วันฉัตรมงคล 2567 เอกชน ราชการ-ธนาคาร ใครได้หยุดบ้าง
ไขข้องใจ 4 พฤษภาคม 2567 วันฉัตรมงคลใครได้หยุดบ้าง หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน และธนาคารไทย เช็กให้ชัวร์ก่อนวางแผนหยุดยาวสามวัน
เนื่องในวันฉัตรมงคลปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2567 ฉลองก้าวเข้าสู่กลางปี ร่วมพระราชพิธีฉลองพระเศวตฉัตร อันใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษกของราชวงศ์จักรี อ้างอิงตามประกาศจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องวันหยุดประจำปี ระบุว่า “วันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคลปีนี้จะตรงกับวันจันทร์ที่ 6 พ.ค. 67”
ดังนั้น วันฉัตรมงคล จึงถือเป็นวันหยุดข้าราชการ บริษัทเอกชน และธนาคารทั่วประเทศไทยนั่นเอง
ทั้งนี้ การเลือกวันหยุดชดเชย จะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ยึดหลักว่าถ้าวันหยุดราชการประจำปีใด ตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ห้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้น ไปหยุดในวันงานถัดไป และให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน 1 วัน
กรณีที่องค์กรเอกชนหรือธนาคารเอกชนที่ต้องเปิดทำการทุกวัน กระทรวงแรงงานได้กำหนดให้ลูกจ้างได้หยุดงานในวันชดเชย และนายจ้างจะต้องให้ค่าจ้างเท่ากับในวันทำงาน แต่ถ้านายจ้างจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างมาทำงาน จะสามารถปฏิบัติได้เป็น 3 แบบ
1. หากนายจ้างตกลงจะจ่ายเงินทำงานในวันหยุด
นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชาติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามชั่วโมงที่ ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุด
2. กรณีพนักงานมาทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุด
พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ โดยอัตราการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 พนักงานรายเดือน
- ได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า
2.2 พนักงานรายวัน
- ได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า
3. การทำงาน โอที ล่วงเวลาในวันหยุด
นักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติในวันหยุด เช่น เวลาทำงานปกติคือ 09.00 – 18.00 น. แต่พนักงานจำเป็นต้องทำงานจนถึงเวลา 22.00 น. นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงาน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง