การระเบิดแบบ implosion กับ explosion ต่างกันอย่างไร ถอดบทเรียนสำคัญจากเรือไททัน
ทำความเข้าใจ การระเบิดตัวแบบยุบตัวลง (Implosion) แตกต่างจากการระเบิดแบบกระจาย (Explosion) อย่างไร เผยข้อมูลน่าสนใจหลังเหตุการณ์เรือดำน้ำไททัน (Titan) เกิดระเบิดตัวใต้มหาสมุทร
หลังจากหน่วยยามฝั่งสหรัฐอเมริกาแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังพบซากชิ้นส่วนเรือดำน้ำไททัน (Titan) กระจายอยู่ห่างจากบริเวณด้านหน้าของซากเรือไททานิคประมาณ 487 เมตร และทางด้านบริษัท โอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชัน ได้ออกแถลงการณ์เพิ่มเติมว่าผู้โดยสารพร้อมคนบังคับเรือทั้ง 5 คน เสียชีวิตทั้งหมดขณะเดินทางลงไปสำรวจเรือไททานิค
จากแถลงการณ์ของบริษัทโอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชัน ออกมาได้ไม่นาน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเรือดำน้ำไททัน ถูกแรงดันจากมวลน้ำบีบอัดจนเรือเกิดระเบิดหรือที่เรียกว่า อิมโพลชัน (Implosion) ซี่งเป็นการถูกบีบอัดจากแรงภายนอกเข้ามาภายใน ต่างจากการระเบิดแบบกระจายหรือ เอ็กโพลชัน (Explosion) ที่เกิดการนะเบิดจากแรงดันภายในสู่ภายนอก
หลายคนอาจจะยังคงสงสัยว่า การระเบิดแบบ อิมโพลชัน (Imposion) และ เอ็กโพลชัน (Explosion) มีข้อแตกต่างกันอย่างไร เกิดขึ้นจากอะไรบ้าง ในวันนี้ Thaiger จะมาไขข้อข้องใจของทุกคน พร้อมกับเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนว่าระเบิดทั้งสองชนิดต่างกันอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ
ไขข้อข้องใจ การระเบิด อิมโพลชัน กับ เอ็กโพลชัน ต่างกันอย่างไร
การระเบิดแบบอิมโพลชัน คืออะไร
การระเบิดแบบอิมโพลชัน (Implosion) เป็นการระเบิดที่วัตถุยุบตัวพังทลายเข้าหาตัวเองอย่างรุนแรง เกิดจากความไม่สมดุลกันของแรงดันภายในที่ต่ำกว่าภายนอก จนทำให้แรงดันจากภายนอกปริมาณบีบอัดโครงสร้างจนยุบเข้าหาศูนย์กลาง ซึ่งการบีบอัดนี้ ทำให้วัตถุชนกันอย่างรุนแรงและกระจายออก
ตัวอย่างที่สำหรับการระเบิดแบบอิมโพลชัน คือ การถูกบีบอัดของเรือดำน้ำไททัน (Titan) ที่เกิดเหตุพลังจากการขาดติดต่อกับเรือแม่โพลาร์ พรินซ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา โดยผู้เชี่ยวชาญได้เผยอีกด้วยว่าความลึกใต้ทะเลาทำให้เรือไททันมีแรงกดดันมหาศาล แม้โครงสร้างเกิดข้อบกพร่องเพียงนิดเดียวก็อาจเกิดหายนะได้ หรือการยุบตัวของดวงดาวที่เกิดจากแรงกดของแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เป็นต้น
การระเบิดจากเอ็กโพลชัน คืออะไร
สำหรับการระเบิดแบบเอ็กโพลชัน (Explosion) เป็นการระเบิดที่เราคุ้นเคยกันดี เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปล่อยพลังงานรูปแบบต่าง ๆ อาจอยู่ในรูปของก๊าซและของเหลว ทำให้เกิดเสียง ความร้อน และการขยายตัวของมวลอากาศที่รุนแรง ส่งผลกระทบกับพื้นที่โดยรอบ เช่น การระเบิดของถังสารเคมีจากภายในจนถังระเบิดออกมาเมื่อได้รับความร้อนมหาศาล
ข้อแตกต่างระหว่าง อิมโพลชัน กับ เอ็กโพลชัน มีอะไรบ้าง
สรุปแล้ว ความแตกต่างระหว่างการระเบิดแบบอิมโพลชันและเอ็กโพลชัน จะเห็นได้ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยการระเบิดแบบอิมโพลชัน (Implosion) จะเป็นการถูกบีบอัดจากแรงภายนอกเข้ามาภายใน ทำให้วัตถุชนกันอย่างรุนแรงและกระจายตัวออก
ในส่วนของการระเบิดแบบเอ็กโพลชัน (Explosion) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปล่อยพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดเสียง ความร้อน และการขยายตัวของมวลอากาศที่รุนแรง ส่งผลกระทบกับพื้นที่โดยรอบ
ดังนั้น จากกรณีการระเบิดของเรือดำน้ำไททัน จะเห็นได้ชัดว่าการระเบิดแบบอิมโพลชัน ที่เกิดขึ้นจากการถูกบีบอัดจากแรงภายนอกเข้ามาภายใน ทำให้เกิดการพลังทลายของพาหนะที่เกิดจากแรงดันภายในท่วมท้น เมื่อแรงกดดันภายในพื้นที่จำกัดมีมากเกินกว่าที่โครงสร้างจะรับได้ จึงนำไปสู่การพลังทลายอย่างกะทันหันและรุนแรง แตกต่างจากการระเบิดแบบกระจายหรือเอ็กโพลชัน ที่เป็นการระเบิดจากแรงดันภายในสู่ภายนอกอย่างชัดเจน