วิเคราะห์ ใครจะได้เป็น นายกคนที่ 30 ของไทย ใช่พิธาหรือไม่ 23 ก.ค. รู้แน่นอน
เกมการเมืองไทยร้อนระอุทุกขณะ ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย หลังกกต.ประกาศรับรอง 500 ส.ส. เดินหน้าไทม์ไลน์ เปิดประชุมสภาจัดตั้งรัฐบาล ไม่เกินสิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 ได้รู้แน่ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้นั่งเกาอี้นายกรัฐมนตรี กุมบังเหียน ครม. พิธา 1 หรือไม่
ความคืบหน้ากระบวนการจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้ง 2566 เริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้ง 500 คน และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2566 สำหรับประชาชนคนไทยที่สงสัยว่าหลังจากนี้ จะโหวตเลือกนนายกคนที่ 30 วันไหน เปิดประชุมสภาฯ เมื่อไหร่ โหวตเลือกประธานสภาวันไหน วันนี้ Thaiger จะมาสรุปให้ฟัง
ไทม์ไลน์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ใช่งานง่าย
แม้ผลการเลือกตั้ง 2566 จะออกมาเป็นเอกฉันท์ เสียงส่วนใหญ่ 14 ล้านเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมอบความไว้วางใจให้พรรคก้าวไกลในฐานะพรรคอันดับ 1 เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เปลี่ยนผ่านการบริหารประเทศจากรัฐบาลปัจจุบัน ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี แต่งานนี้ขึ้นสู่อำนาจไม่ง่าย เพราะต้องผ่านด้านอรหันต์โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีที่มีเสียง 250 สมาชิกวุฒิสภา (สว.) เป็นตัวแปรสำคัญ
ตามธรรมเนียมระบบประชาธิปไตยปกติแล้ว นายกรัฐมนตรีย่อมมาจากพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง ได้ ส.ส.เข้าไปในสภามากที่สุด ส.ส.เหล่านั้นก็จะโหวตให้แคนดิเดตของพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี แคนดิเดตพรรคไหนได้โหวตสูงสุดก็ชนะไป จากนั้นจะเข้าสู่การฟอร์มจัดตั้งรัฐบาล ตั้งครม. ใครคุมกระทรวงไหน
สรุปไทม์ไลน์ วันโหวตนายก 2566 เลือกประธานสภา ประชุมรัฐสภาครั้งแรก
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายวิษณุเครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงปฏิทินไทม์ไลน์ วันเปิดประชุมสภาและวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ไว้ดังนี้
20-24 มิถุนายน 2566
ผู้ได้รับการประกาศได้เป็น ส.ส. จากกกต. รับหนังสือรับรอง 20-24 มิถุนายนนี้ 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
พรรคการเมืองที่ได้รับการรับรองผลการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ มี 17 พรรคการเมือง ประกอบด้วย พรรคก้าวไกล 39 คน เพื่อไทย 29 รวมไทยสร้างชาติ 13 คน ประชาธิปัตย์ 3 คน พรรคภูมิใจไทย 3 คน พรรคประชาชาติ 2 คน พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน พรรคชาติพัฒนากล้า 1 คน พรรคท้องที่ไทย 1 คน พรรคไทยสร้างไทย 1 คน พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน พรรคเป็นธรรม 1 คน พรรคพลังประชารัฐ 1 คน พรรคพลังสังคมใหม่ 1 คน พรรคเสรีรวมไทย 1 คน พรรคใหม่ 1 คน รวม 100 คน ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะต้องให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
3 กรกฎาคม 2566
ภายใน 15 วัน นับจากวันรับรอง ส.ส. ประชุมรัฐสภาครั้งแรก การนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ในรัฐพิธี
13 กรกฎาคม 2566
ประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก ส.ส. ปฏิญาณตน เลือกประธานสภา ตามข่าวที่ออกมาขณะที่ พรรคก้าวไกลกับพรรคเพื่อไทยคุยกันลงตัวแล้วว่า เก้าอี้ประธานจะมาจากคนของพรรคก้าวไกล ส่วนรองประธานสภาทั้งสองคนมาจากพรรคเพื่อไทย
ตำแหน่งประธานสภาสำคัญมาก เพราะเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่กลั่นกรองคัดเลือกข้อเสมอด้านกฎหมายเข้ามาในสภา ซึ่งโจทย์ใหญ่ของพรรคก้าวไกลที่หาเสียงไว้ช่วงเลือกตั้งคือการพูดคุยเรื่องการแก้มาตรา 112 ในสภา
23 กรกฎาคม 2566
โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ลุ้นให้พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ได้เป็นนายก
ขั้นตอนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี 2566
ไทยเกอร์เคยเขียนขั้นตอนการโหวตแบบละเอียดไว้แล้วที่ชิ้นนี้ >> วิธีเลือกนายกรัฐมนตรี 2566 มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง คลิกอ่าน ด้านล่างนี้จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ อีกครั้ง
1. วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 จะมีประชุมร่วมรัฐสภา 500 ส.ส. กับ 250 ส.ว. เข้าประชุม เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีตามที่มี ส.ส. เสนอขึ้นมาถึงประธานสภา
2. ประธานสภาจะเปิดให้ลงคะแนนเสียงโหวตแบบเปิดเผย จะเป็นแบบขานชื่อเรียงลำดับ ส.ส. ก่อนแล้วค่อย ส.ว. หรือเรียงตามลำดับตัวอักษรคละกัน แล้วแต่ประธานฯพิจารณา
3. กรณีมีการเสนอชื่อพิธา ลิ้มเจริญรัตน์คนเดียว สมาชิกแต่ละคนออกเสียงเป็นรายบุคคล ระบุได้เลยว่า “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ”
4. พิธาจะขึ้นเป็นนายกได้จะต้องได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 376 เสียงขึ้นไป
5. หากโหวตนายกผ่าน ประธานสภาก็จะนำรายชื่อขึ้นถูกเกล้าฯ ถวายให้โปรดเกล้าในลำดับต่อไป
นี่คือเส้นทางที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะว่าที่นายกพรรคประชาธิปไตยต้องเจอและก้าวผ่าน ยังไม่รวมถึงคดีหุ้น iTV ที่โดนร้องเรียนและ กกต.รับลูกโยนเข้ามาตรา 151 ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ส.ว.จะใช้ข้ออ้างนี้มาโหวตไม่เห็นชอบให้พิธาเป็นนายกคนที่ 30 หรือไม่
23 กรกฎาคม 2566 การเมืองไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป