ลงชื่อยื่นถอดถอน กกต. ตามกฎหมายทำได้ไหม : เลือกตั้ง 2566
ประชาชนลงชื่อยื่นถอดถอนกกต 2566 ทำได้ไหม หลังกระแสเดือด เลือกตั้งล่วงหน้า เจ้าหน้าที่กกต. เขียนเขตบนซองผิด ทำบัตรเสีย รวมถึงไม่สามารถให้บัตรเลือกตั้งใบใหม่กับผู้มาใช้สิทธิได้ กลายเป็นว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนดังกล่าวต้องเสียสิทธิไปโดยปริยาย ซึ่งขณะนี้ประชาชนชาวไทยแห่ลงชื่อใน Change Org ล่าสุด ทะลุล้านเรียบร้อยแล้ว
ลงชื่อยื่นถอดถอน กกต. ตามหลักกฎหมาย หลังเกิดปัญหาเดือด เลือกตั้ง 2566
หากประชาชนชาวไทยผู้มีสิทธิเลือกตั้ง รู้สึกไม่พอใจการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต จะสามารถลงชื่อยื่นถอดถอนตามกฎหมายได้หรือไม่ เป็นสิทธิ์ที่พึงกระทำตามข้อกฎหมายหรือเปล่า ซึ่งในรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 ได้ระบุเอาไว้ว่า
“ภายใต้บังคับมาตรา 236 ที่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ โดยให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนข้อเท็จจริง
และหากมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประชาชนหากไม่พอใจการทำงานของ กกต. สามารถลงชื่อยื่นถอดถอน กกต. ได้ตามกฎหมาย ซึ่งขณะนี้มีการเปิดให้ประชาชนลงชื่อผ่านทางเว็บไซต์ https://www.change.org/ร่วมกันลงชื่อถอดถอน-กกต-เลือกตั้ง66
โดยขณะนี้มีประชาชนร่วมลงชื่อแล้วกว่า 1 ล้านรายชื่อ จากจำนวนที่ต้องการทั้งหมดประมาณ 1 ล้าน 5 แสนรายชื่อ ขาดอยู่เพียงราว ๆ ห้าแสนรายชื่อเท่านั้น แต่ไม่ใช่ว่าลงชื่อครบแล้วจะถอดถอนได้เลย ต้องนำรายชื่อดังกล่าวเข้ายื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย และไม่ได้การันตีว่าสัมฤทธิ์ผล ดังเห็นจากหลายกรณีที่ประชาชนเข้ายื่นชื่อแล้วถูกตีตกไปในระหว่างขั้นตอนพิจารณา
บทสรุปของเรื่องราวการยื่นถอดถอน กกต จากภาคประชาชนจะเป็นอย่างไร คงต้องจับตากันต่อไป จนกว่าวันเลือกตั้งใหญ่ วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 จะสำเร็จลุล่วงไปได้.