เทคโนโลยีไลฟ์สไตล์

เรียนภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน ด้วย 12 เกมสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กจาก SpeakUp

เมื่อพูดการ เรียนภาษาอังกฤษเด็ก หลายคนมักจะไม่สนใจ เพราะดูเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนเนื้อหา แกรมมาร์ หรือคำศัพท์ต่างๆ ยิ่งเด็กเล็กก็ยิ่งดึงความสนใจยาก การมีกิจกรรมระหว่างเรียนหรือมีเกมสนุกๆ จึงช่วยจูงใจให้อยากเรียนมากขึ้น ยังช่วยส่งเสริมจินตนาการและกระบวนการคิดต่าง ๆ ด้วย วันนี้ Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษาอังกฤษเด็กเล็กจะพาไปทำความรู้จักกับเกมสอนภาษาอังกฤษ ที่มีด้วยกัน 12 เกม แต่ละเกมจะเล่นอย่างไร และช่วยให้การเรียนสนุกและน่าสนใจขึ้นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

1. เกมถูกหรือผิด (True or False)

เกมถูกหรือผิด เป็นเกมที่ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น มักใช้สำหรับการทบทวนบทเรียนหรือคำศัพท์ที่เรียนไปก่อนหน้า เพราะมีส่วนช่วยในเรื่องของการจดจำและการตัดสินใจ อุปกรณ์ที่ใช้จะมี Flashcard และอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องเรียน

Advertisements

วิธีเล่น

  • สามารถเริ่มง่ายๆ จากการแบ่งพื้นที่ห้องเรียนออกเป็น 2 ฝ่าย เพื่อให้เด็กๆ ได้ลุกขึ้นขยับตัว ไม่นั่งติดอยู่กับที่
  • ให้ทั้งห้องตั้งแถวอยู่กึ่งกลางห้อง
  • คุณครูนำ Flashcard หรืออุปกรณ์ตามที่สะดวกออกมา 1 อย่าง และเริ่มต้นด้วยคำถาม เช่น “ Is this/that/it a/an ____ ” หรือ “Are these/those/they ___” สลับไปมา
  • ให้เด็กมีโอกาสเลือกฝั่งเมื่อสิ่งที่คุณครูพูด ผิด หรือ ถูก
  • จากนั้นอาจให้แต่ละคนลองพูดตอบคำถาม เช่น “Yes, it is!” หรือ “No, they aren’t!” หรือให้ตอบในสิ่งที่ถูกต้องแทน ในกรณีที่ภาพไม่ตรงกับคำศัพท์ เช่น “They are glasses.”

2. เกมฉันคืออะไร (What Am I)

เป็นเกมที่ต้องใช้วิธีจับคู่เล่นเพื่อสลับกันถาม-ตอบ แต่ในเด็กเล็กสามารถรวมกลุ่มเล่นได้ เกมนี้จะช่วยให้เด็กๆ ได้ฝึกตั้งคำถามและค้นหาคำตอบ เหมาะสำหรับทบทวนกลุ่มคำ Adjective ไปตลอดจนคำศัพท์ต่างๆ

วิธีเล่น

  • สุ่มแจกกระดาษคำศัพท์ หรือ Flashcard ให้เด็กๆ แต่ละคน โดยคนที่ได้รับจะต้องไม่เห็นว่าตัวเองได้คำว่าอะไร
  • เริ่มจับเวลาถอยหลัง และให้เด็กๆ สลับกันตั้งคำถาม – ตอบ โดยอาจใช้ชุดคำถาม เช่น Am I tall ?
  • What do I use for my job ?
  • How many eyes do I have ?
  • ในเด็กเล็กๆ อาจใช้การแสดงท่าทางประกอบคำใบ้ได้ เช่น Small ก็สามารถทำท่าทางประกอบคำนั้น แต่ไม่ควรเป็นท่าทางที่สื่อถึงคำตอบโดยตรง
  • เมื่อหมดเวลา ใครที่เป็นคนโดนถามก็จะต้องตอบว่าตัวเองคืออะไร แล้วจึงเปลี่ยนผู้เล่น

3. เกมทอยลูกเต๋าเริ่มบทสนทนา (Conversation Starter Dice)

สำหรับเกมนี้จะไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น สามารถเล่นรวมกันได้ทั้งห้อง โดยเกมนี้จะช่วยฝึกทักษะการพูดภาษาอังกฤษแบบไม่จำกัดหัวข้อ เพราะสามารถปรับเปลี่ยนชุดคำถามได้ตามเนื้อหาที่ต้องการ ผู้เรียนจะได้ทักษะการพูด สนทนา และคิดวิเคราะห์อย่างอิสระและสร้างสรรค์

วิธีเล่น

Advertisements
  • ระบุคนที่ต้องตอบคำถามก่อน
  • ให้คนที่ต้องตอบคำถามทอยลูกเต๋าเพื่อดูว่าจะได้คำถามอะไร แล้วจึงตอบคำถาม
  • โดยคุณครูหรือผู้ปกครองสามารถกำหนดกติกาการตอบคำถามได้ เช่น ควรตอบในรูปแบบเต็มประโยค เป็นต้น

4. เกมเขียนกระดาน (Board Race)

เกมนี้เหมาะสำหรับผู้เล่นตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป และมีอายุตั้งแต่ 6-7 ขวบเป็นต้นไป ช่วยฝึกการจดจำและสะกดคำที่ถูกต้องแล้ว อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีมและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วย

วิธีเล่น

  • แบ่งนักเรียนในห้องออกเป็น 2 ฝ่าย หรือหากมีนักเรียนเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกเป็น 3-4 กลุ่มก็ได้เช่นกัน
  • เขียนเส้นแบ่งกระดาน และสร้างหัวข้อที่ต้องการจะนำมาเป็นหลักในการแข่งขัน เช่น Body Parts
  • ให้แต่ละทีมเริ่มออกมาเขียนคำตอบ ทีมละ 1 คน ตามหัวข้อที่ได้รับ เช่น หัวข้อ Body Parts คำตอบอาจได้แก่ Arms, Eyes และ Head เป็นต้น
  • เมื่อคนแรกของทีมเขียนคำตอบเสร็จแล้ว ให้ส่งปากกาต่อให้คนต่อๆ ไปในทีมได้เลย
  • ทีมไหนเขียนครบก่อน และถูกต้องทั้งหมดจะเป็นฝ่ายชนะ (หากคำไหนสะกดผิด หรือเขียนจนอ่านไม่ออก จะไม่นับคะแนนก็ได้เช่นกัน!)

5. เกมแฮงแมน (Hangman)

เกมนี้เป็นเกมทายคำศัพท์ที่เหมาะสำหรับช่วยเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกวิเคราะห์ จดจำ และคาดเดาคำศัพท์ผ่านการสะกดคำร่วมกันเป็นทีม อุปกรณ์ที่จำเป็นจะมีแค่กระดานและปากกา

วิธีเล่น

  • ให้คุณครูเขียนเส้นกำหนดจำนวนตัวอักษรของคำแต่ละคำก่อน
  • หลังจากนั้นให้เด็กๆ ในห้องสลับกันสะกดคำทีละคน โดยอาจเริ่มจากคนที่ยกมือได้ไวที่สุดในรอบนั้น หรือเรียงตามลำดับซ้ายไปขวา หรือตามที่เด็กๆ ตกลงกันเองก็ได้เช่นกัน
  • เนื่องจากเล่นเกมรวมกัน เด็กๆ สามารถปรึกษากันได้ว่า คำศัพท์น่าจะเป็นคำว่าอะไร หรือควรเสนอตัวอักษรใด
  • หากตอบผิด คุณครูจะเป็นคนวาดรูปเติมที่ละจุดให้เป็น Hangman
  • เกมจบเมื่อนักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ได้ถูกต้องครบถ้วนก็จะเป็นฝ่ายชนะ แต่หากคุณครูวาดรูปครบก่อนก็ เด็กๆ จะเป็นฝ่ายแพ้

6. เกมจับผิดภาพ (What is Wrong with This Picture?)

เป็นอีกหนึ่งเกมที่ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น เด็กๆ จะได้ฝึกการสังเกตและทำความคุ้นเคยกับสิ่งรอบข้างมากขึ้น สามารถวิเคราะห์แยกแยะสิ่งรอบตัวได้ อุปกรณ์ที่ใช้จะมีภาพที่นำมาใช้สำหรับเล่นเกม ยิ่งถ้าภาพซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เกมก็จะยิ่งสนุกขึ้น

วิธีเล่น

  • นำภาพมาแสดงให้นักเรียนในห้องดูร่วมกัน หรืออาจแบ่งภาพออกเป็นกลุ่มย่อย แล้วกระจายให้ในทีมร่วมกันแสดงความคิดเห็น
  • สลับให้นักเรียนแต่ละคนได้มีส่วนร่วมแสดงความเห็น หรืออธิบายจุดแตกต่าง หรือจุดที่แปลกประหลาดของภาพนั้นๆ
  • ระหว่างเล่นเกม คุณครูอาจมีคำถามอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

7. เกมฉันอยากได้… (Bring Me…)

เป็นเกมที่ใช้สำหรับฝึกคำศัพท์ผ่านรูปประโยคง่ายๆ ไปจนถึงระดับซับซ้อน ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ที่หลากหลาย พร้อมกับทักษะในการตัดสินใจ เพราะต้องลงมือเลือกหยิบสิ่งของตามโจทย์ที่กำหนดไว้นั่นเอง

วิธีเล่น

  • คุณครูเริ่มต้นออกคำสั่งโดยตั้งต้นประโยคว่า “Bring me… ” เพื่อบอกว่านักเรียนจะต้องไปหยิบอะไรมา ซึ่งสามารถออกคำสั่งตั้งแต่ง่าย ไปจนถึงยาก ได้ เช่น
  • คำสั่งแบบตรงตัว ได้แก่ Bring me a pencil / an apple.
  • คำสั่งแบบกว้างๆ ได้แก่ Bring me something to eat. หรือ Bring me something black. เป็นต้น
  • คำสั่งที่ให้เด็กๆ คิดต่อ แต่มีความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ Bring me the thing you use for brushing your teeth. ฯลฯ
  • หลังจากนั้นให้เด็ก ๆ เดินไปหยิบสิ่งของนั้น ๆ เมื่อหยิบมาถูกต้อง คุณครูอาจให้เด็กๆ บอกเป็นรูปประโยคด้วยก็ได้ว่าสิ่งที่หยิบมานั้นคืออะไร

8. เกมตอบให้ทัน (Against Time)

เกมนี้เป็นเกมที่ฝึกให้เด็กๆ ได้ท่องจำคำศัพท์ประกอบกับการฝึกความไวในการคิดและพลิกแพลงคำตอบ เหมาะสำหรับฝึกคำศัพท์ท้ายบทเรียน อุปกรณ์ที่ใช้สามารถหาได้ในห้องเรียน แต่อาจมีนาฬิกาทรายอันเล็กไว้สำหรับช่วยจับเวลา

วิธีเล่น

  • ให้คุณครูกำหนดหัวข้อของคำศัพท์ที่อยากให้เด็ก ๆ ทบทวน เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับคำกริยาง่ายๆ อย่าง Climb, Drive, Eat หรืออาจเป็นคำหมวดอื่นก็ได้เช่นกัน
  • ให้เด็กๆ เร่งตอบคำถามภายในเวลาที่กำหนด หากพูดไม่ทัน หรือพูดผิดก็จะนับออกจากเกม หรือสามารถให้ทำอย่างอื่นเพื่อชดเชยได้ เช่น ช่วยกันท่องคำศัพท์ที่เรียนไปใหม่ ก่อนที่จะกลับเข้ามาเล่นเกมใหม่
  • คุณครูอาจเพิ่มชุดคำศัพท์อื่น ๆ ให้เด็ก ๆ สลับกันตอบไปเรื่อย ๆ ได้

9. เกมตามล่าหาสมบัติ (Treasure Hunt)

เป็นอีกหนึ่งเกมที่ผู้เรียนจะได้ฝึกการสนทนาและตั้งคำถาม เหมาะสำหรับใช้กับบทเรียนเรื่อง Preposition ที่ใช้ในการระบุตำแหน่ง อุปกรณ์ที่ใช้สามารถหาได้ภายในห้องเรียน แต่ควรจะมีพื้นที่สำหรับเล่นเกมด้วย

วิธีเล่น

  • คุณครูนำสมบัติ หรือก็คือสิ่งของที่เตรียมไว้ครั้งละ 1 – 3 ชิ้น ไปซ่อนตามที่ต่างๆ
  • ให้เด็กๆ เป็นผู้ทายว่าคุณครูนำไปซ่อนไว้ที่ไหน โดยให้ตั้งคำถามเป็นประโยค เช่น
  • Is it behind the curtain?
  • Are they under the palm tree?
  • ใครที่ตอบถูก คุณครูอาจให้รางวัลโดยการแต่งตั้งให้เป็นคนเอาสมบัติไปซ่อนเองได้ ภายในระยะเวลา หรือขอบเขตที่กำหนด

10. เกมแข่งกันร้องเพลง (Sing It Out Loud!)

เกมนี้ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น เด็กสามารถเล่นได้ทุกช่วงวัย ทักษะที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรมนี้คือ ความกล้าแสดงออก และทักษะด้านการร้องและเต้นเข้าจังหวะ อุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีเครื่องเล่นเพลง โดยอาจแบ่งระดับความยากง่ายของเพลงผ่านความซับซ้อนของภาษาที่ใช้ในแต่ละเพลงได้

วิธีเล่น

  • คุณครูเปิดเพลงให้เด็กๆ ฟังก่อน 1 รอบ
  • เริ่มสอนให้เด็ก ๆ ร้องเพลงตาม และอาจมีท่าทางประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจและความจำ
  • แบ่งทีมออกเป็น 2 ทีม หรือมากกว่านั้นเพื่อให้ออกมาร้องเพลงหน้าห้องเรียน

11. เล่นบอร์ดเกมยักษ์ (Big Board Game)

เกมนี้จะช่วยฝึกความอดทนแบบอ้อมๆ ให้กับเด็กๆ ในขณะที่สามารถกระตุ้นความอยากเรียนรู้ได้ในคราวเดียวกัน อุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยคือ การ์ดคำศัพท์หรือคำถามแผ่นใหญ่ ที่จะต้องนำมาเรียงไว้ที่พื้น และลูกเต๋ายักษ์เพื่อใช้สำหรับกำหนดจำนวนก้าวที่ต้องเดิน

วิธีเล่น

  • ให้นักเรียนผลัดกันทอยลูกเต๋ายักษ์ที่เตรียมไว้ แล้วเดินตามจำนวนแต้มที่ได้
  • เมื่อเดินถึงกระดาษคำถามหรือคำศัพท์แผ่นไหน ให้อ่านและตอบคำถามนั้นๆ
  • สลับกันทอยลูกเต๋าไปเรื่อยๆ จนถึงจุดสิ้นสุดของแผ่นคำถาม

12. เกมกระโดดร่ม! (Parachute!)

เป็นอีกหนึ่ง Active Learning Method ที่ทาง Speak Up Language ใช้ประกอบการสอนและทบทวนบทเรียนและคำศัพท์ ช่วยให้เด็กรู้สึกกดดันน้อยลงเมื่อถูกเรียกให้อ่าน หรือตอบคำถาม โดยอุปกรณ์ที่ใช้ก็จะมีลูกบอลลูกเล็กที่แปะคำถามหรือใส่คำศัพท์ไว้ประมาณ 5-10 ลูก และผ้า 1 ผืนที่นำมาใช้เป็น Parachute

วิธีเล่น

  • ให้เด็กๆ ยืนรวมกันเป็นวงกลม โดยที่แต่ละคนจับมุมผ้าเอาไว้
  • คุณครูใส่ลูกบอลลงไปบนผ้าร่มที่ถือ แล้วให้เด็กๆ เริ่มช่วยกันสะบัดผ้าเพื่อให้ลูกบอลหล่นลงมาทีละลูก
  • เมื่อลูกบอลล่วงลงมา หากเป็นคำศัพท์ก็ให้เด็กๆ อ่านพร้อมกัน หรือหากเป็นคำถาม อาจให้ตอบพร้อมกันหรือให้ตอบทีละคนก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของคำถามนั้นๆ

การเรียนการสอนผ่านการเล่นเกมภาษาอังกฤษ มีประโยชน์และมีช่วยส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กๆ อย่างมาก ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดกำลังมองหาห้องเรียนภาษาอังกฤษที่ทั้งสนุกและได้ทักษะความรู้ให้กับลูกๆ ทาง Speak Up Language Center สถาบันสอนภาษา และเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก 2.5 – 12 ปี ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองรุ่นใหม่จำนวนมาก ก็มีหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษเด็กเล็กมากมายตามแต่ละกลุ่มช่วงอายุ พร้อมส่งเสริมให้เด็กๆ ได้สนุกกับการเรียนภาษาผ่านการทำกิจกรรมและเสริมสร้างการเรียนรู้ของเด็กที่แท้จริง

ให้ลูกเรียนสนุกกับ Speak Up Language Center ติดต่อได้ที่

  • FB: Speak Up Language Center
  • Line: @speak_up

Thaiger deals

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button