คริสต์มาสคริสต์ใจคือ หลังฝรั่งไม่เข้าใจหนักมาก โร่ขอคำอธิบายวุ่น เปิดที่มาพร้อมกับพาไปทพำความรู้จัก คำอุทานเสริมบท ที่ถูกกระแสของยุคสมัยนำมาเล่นคำจนกลายเป็นวลีฮิตตอนนี้ ก่อนส่งท้ายปี 2022
คริสต์มาส คริสต์ใจ คืออะไร ? กลายเป็นคำถามที่ทั้งถูกเสิร์ชหาในกูเกิล (Google) และทางช่องทางบัญชีโซเชียลต่าง ๆ อย่างมากมาย โดยจุดเริ่มต้นของวลีฮิตส่งท้ายปี พ.ศ. 2565 มาจากการที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Aunnism ได้มีการโพสต์ประเด็น “คำอุทานเสริมบท” ซึ่งทางเพจยกให้เป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ของภาษาไทย
เนื้อหาบางส่วนจากโพสต์ดังกล่าว ได้หยิบยกตัวอย่างประโยคที่ใช้อุทานเสริมบทมาอธิบายเพื่อให้เห็นภาพ ซึ่งก็มีตัวอย่างประโยค อาทิ หนังสือหนังหา , กระดูกกระเดี้ยว หรือกระที่งไปจน อาบน้ำอาบท่า
ขณะที่คำว่า คริสต์มาสคริสต์ใจ, เกาหลีเกาใจ ทางเพจระบุ เป็นอุทานเสริมบทที่ซับซ้อนมาก เพราะไม่ได้มีฟังก์ชั่นหรือสื่ออารมณ์โดยเฉพาะเจาะจง แต่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมย่อย หรือ (Subculture) ดังนั้นเวลาจะทำความเข้าใจต้องดูคำอุทานอื่นประกอบในกลุ่มเดียวกัน
ก่อนที่ทางเพจจะใส่ความเห็นส่วนตัว มองว่าคำคริสต์มาสคริสต์ใจนั้นน่าจะมาจาก คำว่า “มั่นหน้ามั่นใจ” ซึ่งเป็นรูปสุภาพของคำว่า “มั่นหน้ามั่นโหนก” ต่อมาใช้ไปสักพัก คำมั่นหน้ามั่นใจถูกใช้ในเชิงบวกมากกว่าเดิม แถมยังมีคนใช้คำว่ามั่นหน้ามั่นใจหยอกล้อเพื่อนหรือแซวตัวเอง ทำให้คำนี้เริ่มกลายเป็นคำให้กำลังใจ (encouraging) แทนที่จะเป็นคำเสียดสี
อย่างไรก็ตาม หลังโพสต์ดังกล่าวกลายเป็นกระแสดัง ล่าสุด เมื่อวันที่26 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา เจ้าของวลีฮิตต้อนรับเทศกาลให้ของขวัญของฝรั่งที่เพิ่งผ่านไป ซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊ก Arocha Buasakhon ก็ได้ออกมาแสดงตัวว่าเธอคือ ต้นตำรับฉบับออริจินัล พร้อมกับเปิดเผยถึงความหมายซึ่งไม่มีความหมายให้กับชาวเน็ตหลายคนได้หายสงสัยกันถึงที่มาคำนี้เสียที
“จริงๆต้นโพสมันมาจากเค้าเองแหละ 5555555555 ขอบคุณที่ชมว่าอธิบายเก่งนะคะ แต่คนที่ถามว่าแล้วใช้ทำไม อันนี้นุก็ไม่รู้” แคปชั่นจากผู้ใช้เฟซบุ๊กเจ้าของวลีฮิตล่าสุดได้ออกมาอธิบาย โดยเธอยังได้โฑสต์ภาพซึ่งเป็นบทสนทานระหว่างเธอกับเดื่อนฝรั่งที่ตอนนี้ภาพดงังกล่าวกำลังเป็นมีมดังใช้ส่งกันทะลักเมื่อวันแอแกะกล่องของขวัญเมอร์รี่คริสต์มาสกันเลยทีเดียว
บทสนทนาจากเจ้าจของโพสต์ซึ่งขออนุญาตถอดความเป็นภาษาไทยโดยผู้เขียนระบุ ได้ดังนี้
เพื่อนต่างชาติ : เฮ้ คำว่า Jai แปลว่าอะไรอะ
คนไทย : Jai เหรอ ? ก็หัวใจไง ในบริบทไหนเหรอ
เพื่อนต่างชาติ : Christ Jai
คนไทย : หา ??
เพื่อนต่างชาติ : Christmas Christ Jai
คนไทย : โอ้วววววว
คนไทย : เป็นเหมือนคำสร้อยต่อท้ายคำไทยยุค 2022 คำไหนที่มี 2 พยางค์ หรือมากกว่า เราจะพูดคำนั้นครั้งหนึ่ง จากนั้นก็จะพูดซ้ำอีกครั้ง โดยเปลี่ยนพยางค์สุดท้ายเป็นคำว่า “Jai” (ใจ)
เพื่อนต่างชาติ : แล้วทำเพื่ออะไร ในเมื่อมันไม่มีความหมาย
คนไทย : ไม่มีความหมายแค่เพื่อความสนุก เป็นอรรถรสเวลาพูด
ภายหลังฟังคำอธิบายจนเข้าใจดีแล้ว เพื่อนชาวต่างชาติรายนี้ก็อยากจะขอลองเล่นคำอุทานเสริมบทที่ใช้เป็นคำสร้อยไทยผสมผสานกับคำภาษาอังกฤษนี้ดูบ้าง
เพื่อนต่างชาติ : Thank you Thank Jai
คนไทย : ใช่ แบบนั้นแหละ Korea Ko Jai ก็ได้เหมือนกัน
เพื่อนต่างชาติ : Thailand Thai Jai
คนไทย : คำนี้ไม่มีคนใช้กันนะ แต่ก็ถูก 555
สุดท้ายบันทึกหน้าสนทานาสอนภาษาระหว่างชาวไทยกับเพื่อนต่างชาติเกี่ยวกับประเด็นวลีฮิต ความมหัศจรรย์ของอุทานเสริมบทก็เป็นอันจบลงแต่เพียงเท่านี้ ด้วยความเข้าใจอันดีของเกลอที่สื่อสารกันคนละภาษาแต่มีความเข้าใจเดียวกัน