ข่าว

ดราม่าป้ายข้างรถ รฟท. ภาษาอังกฤษสุดวิบัติ แก้แล้วแต่โดนติงไม่เลิก

วิจารณ์เดือด เอาลูกหลานมาทำหรือไง ดราม่าป้ายข้างรถ บอกชื่อสถานี การรถไฟแห่งประเทศไทย สะกดภาษาอังกฤษผิด ความหมายสุดมั่ว สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปรับแก้ก็ไม่วายโดนติงหนักกว่าเดิม

กลายเป็นประเด็นดราม่าที่คลุ้งอยู่ในโลกทวิตเตอร์มาสักะกใหญ่กับกรณี ป้ายข้างรถ ของการรถไฟแห่งปผระเทศไทย (รฟท.) ทีมีไว้บอกสถานีต้นทางและปลายทางของขบวนรถ มีการสะกดคำภาษาอังกฤษผิด “ลำปาง – กรุงเทพอภิวัฒน์” ภาษาอังกฤษดันไปเขียนจังหวัด “Lampanc” ทั้งที่ถูกต้องควรเขียนว่า “Lampang”

Advertisements

เท่านั้นไม่พอคำว่า Central ที่หมายถึง ใจกลางหรือเกี่ยวกับศูนย์กลางในภาษาไทย ก็ดันไปสะกดผิดเป็น “Cental” ทำหใ้งานนี้หลังจากแอคเคาต์ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ลงทวิตเผยแพ่ไม่นาน (22 ม.ค.66) ปรากฏถึงตอนนี้ประเด็นป้ายข้างรถไฟ ก็ยังคงพบว่ามีเสียงวิจารณ์หนาหู ตลอดจนมีประเด็นต่อเนื่องที่จากนั้น ทาง รฟท.ได้ปรับแก้ข้อความบนป้ายที่เป็นกระแสร้อนแต่พอแก้เสร็จก็ยังคงถูกสังคมและชาวเน็ตติติงไม่รามือ

ป้ายลำปาง - กรุงเทพอภิวัฒน์

จากภาพด้านบนนั้น จะสังเกตได้ถึงจุดที่ป้ายของการรถไฟฯ สะกดชื่อสถานีลำปางซึ่งเป็นสาถนีต้นทาง ผิดเพี้ยนไปชนิดที่ชาวเน็ตหลายคนถึงกับต้องเข้ามาใส่ความคิดเห็นเชิงตำหนิอย่างรุนแรง อาทิ

“ชื่อภาษาอังกฤษสะกดผิดคือปวดหัวแล้ว มาเจอกรุงเทพคาราโอเกะ ตัวหนังสือยาวไปอีก มองแล้วมันแปลกๆ จะเอายาวไปถึงท้ายขบวนรถไฟเลยง่ะ” ความเห็นจากผู้ใช้บัญชีทวิตเตอร์ท่านหนึ่ง

ป้ายข้างรถ ลำปาง - กรุงเทพอภิวัฒน์

Advertisements

“ทำให้ยากทำไมอ่ะ”

“ไม่ใช่ครั้งแรก ไม่รู้สึกอายบ้างหรือ”

“ปัญหามาจากลูกหลานรถไฟไม่มีตกงานนั่นแหละ หลุมดำมาก รฟท”

นอกจากความเห็นที่เข้ามาติเตียนแล้ว ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งยังอธิบายถึงความสำคัญในการที่จะต้องใช้ภาษาหรือการสะกดคำให้ถูกต้องส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันมิให้ นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติต้องสับสนเวลาที่ สะกดชื่อสถานีภาษษอังกฤษผิดก็จะทำให้เข้าไปค้นหาสถานที่นั้นๆ ในแอปพลิเคชั่นไม่เจอเช่นกันด้วย

“การสะกดชื่อสถานที่ภาษาอังกฤษไม่ตรงกับชื่อที่ใช้เป็นทางการหรือแผนที่ในแอปพลิเคชั่นต่างๆ ทำให้นักท่องเที่ยวหรือคนไม่รู้ภาษาไทยสับสนมากนะ”

ป้ายข้างรถ รฟท.

ต่อมาในทวิตนี้ยังมีชาวเน็ตผู้หวังดี ได้ทวิตภาพป้ายข้างรถของรฟท.เวอร์ชั่นปรับปรุงแก้ไขแล้ว แต่มิใช่ สถานีปลายทาง ลำปาง – กรุงเทพฯ ดั่งรูปแรกที่เป็นประเด็น (เท่ากับว่ามีป้ายที่สะกดผิดมากกว่านั้น) แต่ภาพที่แก้ไขเป็นชื่อสถานีปลายทาง “กรุงเทพอภิวัฒน์ – เชียงใหม่” โดยเป็นการนำคำวา “Central” มาแปะทับคำที่สะกดผิด

“แก้แล้ว…แต่ไม่เด่นงั้นอะ ถามจี๊งงงง” ข้อความจากทวิตเตอร์ของผู้ที่นำภาพการปรับแก้ป้ายบอกชื่อสถานีข้างรถไฟไทยมาเปิดเผย

ป้ายบอกสถานีการรถไฟแห่งประเทศไทย

กรณีการแก้ไขโดยการนำคำเซนทรัล (Central) มาแปะทับนั้น ล่าสุด วันนี้ (25 ม.ค.66) ก็ยังคงมีคนนำภาพที่มีการแก้ไขด้วยวิธีกดังกล่าวมาลงเผยแพร่บนบัญชีโซเชียลอีกคำรบ โดยหนนี้เป็นป้ายของสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ – หนองคาย โดยเจ้าของทวิตยังได้เขียนบรรยายถึงประเด็นนี้ด้วยว่า “สะกดผิด แก้ง่ายๆ ด้วยการเอาสติ๊กเกอร์แปะทับ From Cental to Central #สถานีกรุงเทพอภิวัฒน์”

ป้ายบอกชื่อสถานีรถไฟ

ต่อมาผู้ใช้ทวิตเตอร์ซึ่งเคยมีประสบการณ์ด้านการตรวจรับและทำป้ายในส่วนของราชการเข้ามาให้ข้อมูลว่า “จากประสบการณ์ที่ตรวจรับและทำป้ายของส่วนราชการของหน่วยงานราชการ เราจะตรวจและทวนก่อนแทบทุกตัวอักษร ถ้าผิดผู้รับจ้างต้องไปแก้ไขทำมาใหม่ให้ ถึงจะตรวจรับงานจ้างให้”

สุดท้ายนี้ ปัญหาดังกล่าวหลายคนต่างแสดงความเห็นในเิชงที่ยากจะยอมรับได้กับกรณีนี้ ทั้งการปรับแก้ที่ดูไม่ค่อยเอาใจใส่ รวมถึงความผิดพลาดง่ายๆ ที่ไม่่าจะเกิดขึ้นได้ในหน่วยงานระดับประเทศ โดยกรณีของ รฟท. ตกเป็นข่าวด้านลบบนหน้าสื่อบ่อยหน ตั้งแต่กรณี งบเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีกลางบางซื่อ ลากยาวมาถึงขบวนรถไฟที่เทียบชานชาลาเกินเวลาที่กำหนดนานหลายชั่วโมง กระทั่งมาถึงเที่ยวนี้ที่เป็นกระเด็นดราม่าเบาๆ กับป้ายข้างรถไฟบอกชื่อสถานีซึ่งทั้งหมดนี้เป็นดั่งเชื้อเพลิงที่คอยจุดไฟแห่งความคับอกคับใจกับการบริหารและจัดการงานของหน่วยงาระดับราชการของไทยอีกครั้ง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button