ข่าว

‘จันทรุปราคาเงามัว’ เตรียมชมพร้อมกันคืนนี้ 5 พ.ค. 66 หลังสี่ทุ่ม

เตรียมพบปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเงามัว คืนจันทร์เต็มดวง 5 พฤษภาคม 2566 พร้อมเผยกำหนดการ จันทรุปราคาบางส่วน ครั้งถัดไปเกิดขึ้นเมื่อไร

NARIT ชวนมองท้องฟ้าค่ำคืนนี้กับปรากฏการณ์ จันทรุปราคาเงามัว ซึ่งจะเกิดขึ้นคืนนี้ 5 พฤษภาคม 2566 เมื่อเวลา 22.14 – 02.31 น. โดยประมาณ ซึ่งตรงกับคืนพระจันทร์เต็มดวงพอดี ดังนั้นจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย คือสีของดวงจันทร์จะมีความสว่างลดลง ต้องถ่ายรูปเทียบถึงจะเห็นความแตกต่าง

Advertisements

โดยทาง NARIT ได้โพสต์ชี้แจงรายละเอียดผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ไว้ดังนี้

“🌝 จันทร์เต็มดวงคืน 5 พ.ค. นี้ เกิด “จันทรุปราคาเงามัว” 🌝

วันที่ 5 พ.ค. ถึงเช้ามืด 6 พ.ค. 66 จะเกิดปรากฏการณ์ #จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 22:14 – 02:31 น. ตรงกับคืนดวงจันทร์เต็มดวง ขณะเกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์จะสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย #สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ยาก

ดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 22:14 น. ของวันที่ 5 พฤษภาคม 2566 และเข้าสู่เงามัวมากที่สุดเวลาประมาณ 00:22 น. ของวันที่ 6 พฤษภาคม 2566

จันทรุปราคาเงามัว 5 พ.ค. 66
ภาพจาก : Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
จากนั้นจะค่อย ๆ เคลื่อนออกจากเงามัว จนสิ้นสุดปรากฏการณ์ในเวลาประมาณ 02:31 น. สังเกตความเปลี่ยนแปลงได้ค่อนข้างยาก มองด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน เนื่องจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน และไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่ปรากฏเว้าแหว่ง จะยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างในส่วนที่อยู่ในเงามัวลดลงเท่านั้น

Advertisements
จันทรุปราคาเงามัว 5 พ.ค. 66
ภาพจาก : Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

หากถ่ายภาพเปรียบเทียบความสว่างขณะเกิดปรากฏการณ์จะเห็นการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดวงจันทร์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทยครั้งต่อไป จะเกิดเป็น “จันทรุปราคาบางส่วน” ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566″

จันทรุปราคาเงามัว 5 พ.ค. 66
ภาพจาก : Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

สาเหตุที่ทำให้เกิด จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Eclipse) เกิดจากดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปบริเวณเงามัวของโลก ซึ่งเป็นเงาที่ค่อนข้างสว่างกว่าส่วนที่เป็นเงามืด ดังนั้นจึงทำให้เงามัวนั้นสังเกตได้ยาก

ดังนั้นใครที่ชื่นชอบปรากฏการณ์บนท้องฟ้า อย่าลืมกาปฏิทินกันไว้ให้ดี เพราะนอกจาก จันทรุปราคาเงามัว ที่จะเกิดในคืนนี้แล้ว ยังมีวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ซึ่งจะเกิดจันทรุปราคาบางส่วนมาให้คุณได้ชมกันอีกด้วย.

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button