เปิดคุณสมบัติรัฐมนตรีคุมกระทรวง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ? : เลือกตั้ง 66
เปิดคุณสมบัติรัฐมนตรีคุมกระทรวง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง หลังคอการเมืองหน้าจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย 2566 ส่อเบ่งบานหนัก แกนนำ 8 พรรค ย้ำจุดยืนเล่นการเมืองรูปแบบใหม่ ไม่สนแบ่งเค้ก วางตัวเต็งหุบกระทรวงใหญ่เล่นการเมืองแบบเก่า
วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 พาไปดู “สูตรแบ่งเค้กคุมกระทรวงสำคัญ” ก่อนสมการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย 8 พรรคร่วม จะลงตัวสมบูรณ์ระหว่างรอผลนับคะแนน การยืนยันผล ส.ส.อย่างเป็นทางการจาก คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง หรือ กกต.
วันนี้อาสาไปสำรวจเกมอำนาจที่ครั้งหนึ่ง การเมืองแบบเก่า เรียกแบ่งเค้ก วิธีการแบ่งงาน แยกเป็นกระทรวงเกรดเอ เกรดบี และเกรดซี แบบเดิมหรือคล้าย ๆ กันรึเปล่า ?
ปม “จัดเกรดกระทรวง” อาจเป็นตัวแปรทำบรรดาพรรคฝ่ายประชาธิปไตย แบ่งงานลงตัวยากจริงไหม ? เปิดบทสำรวจเกมกระจายอำนาจการเมืองไทยยุคประชาธิปไตยผลิบานผ่านระบอบรัฐสภา
ตีความ การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม คืออะไร ? ก่อนดูสูตรแบ่งเค้ก
ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า “การบริหารราชการส่วนกลาง” ประกอบ ด้วยสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
อ้างอิงตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้มีกระทรวงต่าง ๆ นอกเหนือจากสำนักนายกรัฐมนตรีรวม 19 กระทรวง กระทรวงต่างๆ เหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อำนาจหน้าที่ของกระทรวง กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่โดยทั่วไปคือ การกำหนดนโยบาย และวางแผนดำเนินงานของกระทรวง รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม การดำเนินงานตามแผนและนโยบายที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ การบริหารราชการส่วนกลางเป็นการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการรวมอำนาจ (Centralization) ที่รวมอำนาจการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการจัดสรรงบประมาณ การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการในกิจการสำคัญไว้ให้เป็นภาระรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆที่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ได้จำแนกออกเป็น 4 ส่วน คือ
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวง
- ทบวง
- กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม
ข้อมูล : สถาบันพระปกเกล้า
สำหรับ การปกครองแบบจตุสดมภ์ที่ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่เริ่มอาณาจักรอยุธยาได้สิ้นสุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ.2435 ทรงยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์และตั้งกระทรวงจำนวน 12 กระทรวงในวันที่ 1 เมษายน 2435 เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
ขณะที่ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน อ้างอิงข้อมูลโดยวิกิพีเดีย ในช่วงที่ ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการยุบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เข้าด้วยกันและจัดตั้งเป็นกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- กระทรวงพลังงาน
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงแรงงาน
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข
- กระทรวงอุตสาหกรรม
ตัดภาพมาปัจจุบัน “ก้าวไกล” คุมกลาโหม “เพื่อไทย” คุมคลัง เพราะมีนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต
มีรายงานว่า ทางพรรคก้าวไกล ต้องการกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา แรงงาน และดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้
เช่น นโยบายสวัสดิการถ้วนหน้า เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 450 บาทต่อวัน ปฏิรูปกองทัพ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด
“พรรคเพื่อไทย” ต้องการกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ดูแลการคลัง พาณิชย์ พลังงาน คมนาคม และอุตสาหกรรม อาจเป็นเพียงการพูดคุยยังไม่ลงรายละเอียดในการแบ่งโควตาเก้าอี้รัฐมนตรี และจะต้องรอให้พรรคก้าวไกลสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เสียก่อน
มุมนักวิชาการ มองยังไงกับสูตรแบ่งเค้ก
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้แสดงทรรศนะของตัวเองไว้ว่า
วิธีการแบ่งงานในการคุมกระทรวงจากความคิดของพรรคก้าวไกล จะไม่พิจารณาแบ่งแยกเป็นกระทรวงเกรดเอ เกรดบี และเกรดซี แต่มองในเชิงยุทธศาสตร์ แตกต่างกับพรรคเพื่อไทย มีการจัดเกรดกระทรวง ซึ่งอาจทำให้การแบ่งงานลงตัวยาก
พรรคก้าวไกล ต้องการคุมกระทรวงด้านความมั่นคง ไม่ว่ากลาโหม ในการปฏิรูปกองทัพ ต้องการมหาดไทย ในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และในเรื่องม.112 เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคงภายใน
ขณะที่อีกส่วนเป็นนโยบายเศรษฐกิจ จะทลายทุนผูกขาดเพื่อลดค่าครองชีพ เป็นโจทย์ที่พรรคก้าวไกลต้องการ
ส่วนเพื่อไทย มีนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ก็ต้องการกระทรวงการคลัง และกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ อย่างเช่นคมนาคม จะต้องมีการต่อรอง และมุ้งสามมิตรในพรรคเพื่อไทย ต้องการกระทรวงอุตสาหกรรม และพลังงาน ทำให้มองว่ามีการทับซ้อนกันหลายกระทรวงกับพรรคเพื่อไทย
ส่วนกระทรวงอื่นๆ จะตกไปของพรรคขนาดเล็ก เช่น พรรคประชาชาติ คุมกระทรวงวัฒนธรรม และเสรีรวมไทย คุมตำรวจ
ทั้งนี้ ในส่วนของดารจัดตั้งรัฐบาล โดยการสนับสนุน พิธา นั่งเก่้ากี้นายกฯ คนที่ 30 ของประเทศ โดยนับจากหลังเลือกตั้งประมาณ 3 เดือน ระหว่างรอกกต.ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งภายใน 60 วัน จะมีการเรียกประชุมรัฐสภา ต่ออีกภายใน 15 วัน เพื่อเลือกประธานสภาฯ และเข้าสู่กระบวนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
- หากพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนส.ค.นี้
ทั้งนี้ ก่อนจะถึงวันนั้น พรรคก้าวไกล ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ร่วมกับ 7 พรรคการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล ประกอบด้วย
- พรรคเพื่อไทย
- พรรคประชาชาติ
- พรรคไทยสร้างไทย
- พรรคเสรีรวมไทย
- เพื่อไทรวมพลัง
- พรรคเป็นธรรม
- พรรคพลังสังคมใหม่
ทั้งนี้ ขั้นตอนการแบ่งเค้กในการจัดสรรให้แต่ละพรรคการเมืองฝ่ายประชธิปไตย ไปรัลผิดชอบกันตามความเหมาะสมที่ซึ่งก่อนหน้าบรรดาหัวหน้าพรรคหลายคนพูดชัดว่า ไม่สนประเด็นนี้เป็นหลักสำคัญมากนัก โดยคาดการณ์ว่า การแบ่งกระทรวงจะเสร็จสิ้นลงเป็นมที่เรียบร้อย ก่อนวันที่จะมีการเซ็นเอ็มโอยูกันในวันที่ 22 พ.ค.2566 ตามที่ นายพิธา ได้ประกาศไว้เมื่อวานนี้ (18 พ.ค.66) ในการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับอีก 7 พรรคการเมือง.