รวมข้อมูลการ ‘ประชุมเอเปค 2022’ ครั้งที่ 29 ณ ศูนย์ฯสิริกิติ์ เช็กรายชื่อเขตเศรษฐกิจที่นี่
เช็กข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับ “การประชุมเอเปค : ประเทศไทย 2022” ครั้งที่ 29 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีตัวแทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ เศรษฐกิจมาเข้าร่วมการประชุมเอเปคครั้งนี้ ตรวจสอบรายชื่อประเทศสมาชิกเอเปค กำหนดการงานประชุม ที่มาของสัญลักษณ์และคำขวัญ APEC 2022 ได้ที่นี่
สรุปข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 (Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) หรือ APEC 2022 Thailand) ครั้งที่ 29 โดยประเทศไทยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ประจำปี 2565 กำหนดสถานที่การประชุมหลักเป็นศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานครฯ และหอประชุมกองทัพเรือเป็นสถานที่จัดเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจพร้อมคู่สมรส ระหว่างวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายนถึงวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2565
สำหรับการประชุมเอเปค 2022 ในครั้งนี้เป็นการประชุมเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก มีหัวข้อการประชุมหลักคือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว สำหรับสมาชิกกลุ่มความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่
ประเทศออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, จีน, ฮ่องกง, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, เปรู, ฟิลิปปินส์, รัสเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน, ไทย, สหรัฐ, เวียดนาม และสมาชิกเขตเศรษฐกิจที่เป็นแขกรับเชิญพิเศษประกอบด้วย 3 เขตเศรษฐกิจคือ กัมพูชา, ฝรั่งเศษ และซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังประกาศให้วันพุธที่ 16 ถึงวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันหยุดกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ และเขตปริมณฑลเท่านั้น เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการจราจร และอำนวยความสะดวกแก่ตัวแทนผู้นำแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม APEC 2022 ครั้งนี้
ทั้งนี้ทีมงานเดอะไทยเกอร์ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022 ในครั้งนี้ ทั้งรายชื่อตัวแทนผู้นำทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ สัญลักษณ์และคำขวัญเอเปคประจำปี 2565 ความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และประวัติการประชุมเอเปคจะมีเรื่องราวน่าสนใจแค่ไหน เข้ามาอ่านที่นี่กันได้เลยครับ
ข้อมูลรายชื่อเขตผู้นำทางเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022
ข้อมูลทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมการประชุมเอเปค 2022 ทั้งชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค ตำแหน่ง และพระนามหรือชื่อที่ใช้เป็นทางการ
1. เขตเศรษฐกิจ ออสเตรเลีย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : เครือรัฐออสเตรเลีย
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : แอนโทนี แอลบานีส
2. เขตเศรษฐกิจ บรูไน
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : เนอการาบรูไนดารุซซาลาม
- ตำแหน่ง : สุลต่าน
- พระนาม/ชื่อ : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์
3. เขตเศรษฐกิจ แคนาดา
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : แคนาดา
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : จัสติน ทรูโด
4. เขตเศรษฐกิจ ชิลี
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐชิลี
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : กาบริเอล โบริช
5. เขตเศรษฐกิจ จีน
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : สี จิ้นผิง
6. เขตเศรษฐกิจ ฮ่องกง
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- ตำแหน่ง : ผู้บริหารสูงสุด
- พระนาม/ชื่อ : จอห์น ลี
7. เขตเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : โจโก วีโดโด
8. เขตเศรษฐกิจ ญี่ปุ่น
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : ญี่ปุ่น
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : ฟูมิโอะ คิชิดะ
9. เขตเศรษฐกิจ เกาหลีใต้
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐเกาหลี
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี (ผู้แทน)
- พระนาม/ชื่อ : ฮัน ด็อก-ซู
10. เขตเศรษฐกิจ มาเลเซีย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : มาเลเซีย
- ตำแหน่ง : รอประกาศ
- พระนาม/ชื่อ : รอประกาศ
11. เขตเศรษฐกิจ เม็กซิโก
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สหรัฐเม็กซิโก
- ตำแหน่ง : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ (ผู้แทน)
- พระนาม/ชื่อ : ตาติอานา โกลว์ติเอร์
12. เขตเศรษฐกิจ นิวซีแลนด์
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : นิวซีแลนด์
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : จาซินดา อาร์เดิร์น
13. เขตเศรษฐกิจ ปาปัวนิวกินี
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : ปาปัวนิวกินี
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : เจมส์ มาราเป
14. เขตเศรษฐกิจ เปรู
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐเปรู
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : เปโดร กัสติโย
15. เขตเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : บองบอง มาร์กอส
16. เขตเศรษฐกิจ รัสเซีย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สหพันธรัฐรัสเซีย
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : วลาดีมีร์ ปูติน
17. เขตเศรษฐกิจ สิงคโปร์
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐสิงคโปร์
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : ลี เซียนลุง
18. เขตเศรษฐกิจ ไต้หวัน
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐจีน (จีนไทเป)
- ตำแหน่ง : ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : จาง จงโหมว
19. เขตเศรษฐกิจ ไทย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : ราชอาณาจักรไทย
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เจ้าภาพ)
20. เขตเศรษฐกิจ สหรัฐ
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สหรัฐอเมริกา
- ตำแหน่ง : รองประธานาธิบดี (ผู้แทน)
- พระนาม/ชื่อ : กมลา แฮร์ริส
21. เขตเศรษฐกิจ เวียดนาม
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : เหงียน ซวน ฟุก
แขกรับเชิญพิเศษ 3 เขตเศรษฐกิจ
ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้เชิญแขกพิเศษเข้าร่วมประชุม ดังนี้
1. เขตเศรษฐกิจกัมพูชา
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : ราชอาณาจักรกัมพูชา
- ตำแหน่ง : นายกรัฐมนตรี
- พระนาม/ชื่อ : ฮุน เซน
2. เขตเศรษฐกิจฝรั่งเศส
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : สาธารณรัฐฝรั่งเศส
- ตำแหน่ง : ประธานาธิบดี
- พระนาม/ชื่อ : แอมานุแอล มาครง
3. เขตเศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย
- ชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปค : ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
- ตำแหน่ง : มกุฎราชกุมาร
- พระนาม/ชื่อ : มุฮัมมัด บิน ซัลมาน
หมายเหตุ : ประธานาธิบดี อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์แห่งเม็กซิโก, ประธานาธิบดี โจ ไบเดินแห่งสหรัฐ, นายกรัฐมนตรี อิซมาอิล ซับรี ยักกบแห่งมาเลเซีย และประธานาธิบดี ยุน ซ็อก-ย็อล แห่งเกาหลีใต้ ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสุดยอดได้ จึงส่งผู้แทนมาร่วมการประชุมแทน
เปิดความหมายสัญลักษณ์และคำขวัญ “เอเปค 2022”
ตราสัญลักษณ์การเป็นเจ้าภาพประชุมเอเปคปี 2565 ของประเทศไทยคือรูป “ชะลอม” ออกแบบโดยนายชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องจักสานไทยที่ทำจากไม้ไผ่ มักเอาไว้ใช้ใส่สิ่งของในการเดินทาง หรือของขวัญของฝากไปมอบให้แด่บุคคลที่เคารพรักนับถือในวัฒนธรรมไทย
ความหมายของ “ชะลอม” ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ในการประชุม APEC 2022 สื่อถึงการค้าที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงมิตรภาพเข้าด้วยกัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ชะลอมทำจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ)
อีกทั้ง ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วยชะลอม 21 ช่อง มีความหมายถึง สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีชมพู และสีเขียว สอดคล้องกับคำขวัญของการประชุมที่ระบุว่า “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (คำขวัญเอเปค 2022 ภาษาอังกฤษ : Open. Connect. Balance.)
ประวัติการประชุมเอเปค APEC
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (อังกฤษ: Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือ เอเปค (APEC) เป็นกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเริ่มต้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 จัดตั้งขึ้นเพื่อหาความร่วมมือเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค และผลักดันให้การเจรจาการค้าหลายฝ่าย
นอกจากนี้เอเปคยังเป็นการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปอีกด้วย รวมไปถึงการได้รับสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกเอเปคให้แก่กันครับ
การประชุมเอเปค 2022 สำคัญอย่างไร ?
APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมหลักที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 นับว่าเป็นเวทีการประชุม การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย 21 เขตเศรษฐกิจ และแขกรับเชิญพิเศษอีก 3 เขตเศรษฐกิจ ที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อ ส่งเสริมการเปิดการค้าและการลงทุนเสรี ในความร่วมมือด้านสังคมและพัฒนาด้านอื่น ๆ ทำให้การประชุมเอเปคในครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นที่จับตามองในสายตานานาชาติต่อประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ผลของความรวมมือทางเศรษฐกิจในกลุ่มสมาชิก APEC ยังส่งผลต่อการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิก ลด หรือละ มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี เพื่อยกระดับขั้นตอนทางศุลกากรให้มีความสะดวกและทันสมัยมากยิ่งขึ้น
ทำไมการประชุมเอเปค 2022 จึงส่งผลดีต่อประเทศไทย
นอกจากประเทศไทยจะได้รับความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในสมาชิกกลุ่มเขตเศรษฐกิจที่มาประชุมเอเปค 2022 ในครั้งนี้ ยังเป็นการกรตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากคณะของ 21 เขตเศรษฐกิจที่เดินทางเข้ามาประชุม APEC 2022 จะได้รับบริการอาหาร โรงแรม ของที่ระลึก และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นการโปรโมทศักยภาพด้านการผลิตในประเทศไทย ที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อสายตาชาวโลกในการประชุมเอเปคครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
อีกทั้งในงานประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2022 ยังเป็นการประชุมแบบเจอตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีหลังจากวิกฤติการระบาดของโควิด-19 มีผู้นำและบุคคลสำคัญมากมายเดินทางหลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมา เลยเป็นกระแสฮือฮาต่อระดับสากลนั่นเอง
เช็กกำหนดการประชุม APEC 2022 ไทยเป็นเจ้าภาพ
ประเทศไทยได้มีการวางแผนเตรียมตัวกำหนดการต่าง ๆ ก่อนเริ่มประชุมเอเปคจริงในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1-3 ธันวาคม 2564
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอย่างไม่เป็นทางการ (ISOM)/ ภูเก็ต)
14-25 กุมภาพันธ์ 2565
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งแรก (SOM1) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง/ออนไลน์
16-17 มีนาคม 2565
- การประชุมปลัดกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าแบงก์ชาติ (FCBDM)/ ออนไลน์
9-19 พฤษภาคม 2565
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่สอง(SOM2) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง/ กรุงเทพฯ
21-22 พฤษภาคม 2565
- การประชุมรัฐมนตรีด้านการค้า (MRT)/ กรุงเทพฯ
23-24 มิถุนายน 2565
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลัง (SFOM)/ ขอนแก่น (รอการยืนยัน)
เดือนกรกฎาคม 2565
- การประชุมศูนย์เอเปคศึกษา (ASCC)/ (รอการยืนยัน)
เดือนสิงหาคม 2565
- การประชุมรัฐมนตรีด้านป่าไม้เอเปคครั้งที่ 5 (MMRF5)/ รอการยืนยัน
ระหว่าง SOM3 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ/ รอการยืนยัน
7-21 สิงหาคม 2565
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่สาม (SOM3) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง/ เชียงใหม่
ระหว่าง SOM3 การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ/ รอการยืนยัน
14-20 สิงหาคม 2565
- การประชุมรัฐมนตรีการท่องเที่ยวเอเปคครั้งที่ 11 (TMM) และการประชุมคณะทำงานการท่องเที่ยวเอเปคครั้งที่ 60 (TWG)/ กรุงเทพฯ ระหว่าง SOM3 การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร/ ออนไลน์(รอการยืนยัน)
เดือนกันยายน 2565
- การประชุมว่าด้วยเรื่องสตรีและเศรษฐกิจ และการเจรจาด้านนโยบายของเจ้าหน้าที่ระดับสูงว่าด้วยเรื่องสตรีและเศรษฐกิจ (HLPDWE)/ กรุงเทพฯ
5-10 กันยายน 2565
- การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยเรื่อง SME และสัปดาห์เอเปคSME/ รอการยืนยัน
14-16 กันยายน 2565
- การประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งคมนาคมครั้งที่ 53 (TPTWG)/ รอการยืนยัน
19-21 ตุลาคม 2565
- การประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปค (FMM)/ ออนไลน์
14-19พฤศจิกายน 2565
- สัปดาห์ผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW)/ กรุงเทพฯ
18-19 พฤศจิกายน 2565
- เริ่มการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022
สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งนี้ นับว่าเป็นก้าวสำคัญของคนไทยที่จะได้แสดงศักยภาพหลากหลายมิติทั้งด้านวัฒนธรรม และเศรษฐกิจให้ประจักษ์แก่สายตาในระดับสากลนับจากนี้นั่นเอง.
อ้างอิง : 1