00 น. เสด็จพระราชดำเนิน ถึงอาคารรัฐสภา (บริเวณลานสะพานปลาอานนท์) (วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) (รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางซ้าย) พร้อมด้วย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา และทําหน้าที่ประธานรัฐสภา

นางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เฝ้าฯ เสด็จ เสด็จขึ้นชั้น 11 (โดยลิฟต์) เสด็จเข้าห้องประทับรับรอง ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย

เสด็จออกจากห้องประทับรับรอง เข้าสู่ห้องประชุมฯ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) เสด็จขึ้นบนเวที ทรงยืนหน้าพระราชอาสน์ มีพระราชดํารัสเปิดประชุมรัฐสภา จบแล้ว (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี)

เสด็จลงจากเวที เข้าห้องประทับรับรอง ประทับพักพระราชอิริยาบถ ตามพระราชอัธยาศัย เสด็จลงชั้น 1 (โดยลิฟต์) ไปยังรถยนต์พระที่นั่ง (รถยนต์พระที่นั่งเทียบทางขวา)

ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ออกจากอาคารรัฐสภา กลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต (วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) เสด็จฯ ถึงพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต.

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button