ประวัติ ‘วันสุนทรภู่’ กวีเอกเมืองไทย ผู้บุกเบิกโลกวรรณกรรม
ประวัติวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน 2567 เนื่องในวันคล้ายวันเกิด “ภู่” กวีเอกเมืองไทย 4 แผ่นดิน ผู้ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม
รู้จัก ประวัติวันสุนทรภู่ จัดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี ระลึกคุณงามความสามารถเจ้ากลอนของกวีเอก เชกสเปียร์แห่งเมืองไทยอย่าง พระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญทางรรณคดีของประเทศไทย
ทีมงาน Thaiger ได้ทำการสืบค้นหาข้อมูลมาให้ที่นี่แล้ว ถึงประวัติที่มาของวันสุนทรภู่ว่าเป็นเป็นอย่างไร องค์การยูเนสโกยกย่องให้รางวัลบุคคลสำคัญของโลกเมื่อไหร่ เช็กข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี่เลย
ประวัติวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน 2567 UNESCO ยกย่องในเป็นหนึ่งด้านวรรณกรรม
จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งวันสุนทรภู่นั้น เกิดขึ้นเมื่อ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNESCO ได้ ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก เพื่อยกย่องชูเกียรติกันสืบต่อไป
เนื่องด้วยโอกาสนี้ รัฐบาลไทยจึงได้ทำการสืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ และผลที่ได้ออกมาก็เป็นการประกาศยกย่อง “สุนทรภู่” ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด ในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529
ด้วยเหตุเช่นนี้ ปีต่อมา พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ (อดีตรองนายกรัฐมนตรี) ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายกับประชาชนไทยได้รู้จักในวงกว้าง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลไทย ได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี คือ วันสุนทรภู่ นับแต่ตอนนั้นมาจนถึงเวลาปัจจุบันนั่นเองครับ
ประวัติ สุนทรภู่ แบบย่อ
สุนทรภู่ หรือ ภู่ (Sunthorn Phu, Phra Sunthonwohan) กวีเอกผู้มีฝืมือในการร่ายกลอนวรรณกรรมอย่างไพเราะ ถึง 4 แผ่นดิน ผู้ได้รับการยกย่องจาก ยูเนสโก ว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก มีผลงานมากมายทางด้านวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็น นิราศ นิทาน สุภาษิต เสภา และบทเห่กล่อม มากมาย
จนได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้นักกวียุคหลัง สุนทรภู่ เกิดเมื่อเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ช่วงชีวิตผ่านการเดินทางมากมายพร้อมสร้างผลงานทางวรรณกรรมอย่างดีเยี่ยม จนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบเมื่อปี พ.ศ. 2398 มีอายุขัย 69 ปี
รวมผลงานสร้างชื่อของสุนทรภู่
ผลงานของสุนทรภู่นั้น มีทั้งได้ค้นพบและยังไมีการพบเจอใด ๆ เนื่องจากหลายครั้งไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่ทว่าจากเท่าที่พบตามหลักฐานนั้น สามารถสรุปได้ว่ามีทั้งหมด 23 เรื่อง ดังนี้
1. ผลงานนิทาน 5 เรื่อง
- โคบุตร
- ลักษณวงศ์
- พระอภัยมณี
- สิงหไกรภพ
- พระไชยสุริยา
2. ผลงาน นิราศ 9 เรื่อง
- นิราศเมืองแกลง
- นิราศพระบาท
- นิราศภูเขาทอง
- นิราศเมืองเพชร
- นิราศวัดเจ้าฟ้า
- นิราศอิเหนา
- นิราศสุพรรณ
- รำพันพิลาป
- นิราศพระประธม
3. ผลงานบทเห่กล่อม 4 เรื่อง
- บทเห่เรื่องจับระบำ
- บทเห่เรื่องกากี
- บทเห่เรื่องพระอภัยมณี
- บทเห่เรื่องโคบุตร
4. ผลงานเสภา 2 เรื่อง
- ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
- พระราชพงศาวดาร
5. ผลงานประเภทบทละคร 1 เรื่อง
- อภัยนุราช
6. ผลงานสุภาษิต 2 เรื่อง
- สวัสดิรักษา
- เพลงยาวถวายโอวาท
ประวัติ อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จ.ระยอง
อนุสรณ์สถานสุนทรภู่ หรือ อนุสาวรีย์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาสุนทรภู่ มีเนื้อที่ 33.15 เอเคอร์ หรือประมาณ 8.5 ไร่
จัดตั้งโดย นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 แต่หยุดการก่อสร้างไปเป็นเวลา 10 ปี
จนกระทั่ง พ.ศ. 2511 ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองในขณะนั้น คือ วิทยา เกษตรเสาวภาคย์ ได้บริจาคเงิน 962,766.10 บาท เพื่อซื้อที่ดินดังกล่าว จนสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2513 และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513
อนุสรณ์สุนทรภู่ ตั้งอยู่บริเวณเนินเขา ประกอบด้วยประติมากรรมรูปปั้นสุนทรภู่ และประติมากรรมตัวละครหลักในวรรณกรรมของเขา ได้แก่ พระอภัยมณี ผีเสื้อสมุทร และนางเงือก สุกิจ เหล่าเดช สร้างรูปปั้นภู เกษร ศรีสุวรรณ ปั้นพระอภัยมณี สาโรช จารึกแกะสลักนางเงือก และผีเสื้อสมุทร นั่นเอง.
อ้างอิง : 1