อาหารไลฟ์สไตล์

“ราเมนไอโซพอด” เปิดเมนูพิศดารจากใต้ทะเลลึก ที่คนไต้หวันแห่คลั่ง

ราเมนไอโซพอด เมนูสุดพิศดารจากใต้ทะเลลึก ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไต้หวัน เนื้อหวานรสชาติคล้ายล็อบสเตอร์

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 เรียกว่ากำลังกลายเป็นกระแสเมนูไวรัล สำหรับ “ราเมนไอโซพอด” เมนูเส้นขึ้นชื่อของญี่ปุ่นซึ่งมีวัตถุดิบหลักได้แก่เจ้าตัว “ไอโซพอด” ที่เป็นสัตว์ประเภทเดียวกับกุ้ง (crustaceans) เป็นสัตว์เปลือกแข็ง ขาปล้อง

โดยหลังจากที่ “ร้านเดอะ ราเม็งบอย (TheRamen Boy)” ในกรุงไทเป ของไต้หวัน โพสต์ภาพเปิดตัวเมนูราเม็งไอโซพอดยักษ์บนโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎ มีลูกค้าให้สนใจลงชื่อรอคิวชิมเมนูนี้แล้วมากกว่า 100 คน

ด้าน มิสเตอร์ หู (Mr Hu) เจ้าของร้านราเม็งบอยเชื่อว่า สาเหตุที่เมนูราเม็งไอโซพอดดึงดูดความสนใจจากลูกค้าเป็นจำนวนมากเป็นเพราะลักษณะที่น่ารักของสัตว์ชนิดนี้ซึ่งเป็นเมนูพิศดารที่ได้มาจากใต้ทะเลลึก โดยเขาได้ไอเดียในการสร้างสรรค์เมนูใหม่หลังจากเดินทางไปญี่ปุ่น และเห็นเจ้าไอโซพอดแหวกว่ายอยู่ในอะควาเรียม ซึ่งตอนนั้นแค่มองว่า “น่ารักดี” ก่อนจะตัดสินใจทดลองเอามาปรุงเป็นราเมง

ส่วนเหตุผลที่ตั้งราคาไว้ต่อชามยังสูงถึง 1,480 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 1,670 บาท มิสเตอร์ หู ระบุว่าเป็นเพราะพวกมันเป็นสัตว์ที่พบได้ยาก จึงทำให้ปริมาณมีจำกัด ดังนั้น ผู้ที่สั่งส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มลูกค้าประจำเสียมากกว่า แต่การนำพวกมันมากินไม่น่าจะส่งผลเสียใดๆ ต่อจำนวนประชากรชองสัตว์ชนิดนี้

ราเมนไอโซพอด

ทำความรู้จัก ไอโซพอด (isopod) คือตัวอะไรแน่ !

สำหรับ “ไอโซพอด” (isopod) หรือ “ไอโซพอดยักษ์” (Giant isopod) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “บาทีโนมัส จาเมซี” (Bathynomus jamesi) เป็นญาติห่างๆ ของปูและกุ้ง เป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเปลือกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง

โดยเจ้าไอโซพอดยังจัดว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบฟอสซิลตั้งแต่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

ทั้งนี้ ไอโซพอด มักพบอยู่ใต้ทะเลที่ระดับความลึก 170 ถึง 2,140 เมตร แต่ 80 เปอร์เซนต์อาศัยอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 365 เมตร ถึง 730 เมตร และมีขนาดร่างกายตั้งแต่เล็กจิ๋วเท่าแมลงไปจนถึงขนาด 50 เซนติอเมตร โดยมีขา 14 ขา หรือ 7 คู่

อย่างไรก็ตาม หวง หมิง ชิฮ์ (HUANG MING-CHIH) รองศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไถหนาน ได้ฝากถึงผู้บริโภคว่า การนำสัตว์ที่ไม่มีข้อมูลและไม่มีการวิจัยมาก่อนนับเป็นความเสี่ยง ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาให้ครบถ้วนก่อนว่าสัตว์ชนิดนี้มีสารพิษปนเปื้อนหรือไม่.

ขอบคุณคลิป : oceanexplorergov

รูปตัวไอโซพอด

ไอโซพอด isopod

ไอโซพอด แข่แข็ง

ตัวไอโซพอด

ขอบคุณภาพ : 拉麵公子

ที่มา : www.taiwannews.com.tw, 拉麵公子

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button