ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

เปิดวิธีดู ‘ดาวอังคารใกล้โลก’ ใกล้ที่สุด 1 ธันวาคมนี้

เตรียมชมปรากฏการณ์ ดาวอังคารใกล้โลก 1 ธันวาคมนี้ อยากดูต้องทำอย่างไร เปิดวิธี พร้อมแชร์เกร็ดความรู้เหตุใดดาวอังคารจึงมีสีแดง

1 ธันวาคม 2565 จะเป็นวันที่มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์สุดพิเศษประจำปี 2022 “ดาวอังคารใกล้ดาวโลก” ซึ่งถือเป็นโอกาสหายากที่ไม่อยากให้ทุกคนพลาดรับชมเลย เพราะทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ออกมาให้ความรู้ว่าดาวเคราะห์สีแดงนี้โคจรมาใกล้ชิดกับโลกมากๆ ห่างกันแค่ 81.5 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น

Advertisements

วันนี้ทีมงานไทยเกอร์ได้รวบรวมคำถามต่าง ๆ ที่หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับ การดูดาวอังคารใกล้ที่เคลื่อนมาใกล้โลก มาตอบให้ทุกคนหายข้องใจกันแล้วค่ะ

ดาวอังคารใกล้โลก
ภาพจาก : thaiastro.nectec.or.th

วิธีดูดาวอังคารใกล้โลก ทำอย่างไรถึงจะมองเห็น

ในระหว่างที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก เราจะสามารถมองเห็นดาวอังคาร สีส้มแดง ลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้าตลอดทั้งคืนไปจนถึงช่วงเวลารุ่งสาง โดยสว่างมากที่ด้านทิศตะวันออก และสามารถมองเห็นดาวอังคารได้ด้วยตาเปล่าเป็นดวงสีส้ม ๆ แดง ๆ

แต่หากต้องการรับชมให้ชัดเจน เห็นชัดถึงพื้นผิวดาวอังคาร จะต้องรับชมผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาด 10 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไปเท่านั้น โดยจะมองเห็นได้ตั้งแต่รายละเอียดของพื้นผิว ไปจนถึงขั้วน้ำแข็งบนดาวอังคารเลยทีเดียว

โอกาสพิเศษที่ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลกแบบนี้ ทางสถาบัน NARIT ได้เปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนร่วมกิจกรรมสังเกตการณ์ ได้ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ระหว่างเวลา 18.00 – 22.00 น. ได้แก่

Advertisements
  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
ดาวอังคารใกล้โลก
ภาพจาก : Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

หากใครไม่สะดวกเดินทางไปชมสถานที่จริง ก็มีถ่ายทอดสดปรากฏการณ์นี้ให้รับชมทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กดติดตามเพื่อรอรับชมกันได้เลย

แม้ว่าความถี่ในโอกาสการเกิดปรากฏการณ์ดาวอังคารโคจรมาใกล้โลก จะใช้เวลาประมาณเพียงแค่ 2 ปีเศษ แต่หากพลาดการรับชมในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ อาจจะต้องรอไปจนถึงช่วงเดือนมกราคม 2568 กันเลย

ทำไมดาวอังคารจึงมีสีแดง

ดาวอังคาร หรือภาษาอังกฤษ คือ Mars เป็นดาวที่มีพื้นผิวสีส้มแดง และมีบริเวณขั้วดาวเป็นสีขาว ชั้นบรรยากาศส่วนใหญ่ประกอบด้วยก๊าซ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, ไนโตรเจน, มีเทน และอาร์กอน

ดาวอังคารมีฉายาว่า ดาวสีเลือด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะดาวอังคารมีฝุ่นสีแดงลอยปกคลุมทั่วบริเวณผิวดาว โดยฝุ่นแดงดังกล่าวคือ ออกไซด์ของเหล็กหรือสนิมเหล็กนั่นเอง

ส่วนขั้วดาวอังคารที่มองเหHนเป็นสีขาว เป็นเพราะบริเวณดังกล่าวมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ ซึ่งมีทั้งน้ำแข็งและน้ำแข็งซึ่งเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่คนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยในชื่อ น้ำแข็งแห้ง

แม้ว่าดาวอังคารจะมีฉายาว่า ดาวสีเลือด แต่อุณหภูมิบนดาวกลับติดลบและหนาวจัดถึง -63 องศาเซลเซียส นั่นก็เป็นเพราะดาวอังคารไม่สามารถกักเก็บความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้

หลังจากที่ดาวอังคารมาใกล้โลกที่สุดแล้ว ก็จะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ คือ ดวอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์จะเรียงในระนาบเดียวกันในอีกหนึ่งสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565.

ดาวอังคารใกล้โลก
ภาพจาก : Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ขอบคุณข้อมูลจาก : 1 2 3.

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button