ครั้งแรกในประเทศไทย ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาซีลาแคนธ์ ฉายาปลาไดโนเสาร์ที่มีชีวิต อายุประมาณ ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อายุกว่า 393-382 ล้านปี ข้อจำกัดของกระดูกที่พบชิ้นเดียวทำระบุรายละเอียดไม่ได้มากกว่านี้
เป็นอีกหนึ่งข่าวที่ปักหมุดพัฒนาการด้านข้อมูลความากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมวดหินภูกระดึงของไทย รวถึงการกระจายของสปีชีส์และระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวไม่น้อย
สำหรับรายงานเปิดเผย การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของ “ปลาซีลาแคนธ์” ปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน โดยการค้นพบรั้งนี้เป็นการทำงาร่วมกันของนักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ โดยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่จากเนื้อหาในรายะละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบได้ระบุไว้ว่า ข่าวด่วน! การค้นซากดึกดำบรรพ์ปลาซีลาแคนธ์ครั้งแรกในประเทศไทย
ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) เป็นกลุ่มปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน ปลากลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ
ล่าสุด มีรายงานการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น เป็นกระดูกด้านหลังขากรรไกรล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160 นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ สามารถระบุได้ว่าซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดียวจึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของซีลาแคนธ์ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่าปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว
ซีลาแคนธ์ของไทยตัวนี้เคยแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำโบราณร่วมกับฉลามน้ำจืดกลุ่มไฮโบดอนต์ (Hybodonts) ปลาน้ำจืดไทยอิกธิส (Thaiichthys buddhabutrensis) เต่ายักษ์บาซิโลคีลิส (Basilochelys macrobios) พญาจระเข้ชาละวัน (Chalawan thailandicus)
นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเมเทรียแคนโธซอริดอีกด้วย การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้นครับ
หมวดหินภูกระดึง คืออะไร ?
สำหรับใครที่เพิ่งอ่านข่าวการค้นพบซากปลาซีลาแคนธ์ จะต้องมีหลายคนไม่น้อยที่สงสัยกับศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหมวดหมู่ของเจ้าปลาอายุกว่าสามร้อยล้านปีนี้อยู่ในชื่อเดียวกับหัวข้อคำถาม ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยดังกล่าวให้กันแบบฟรีๆ
โดยอ้างอิงข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ @Fossil World ระบุ หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Formation) เป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินโคราช (Khorat Group) มีชั้นหินต้นแบบ (Type Section) อยู่ที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ตามเส้นทางเดินเท้าขึ้นภูกระดึงจากเชิงเขาถึงซำแฮก พบกระจายตัวตามขอบแอ่งโคราช และตามแนวเทือกเขาภูพาน
เป็นหมวดหินซึ่งประกอบไปด้วยหินตะกอน จำพวกหินทรายแป้งและหินทรายสีม่วงแดงเป็นหลัก มีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบทางน้ำโค้งตวัด (Meandering river) มีที่ราบน้ำท่วมถึง และหนองบึงกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิอากาศที่ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้ง
สามารถพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์ เช่น ไดโนเสาร์ เต่า ปลา จระเข้ หอยน้ำจืด ส่วนใหญ่บ่งบอกว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย แต่หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา (ละอองเรณูของพืช) บ่งบอกว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น
ดังนั้น หมวดหินนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น
.
รายชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบในหมวดหินภูกระดึง
- Chalawan thailandicus (ชื่อเดิม Sunosuchus thailandicus) (จระเข้)
- Phu Noi Sinraptorid (ไดโนเสาร์)
- Kham Phok Sinraptorid (ไดโนเสาร์)
- Hipsilophodontid (ไดโนเสาร์)
- Mamenchisaurid (ไดโนเสาร์)
- Rhamphorhynchid (เทอโรซอร์)
- Stegosaurid (Siamodracon altispinus : ชื่อไม่เป็นทางการ) (ไดโนเสาร์)
- (Small Ornithopod can be defined as a new species (heterodontosaurids, hypsilophodontids, dryosaurids, etc.) (ไดโนเสาร์)
- Cf. Theriosuchus sp. (จระเข้)
- Indosinosuchus potamosiamensis (จระเข้)
- Jiaodontus sp. (ปลากระดูกอ่อน)
- Heteroptychodus cf. H. kokutensis (ปลากระดูกอ่อน)
- Lonchidion sp. (ปลากระดูกอ่อน)
- Basilochelys macrobios (เต่า)
- Hybodus sp. (ปลากระดูกอ่อน)
- Acrodus kalasinensis (ปลากระดูกอ่อน)
- Cf. Ptycholepis sp. (ปลากระดูกแข็ง)
- Phunoichelys thirakhupti (เต่า)
- Kalasinemys prasarttongosothi (เต่า)
- Khoratichthys gibbus (ปลากระดูกแข็ง)
- Thaiichthys buddhabutrensis (ปลากระดูกแข็ง)
- Temnospondyl (สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ)
- Ferganoceratodus martini (ปลากระดูกแข็ง)
- Isanichthys lertboosi (ปลากระดูกแข็ง)
- Isanichthys palutris (ปลากระดูกแข็ง)