ทำความรู้จัก “ประวัติศาสตร์กัญชาไทย” ย้อนเวลาหลายทศวรรษ จากที่เป็นยาเสพติดทำเงินมหาศาล สู่ข้อกำหนดกฏหมายที่เข้มงวดในการใช้พืช “กัญชา” ในทางการแพทย์ พร้อมกับตอบคำถาม ประเทศไทยสามารถจำหน่ายกัญชาได้หรือไม่?
เปิดประวัติศาสตร์ การเดินทางของ “กัญชา” ในประเทศไทย หลังจากเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียและเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ตามหลังแคนนาดา และอุรุกวัย ที่กัญชาถูกกฏหมายทั่วประเทศ หลังจากที่รัฐบาลไทยมีการผลักดันให้กัญชากลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่แต่ยังยืนกรานว่า “การใช้กัญชา” เพื่อสันทนาการยังคงผิดกฏหมาย เป้าหมายที่แท้จริงคือให้ประเทศไทยแซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่สำหรับใช้ประโยชน์ในการแพทย์โดยการใช้สารสะกัดจากกัญชาโดยเฉพาะสารประกอบที่มีค่า CBD ที่อ่อนกว่า
อย่างไรก็ตามยังมีอีกหนึ่งแรงจูงใจเพื่อแก้ปัญหานักโทษล้นเรือนจำจากเรือนจำที่มีปริมาณนักโทษที่มากเกินไป แม้แต่ในอดีตสังคมไทยก็ไม่มีการเรื่องกัญชากันอย่างเปิดเผย แต่ในปัจจุบันกัญชาได้รับการยอมรับมากขึ้นในสังคมไทย
แต่รู้หรือไม่ ? เป็นเวลาหลายศตวรรษที่กัญชาถูกกฎหมายอย่างสมบูรณ์ในประเทศไทย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 20 กระแสของกัญชาเริ่มมีชื่อเสียงด้านลบ ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของกัญชาในประเทศไทยดียิ่งขึ้น เรามาดูประวัติของกัญชาในประเทศไทยกันดีกว่า
ชวนอ่าน ประวัติศาสตร์กัญชาไทย
บันทึกประวัติศาสตร์การบริโภคกัญชาครั้งแรก ย้อนกลับไปในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในสมัยอาณาจักรอยุธยา ในสมัยก่อนกัญชานั้นถูกกฏหมายและถูกใช้ทั้งทางการแพทย์และเพื่อสันทนาการ
มีบันทึกว่า ในอดีตมียาแผนโบราณอย่างน้อย 91 สูตรที่มีส่วนผสมของกัญชา ในสมัยรัชกาลที่ 5 กัญชานั้นถูกใช้แม้กระทั่งในอาหาร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสุดคือในก๋วยเตี๋ยวเรือ แต่ทุกอย่างเปลี่ยนไปในปี 1934 หลังมีการออกพระราชบัญญัติกัญชาห้ามการครอบครอง การขาย และการบริโภค จากนั้นในช่วงยุค 60s สหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาท ขับเคลื่อนประเทศไทย และกัญชาให้ออกสู่สายตาชาวโลก
นโยบายยาเสพติดสมัยใหม่ของไทยสามารถโยงโดยตรงไปถึงสงครามเวียดนาม ระหว่างปี 1955 – 1975 เป็นช่วงที่สหรัฐฯ มีการตั้งฐานทัพในไทย ทหารอเมริกันในเวียดนามรู้จักกับฝิ่นและกัญชาเป็นครั้งแรก
รายงานระบุว่า ทหารอเมริกันเริ่มสูบกัญชาหลังจากมาถึงไม่นาน แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการใช้กัญชาของทหารอเมริกัน ในประเทศไทย แต่มีหลักฐานว่าผู้ประกอบการไทยตอบสนองความต้องการของเหล่าทหารในเวียดนามที่ต้องการลิ้มลองรสชาติของสมุนไพร ในช่วงทศวรรษที่ 1960 อุตสาหกรรมกัญชาเติบโตอย่างมากและกัญชาราคาถูกก็หาซื้อได้ง่ายพอๆ กับเบียร์
ความจริงแล้ว คำว่า “Bong” ที่เป็นคำคุ้นหูของเหล่านักเสพในปัจจุบันเชื่อว่ามาจากคำในภาษาไทยว่า “บ้อง” ซึ่งใช้อธิบายท่อไม้ หลอดหรือภาชนะที่ทำจากลำต้นไม้ไผ่ ภายใต้พระราชบัญญัติกัญชา พ.ศ. 2477 การครอบครองมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
แต่ถึงอย่างนั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันวิจารณ์ว่าบทลงโทษดังกล่าวยังดูอ่อนแอเกินไปดังนั้นจึงมีการปรับบทลงโทษให้เข้มงวดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 70 โดยมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับยาเสพติด
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในผู้นำในการส่งออกกัญชาซึ่งสร้างความลำบากใจให้กับสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก รัฐบาลซึ่งในที่สุดโน้มน้าวให้ไทยร่วมเป็นพันธมิตรในการทำสงครามกับกัญชา แม้ว่าสิ่งนี้จะยุติการค้ายาเสพติดระหว่างทั้งสองประเทศผู้ใช้ยาเสพติดชาวไทยกลับหันมาใช้ยาบ้าแทน ซึ่งปัจจุบัน เป็นสารเสพติดที่มีการจับกุมมากที่สุดในประเทศกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
กลับมาที่สถานการณ์กัญชาในประเทศไทยปัจจุบัน หัวข้อเรื่องกัญชาเป็นที่สนใจในประเทศไทยมาหลายปีแล้ว ในปี 2018 ประเทศไทยได้อนุมัติการใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจวางแผนเดินทางมาประเทศไทย ไทยจะเป็นดินแดนกัญชามหัศจรรย์เหมือนอัมสเตอร์ดัมหรือเปล่า อาจจะไม่
แล้วกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับกัญชาของไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร ? เราได้พูดคุยกับผู้ที่อยู่อุตสาหกรรมกัญชาสอบถามความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
บทสัมภาษณ์ : กฏหมายการเปิดร้านจำหน่ายกัญชาในไทย
อย่างที่ทราบกัน 6 มิถุนายน พ.ศ.2565 ทุกอย่างเกี่ยวกับพืชสมุนไพรอย่างกัญชาได้ถูกปลดล็อก แต่ เบนจามิน บาสกินส์ (Benjamin Baskins) ผู้บริหารของโอจี คานนา คอมปานี รีเทล (OG Canna Co. Retail) กล่าวว่า มันไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีรายละะเอียดบางอย่างเกี่ยวกับกฏหมายปลดล็อกที่ยังคลุมเคลือ
ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงตลอด คือ ต้องแน่ใจว่าทำตามกฏทุกอย่าง ต้องแน่ใจทุกผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายถูกกฏหมาย 100% หลายอย่างที่ซีอีโอรายนี้ระบุว่าค่อนข้างจะใช้เวลา ยกตัวอย่างเช่น การต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยประจำการ
นอกจากนี้ยังมีในส่วนการพัฒนาแบรนด์ เพราะเรารู้ว่า 2 ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ 1.คุณภาพสินค้า 2.กลุ่มอายุของผู้บริโภคและความเชื่อมโยงของแบรนด์ต่อผู้บริโภค เพราะฉะนั้นถ้าถามการจะเปิดร้านจำหน่ายกัญชาที่นี่ยากไหม ส่วนหนึ่งก็ต้องตอบว่ายาก แต่ถ้าทำให้ง่ายได้ไหมก็สามารถทำได้เพราะเราผ่านมาทุกขั้นตอนแล้ว
เบนจามิน เล่าต่อว่า สมมติเช่าล็อกเล็กๆ หัวมุมถนนสักที่ นำสินค้าขึ้นตั้งบนเค้าเตอร์แล้วก็ขายได้เลยนั่นที่คนส่วนใหญ่ทำกัน จะให้ยากแบบวิธีแรกหรือจะให้ง่ายแบบตั้งขายที่ไหนก็ได้ แต่ส่วนตัวซีอีโอซึ่งเข้ามาทำธุรกิจในไทยแรกๆ ด้วยการเป็นตัวแทนจำหน่ายเสื้อผ้าแบรนด์ดังอย่าง Von Dutch และ Ed Hardy หวังว่าด้วยกฏหมายใหม่นี้จะช่วยแก้ปัญหาการเปิดร้านจำหน่ายโดยไม่มีใบอนุญาตที่ไม่ทำ ใบวิเคราะห์สินค้า หรือ COA (Certificate of Analysis) ไม่มีการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค
สิ่งที่ท้าทายที่สุด ในการปลูกกัญชาในไทย
ประเด็นต่อมาเกี่ยวกับปมท้าทายหลักๆ ประเด็นนี้ได้ ไรอัน โดแรน (Ryan Doran) มาอธิบายในฐานะผู้อำนวยการด้านเพาะปลูกของ OG Canna Company CM ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของเราก็ชี้ชัดว่าเป็นเรื่อข้อกฏหมาย
ไรอัน กล่าวทำนองตั้งคำถามกลับว่าทราบหรือไม่ ที่ไทย ถ้าปลูกกัญชาในร่มนั้นไม่สำคัญว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก ถ้าเป็นการปลูกในร่ม มันตายตัว ถ้าคุณสร้างที่ปลูกในร่มเองได้คุณจะไปปลูกกัญชาบนดวงจันทร์ก็ได้ถ้าสภาพอากาศอำนวย
การปลูกกลางแจ้งที่ประเทศไทย ผอ.ด้านเพาะปลูกกัญชา เปรียบเหมือนป่าเขียวชอุ่มเลย ที่นี่ปลูกอะไรก็งอกงาม กัญชาก็เป็นหนึ่งในนั้น
หลายคนคิดว่า ปลูกได้แค่บางสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์อินดิก้า (Indica) จะปลูกไม่ขึ้นในไทย ซึ่ง ไรอัน ยืนยันว่าไม่จริงเลย แถมดเขายังคิดว่า บางฤดูกาลในไทยมีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าหลายๆ แห่งสำหรับการปลูกกัญชาอีกด้วย โดยเคยทดลองปลูกทั้งสายพันธุ์อินดิก้าและซาติว่า (Sativa) จนแน่ใจว่า ที่ไทยมีสภาพแวดล้อมซึ่งเหมาะแก่การปลูก
ส่วน แมลง น่าจะเป็นปัญหาหลักๆ ซึ่งต้องสู้กันไปเรื่อยๆ แต่ถึงกระนั้นชายชาวต่างชาติก็ยืนกรานถึงผลผลิตที่มีคุณภาพเมื่อเพาะปลูกในบ้านเรา
อนาคตของกัญชาในไทย จะเป็นอย่างไร ?
คำถามท้ายๆ ได้มีการถกกันถึงเรื่อของนาคตตลอดจนทิศทางข้างหน้า ซึ่งตัวของเบนจามินก็กล่าวตอบ โดยเชื่อมั่นในรัฐบาลว่าท้ายที่สุดจะสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยการยึดถึงคุณประโยชน์เป็นหลัก
สังเกตได้จากตัวอย่างที่แคลิฟอเนียซึ่งตัวของซีอีโอรายนี้เคยสัมผัสมา รวมถึงประโยชน์ที่ได้เห็นจากประเทศอื่นทั่วโลกที่ทำกัญชาถูกกฏหมาย
“ที่จริงมันมีประโยชน์ต่อสังคมในหลายๆด้าน อย่างแรกเลย เรื่องของสุขภาพ และส่วนที่สองคือ เรื่องของการจัดเก็บภาษี” เบนจามิน กล่าว
การทำพืชชนิดนี้ให้ถูกต้อง ผลพวงที่เกิดขึ้นตามมา ไม่ใช่แค่ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเท่านั้น แต่จากการให้ข้อมูลของซีอีโอผู้นี้ยังระบุเพิ่มเติมว่า ในแง่ของตัวเลขอาชญากรรม เมื่อไม่มีการบังคับใช้กฏหมาย ทำให้ก็ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการดูแลนักโทษ ไม่ต้องไปสิ้นเปลืองงบเป็นร้อยล้านหรืออาจจะพันล้านในขั้นตอนการบังคับใช้กฏหมายเอาผิด โดยเฉพาะกับผู้ที่แค่เพียงครอบครองพืชกัญชา
ยังไม่นับรวมเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ที่ผู้คนจะหลั่งไหลเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์จากการรักษาโดยการใช้สารสกัดหรือส่วนประกอบต่างๆ จากพืชสมุนไพรตัวนี้ เปรียบเทียบกับแต่ก่อนที่ยังผิดกฏหมาย ทำให้ผู้คนทั่วโลกจำนวนมากต้องใช้ยาจากห้องแลป
ตรงนี้เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นชัดว่า การทำให้ถูกต้องตามกระบวนการนั้นส่งผลประโยชน์มหาศาลเพียงใด
ขณะที่ในส่วนของการดำเนินธุรกิเชิงพานิชย์ จะกลายเป็นธุรกิจระดับพันล้าน ยังมีอีกหลายภาคส่วนที่ยังไม่ได้มีการเข้าไปแตะ ทั้งเรื่องของยา ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังมีธุรกิจอีกมากมายที่คอยส่งเสริมธุรกิจเล็กๆ มันยิ่งใหญ่ มันเป็นอนาคตที่สดใสมาก นั่นแหละที่ผมบอกได้ น่าสนใจและตื่นเต้นมาก
ถึงตอนนี้ คุณคงได้รู้ความเป็นมาของกัญชาในไทยรวมถึงกฏหมาย ข้อบังคับต่างๆ อย่างไรก็ตามต้องติดตามต่อไป ว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อกฏหมาย หรืออัพเดตจากทางรัฐบาลหรือเปล่า.
ข้อมูลโดย : ศิรภัทร กันโพนงาม (Siraphat Kanphonngam) / @TheThaiger