ไลฟ์สไตล์

รู้จักยา Propofol ที่ ‘ยูอาอิน’ ใช้ ต้นเหตุทำให้ ‘ไมเคิล แจ็กสัน’ เสียชีวิต

ชวนรู้จัก ‘Propofol’ สารเสพติดที่ ‘ยูอาอิน’ นักแสดงชาวเกาหลีใต้ใช้ เปิดตำรายาทางการแพทย์ ที่ช่วยระงับความรู้สึกของผู้ป่วย ที่หลายคนนำมาใช้แบบผิดวิธี

หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ ‘Propofol’ (โปรโพฟอล) ยาชนิดหนึ่งที่ถูกใช้ในด้านการแพทย์ ที่กลับมาเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลายในปี 2023 จากเหตุที่ตำรวจเกาหลีใต้สอบสวน ‘ยูอาอิน’ (Yoo Ah In) นักแสดงชื่อดัง ที่ได้ใช้ยาชนิดนี้แบบผิดกฎหมาย วันนี้เราเลยจะพาทุกท่าน ไปย้อนดูด้วยกันว่า ยา ‘Propofol’ คืออะไร ทำไมถึงทำให้คนดังในอดีตอย่าง ‘ไมเคิล แจ็กสัน’ (Michael Jackson) ถึงขั้นเสียชีวิตได้

Advertisements

Propofol ยาระงับความรู้สึก ที่ถูกใช้แบบผิดวิธี

Propofol หรือโปรโพฟอล เป็นยาชาทางหลอดเลือดดำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมักใช้สำหรับระงับประสาทในระหว่างขั้นตอนทางการแพทย์และการผ่าตัด โดยได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในทศวรรษที่ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในยาชาที่ใช้กันมากที่สุดในโลก ก่อนที่ในปัจจุบัน จะกลายเป็นสารเสพติดสำหรับคนบางกลุ่มที่ใช้อย่างผิดวิธี

Propofol คืออะไร

คุณสมบัติของโปรโพฟอล (Propofol)

Propofol เป็นสารละลายที่มีสีขาวขุ่น ถูกใช้โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำ มีลักษณะคล้ายน้ำนม เนื่องจากมีน้ำมันถั่วเหลือง กลีเซอรอล และเลซิตินจากไข่ เป็นส่วนผสม โดยค่า pH ของโพรโพฟอลอยู่ระหว่าง 7.0 ถึง 8.5 และบรรจุในขวดที่มีความเข้มข้นต่าง ๆ ตั้งแต่ 1% ถึง 2%

สรรพคุณของ Propofol โดดเด่นในเรื่องการนำมาใช้เป็นยาชาทางหลอดเลือดดำ ที่ออกฤทธิ์สั้นซึ่งก่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ และระงับความรู้สึกชั่วคราว โปรโพฟอลจะเริ่มออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว โดยมีผลสูงสุดภายใน 1-2 นาทีหลังจากฉีดเข้าร่างกาย มีระยะเวลาออกฤทธิ์ค่อนข้างสั้น เพียง 5 ถึง 10 นาทีเท่านั้น ก่อนจะถูกเผาผลาญในตับและขับออกทางปัสสาวะในเวลาต่อมา

Advertisements

Propofol คืออะไร

การใช้ยา Propofol

Propofol ใช้สำหรับระงับความรู้สึกในระหว่างกระบวนการทางการแพทย์และการผ่าตัด โดยทั่วไปจะใช้สำหรับหัตถการสั้น ๆ เช่น การส่องกล้อง การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ และการส่องกล้องหลอดลม

นอกจากนี้ Propofol ยังใช้เพื่อระงับประสาทในผู้ป่วยวิกฤต เนื่องจากยานี้เริ่มมีอาการและออกฤทธิ์เร็ว ซึ่งสามารถปรับขนาดยาให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้ ทั้งยังถูกใช้ในด้านการบำรุงรักษาและการดมยาสลบอีกด้วย มักใช้ร่วมกับยาชาอื่น ๆ เช่น ยากลุ่มฝิ่น ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาชาชนิดสูด เนื่องจากเริ่มมีอาการอย่างรวดเร็วและมีผลข้างเคียงน้อย

สำหรับผลข้างเคียงของ Propofol ว่ากันว่ามีความปลอดภัยหากใช้อย่างเหมาะสม แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย อาทิ อาการง่วงนอน เวียนศีรษะ และสับสน ทั้งนี้ในบางรายอาจทำให้เกิดการกดการหายใจ ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนและภาวะหยุดหายใจ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

อีกทั้ง Propofol ยังสามารถทำให้เกิดความดันเลือดต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับยาอย่างรวดเร็วหรือในปริมาณมาก ตลอดจนมีอาการหัวใจเต้นช้าและเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยบางราย ร่วมด้วยกับอาหารปวดและแสบร้อนบริเวณที่ฉีด และอาจมีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ หากใช้นานหรือมากจนเกินพอดี

Propofol คืออะไร

ไมเคิล แจ็กสัน เสียชีวิตเพราะ Propofol

ปัจจุบันยา Propofol ได้กลายมาเป็นที่พูดถึง หลังดาราดังของเกาหลีใต้ ‘ยูอาอิน’ ถูกตรวจสอบว่าใช้เกินขนาดและผิดกฎหมายมากกว่า 73 ครั้งในปี 2021 ทำให้หลายคนเริ่มพูดถึงข่าวการเสียชีวิตของศิลปินระดับโลก ไมเคิล แจ็กสัน ที่ได้เสียชีวิตลงเพราะยาชนิดเดียวกัน

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2009 ไมเคิล แจ็คสัน ได้ถูกพบหมดสติในบ้านของเขา และต่อมาได้รับการประกาศว่าเสียชีวิต โดยจากการชันสูตรพลิกศพพบว่าสาเหตุการตาย เกิดจากพิษเฉียบพลันของโปรโพฟอลและเบนโซไดอะซีพีน

จากนั้นได้มีการสอบสวนจนพบว่า แพทย์ประจำตัวของแจ็กสัน ดร. คอนราด เมอร์เรย์ ได้ให้ยา propofol แก่แจ็กสันเพื่อช่วยในการนอนหลับ โดยเจ้าหน้าที่ได้ระบุว่าแพทย์คนดังกล่าว อนุญาตให้นักร้องดังใช้ยาโดยไม่มีการป้องกันและความปลอดภัยที่เพียงพอเมื่อเขาอยู่ใต้อิทธิพลของสาร Propofol

จากการเสียชีวิตของไมเคิล แจ็กสัน ทำให้แพทย์ประจำตัวของเขา ถูกตั้งข้อหาฆาตกรรมโดยไม่เจตนาในเวลาต่อมา และถูกตัดสินว่ามีความผิดในปี 2554 จากข่าวนี้เอง ทำให้ผู้คนจำนวนมากเริ่มตระหนักถึงการใช้ยา Propofol ที่ไม่ถูกต้อง และให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้น.

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button