รู้จักควาหลากหลาย สีธง LGBTQIA+ เปิดที่มา ความหมาย สัญลักษณ์ของทุกเพศ ตัวแทนของความหลากหลาย ในเดือนแห่งเทศกาลไพรด์ (Pride Month)
ต้อนรับเดือนมิถุนายน เดือนแห่งเทศกาลไพรด์ 2023 (Pride Month) ความหลากหลาย ซึ่งในปีนี้ การเปิดกว้างว่าโลกใบนี้เริ่มยอมรับทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ซึ่งในเดือน มิ.ย. เราก็จะได้เห็นหลายแบรนด์เริ่มทำการตลาด ด้วยการออกสินค้า ธงสีรุ้ง (Rainbow Flag) เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQIA+ นั่นเอง
แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า LGBTQIA+ แต่ละเพศนั้น ก็มีธงประจำเพศของตัวเองด้วยเช่นกัน ดังนั้นวันนี้ Thaiger จะมาพาทุกคนไปแกะความหมายของ สีธงชาติชาว LGBTQIA+ แต่ละเพศ มีที่มาและความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง
สีธง LGBTQIA+ ทุกเพศ ต้องรับเดือนไพรด์ ความหลากหลายที่ลงตัว
ธงสีรุ้ง (Rainbow Flag)
สัญลักษณ์ รุ้ง 6 สี เริ่มมาจาก กิลเบิร์ต เบเคอร์ นักเคลื่อนไหว และศิลปินผู้ออกแบบธงสีรุ้ง มาจากแนวคิดที่ว่า กลุ่มหลากหลายทางเพศ ควรมีธงเป็นของตัวเอง และที่เลือกใช้สีรุ้งเพราะต้องการสะท้อนความหลากหลายได้ดีที่สุด ธงรุ้ง 6 สี ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มิถุนายน 1978 โดยมีนิยามความหมายของแต่ละสีดังนี้
- สีแดง หมายถึง ชีวิต
- สีส้ม หมายถึง การเยียวยา
- สีเหลือง หมายถึง แสงอาทิตย์แห่งความหวัง
- สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติ
- สีฟ้า หมายถึง ศิลปะ
- สีม่วง หมายถึง จิตวิญญาณ
ธงเลสเบี้ยน (Lesbian Flag)
ธงเลสเบี้ยน (Lesbian Flag) ในปัจจุบันถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี 2561 โดย เอมิลี เกว็น (Emily Gwen) บล็อกเกอร์ชื่อดัง ซึ่งมีด้วยกัน 7 สี ก่อนที่ในเวลาต่อมา เกว็น จะออกแบบธงเลสเบี้ยนเวอร์ชัน 5 แถบสีขึ้นมาด้วย โดยตัดสีส้มเข้มและสีดอกกุหลาบเข้มออก
โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
- สีส้มเข้ม (Dark Orange) เป็นตัวแทนของ ความไม่สอดคล้องทางเพศ (Gender Nonconformity)
- สีส้ม (Orange) เป็นตัวแทนของ ความเป็นอิสระ (Independence)
- สีส้มอ่อน (Light orange) เป็นตัวแทนของ ชุมชน (Community)
- สีขาว (White) เป็นตัวแทนของ ความสัมพันธ์อันเป็นเอกลักษณ์ของผู้หญิง (Unique Relationships to Womanhood)
- สีชมพู (Pink) เป็นตัวแทนของ ความสงบและความสงบสุข (Serenity and Peace)
- สีชมพูเทา (Dusty Pink) เป็นตัวแทนของ ความรักและเพศ (Love and Sex)
- สีกุหลาบเข้ม (Dark Rose) เป็นตัวแทนของ ความเป็นผู้หญิง (Femininity)
ธงเกย์ (Gay Flag)
ในปี 2562 ผู้ใช้งาน Tumblr ชื่อว่า @gayflagblog ได้ออกแบบธงเกย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับธงเลสเบี้ยนที่มีทั้งแบบ 5 แถบ 7 แถบสี โดยธงเกย์นั้นใช้เฉดสีเทอร์ควอยส์ เขียว ขาว ฟ้า และม่วงเป็นหลัก โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
- สีเทอร์ควอยส์ (Turquoise) จนถึง สีเขียว (Green) เป็นตัวแทนของ ชุมชน (Community), การเยียวยา (Healing) และความสุข (Joy)
- สีขาว (White) เป็นตัวแทนของ ความไม่สอดคล้องทางเพศ (Gender Nonconformity), นอนไบนารี (non-binary), และกลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender Folks)
- สีฟ้า (Blue) จนถึง สีม่วง (Purple) เป็นตัวแทนของ ความรักบริสุทธิ์ (Pure Love) ความแข็งแกร่ง (Fortitude) และความหลากหลาย (Diversity)
ธงไบเซ็กซวล (Bisexual Flag)
ธงไบเซ็กซวล (Bisexual Flag) สร้างขึ้นในปี 1998 โดย มิคาเอล เพจ (Michael Page) โดยมีสีชมพูและน้ำเงินชนกันในแนวนอน พร้อมกับใช้แถบสีม่วงขั้งกลางระหว่างสองสี ซึ่งมีความหมายดังนี้
- สีชมพู (Pink) หมายถึง เพื่อแสดงถึงแรงดึงดูดต่อเพศเดียวกัน
- สีน้ำเงิน (Blue) หมายถึง แรงดึงดูดต่อเพศตรงข้าม
- สีม่วงลาเวนเดอร์ (Lavender) หมายถึง ลักษณ์ที่ดึงดูดความสนใจของทุกเพศ
ธงทรานส์เจนเดอร์ (Transgender Flag)
ธงทรานส์เจนเดอร์ (Transgender Flag) ออกแบบโดย โมนิก้า เฮล์มส (Monica Helms) ถูกแสดงครั้งแรกในขบวนพาเหรดในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ในปี 2000 เป็นตัวแทนของชุมชนคนข้ามเพศ ประกอบด้วยแถบแนวนอนห้าแถบ สีฟ้าอ่อนสองแถบ สีชมพูสองแถบ และแถบสีขาวตรงกลาง ซึ่งมีความหมายดังนี้
- สีฟ้าอ่อน (Light Blue) หมายถึง เด็กผู้ชาย
- สีชมพูอ่อน (Light Pink) หมายถึง เด็กผู้หญิง
- สีขาว (White) หมายถึง ช่วงเปลี่ยนผ่านของวัยเด็ก ซึ่งตื่นรู้ว่าตนนั้นมีความเป็นกลางทางเพศ หรือไม่มีเพศ
ธงเควียร์ (Genderqueer Flag)
ธงเควียร์ (Genderqueer Flag) ถูกออกแบบในปี 2011 โดย มาริลิน ร็อกซี (Marilyn Roxie) ผู้สนับสนุนเพศทา งเลือกก่อนที่จะมีการอัปเดตสีใหม่ในปี 2012 ซึ่ง ธงเควียร์นี้มีด้วยกัน 3 สีคือ
- สีม่วงลาเวนเดอร์ (Lavender) หมายถึง สีที่ผสมมาจากสีฟ้าและสีชมพูที่ถูกมองว่าเป็นสีของเพศชายและเพศหญิง โดยเป็นตัวแทนของ เควียร์ ที่ในสมัยก่อนเป็นคำพูดในเชิงเหยียดหยามกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตามความหมายดั้งเดิมที่แปลว่าแปลกประหลาด
- สีขาว (White) เป็นตัวแทนของ ความเป็นกลางทางเพศ และไม่มีเพศ เช่นเดียวกับในธงของทรานส์เจนเดอร์
- สีเขียวเข้ม (Dark Green) เป็นสีตรงข้ามกับสีลาเวนเดอร์ ตัวแทนของกลุ่มคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบ 2 เพศ หรือไบนารี
ธงเควสชันนิง (Questioning Flag)
ธงเควสชันนิง (Questioning Flag) ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกไหน มีธงของกลุ่มนี้หลากหลายแบบ แต่แบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ธงที่มีเครื่องหมายคำถามสีขาวอยู่กลาง มี 4 แถบสี คือ ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ซึ่งออกแบบโดย ซอกส์ (Swocks) ผู้สร้างพื้นที่สำหรับพบปะกันของชาว LGBTQIA+ ในเกม Roblox และถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 ส.ค. 2020
ธงอะเซ็กซวล (Asexual Flag)
ในปี 2010 เครือข่ายการศึกษาและการรับรู้ถึงการมีอยู่ของกลุ่มอะเซ็กซวล หรือ AVEN (Asexual Visibility and Education Network: AVEN) ได้จัดการประกวดออกแบบธงเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของกลุ่ม โดยแบบที่ชนะเลิศคือ ธง 4 แถบโดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
- สีดำ เป็นตัวแทนของ ความเป็นอะเซ็กซวล
- สีเทา เป็นตัวแทนของ พื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างเพศและอะเซ็กซวล
- สีขาว เป็นตัวแทนของ เพศ
- สีม่วง เป็นตัวแทนของ ชุมชน
ธงอะโรแมนติก (Aromantic Flag)
ธงอะโรแมนติก (Aromantic Flag) ในปัจจุบันนั้น ออกแบบโดย คาเมรอน วิมซี นักวาดรูปและนักแต่งเพลงในปี 2014 ซึ่งธงมีด้วยกัน 5 สี โดยแต่ละสีมีความหมายดังนี้
- สีเขียวอ่อน – สีเขียว แสดงถึงสเปคตรัมของกลุ่มอะโรแมนติก
- สีขาว เป็นตัวแทนของความรักแบบที่ไม่มีความใคร่ (Plantonic Love) และ ความสัมพันธ์
- สีเทา – สีดำ แสดงถึงสเปคตรัมทางเพศที่มีหลากหลายภายใต้ร่มของอะโรแมนติก
ธงอะเจนเดอร์ (Agender Flag)
ในปี 2014 สแลม เอ็กซ์ (Salam X) ผู้ใช้งาน tumblr ได้ออกแบบ ธงอะเจนเดอร์ (Agender Flag) ซึ่งมีลักษณะเป็นธง 7 แถบที่มีขนาดเท่ากัน ประกอบไปด้วย 4 สี ดังนี้
- สีดำ – สีเทา เป็นตัวแทนของ กลุ่มไร้เพศ (Lack of Gender)
- สีขาว เป็นตัวแทนของ กลุ่มกึ่งไร้เพศ (semi-genderless)
- สีเขียวอ่อน เป็นตัวแทนของ กลุ่มนอนไบนารี
ธงอินเตอร์เซ็กซ์ (Intersex Flag)
ธงของอินเตอร์เซ็กซ์ (Intersex) หรือ ภาวะเพศกำกวม ออกแบบโดย มอร์แกน คาร์เพนเตอร์ แห่ง องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนสำหรับผู้ที่มีภาวะเพศกำกวมแห่งออสเตรเลีย (Intersex Human Rights Australia) ในปี 2013
ธงมีวงกลมสีม่วงอยู่ตรงกลางพื้นหลังที่เป็นสีเหลือง โดยสีเหลืองและสีม่วงนั้นเป็นสีที่ไม่ได้ถูกใช้แทนเพศต่าง ๆ อีกทั้งในอดีตยังเคยใช้เป็นสีของกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์อยู่แล้ว ส่วนวงกลมมีความหมายถึงความสมบูรณ์ ความเต็มเปี่ยม และศักยภาพของกลุ่มอินเตอร์เซ็กซ์
ธงแพนเซ็กชวล (Pansexual Flag)
ธงแพนเซ็กชวล (Pansexual Flag) นำมาใช้ในปี 2010 จากการออกแบบของ แจสเปอร์ วี. (Jasper V.) ผู้ที่ระบุว่าตนเองเป็นเควียร์ นอนไบนารี่ มีแถบแนวนอนสามแถบ: ชมพู และน้ำเงิน แสดงถึงแรงดึงดูดของเพศหญิงและเพศชาย ในขณะที่สีฟ้าหมายถึงแรงดึงดูดที่ไม่ใช่คู่
ธงนอนไบนารี่ (Nonbinary Flag)
ธงนอนไบนารี่ (Nonbinary Flag) ได้รับแนวคิดโดย Kye Rowan ในปี 2014 แถบแนวนอนสี่แถบสีเหลือง ขาว ม่วง และดำ
- สีเหลือง หมายถึง ผู้ที่ไม่มีเพศอยู่ในเลขฐานสอง
- สีขาว – สีม่วง หมายถึง ผู้คนที่ระบุเพศได้ทั้งหมดหรือหลายเพศ และผู้ที่คิดว่าตัวเองเป็นทั้งหญิงและชาย
- สีดำ หมายถึง คนที่ระบุว่าไม่มีเพศ