วิเคราะห์ แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ใครได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
เคาะแล้ว! แบงก์ชาติ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ประจำปี 2565 เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปีตามที่คาดการณ์ โดยผลบังคับใช้ทันทีวันนี้ 28 กันยายน 2565 วิเคราะห์ผลกระทบเศรษฐกิจ คาดการณ์ช่วยเพิ่มจีดีพีในประเทศไทยในปี 2566 เป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์
ความคืบหน้าของแนวทางการแก้ปัญหาเงินบาทอ่อนค่าล่าสุด แบงคก์ชาติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ 28 กันยายน 2565 มีมติเป็นเอกฉันท์ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย +02.5 เปอร์เซ็นต์ จาก 0.75 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมีผลทันที
อย่างไรก็ตามจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขอธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อคนไทยผู้ที่ทำธุรกรรมการเงินกู้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ กับการต้องแบกรับภาระค่าผ่อนต่อเดือนที่เพิ่มสูงตามอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น
เลาะตะเข็บ ผลกระทบแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยเป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์
เมื่อคำนึงถึงสาเหตุที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ จำต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 1.00 ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตจาก 3.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2566 และอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะลดลงในปี 2566 ซึ่งมีปัจจัยหนุนเสริมมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจภาคเอกชน ที่ได้รับแรงกดดันจากวิกฤติเงินบาทอ่อนค่าตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา จนวันที่ 28 ก.ย. 65 เปิดตลาดที่ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อีกนัยหนึ่งเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลง ก็จะเป็นผลดีต่อกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว เพราะทำให้ชาวต่างชาติอยากเดินทางมาเที่ยวไทยมากยิ่งขึ้น กระตุ้นภาคธุรกิจเอกชนและการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ทำกิจการส่งออกก็จะได้กำไรกลับมาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ในข่ายนี้ผลเสียของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้คนไทยที่กู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ต้องแบบรับหนี้สินจากการผ่อนต่อเดือนหนักยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลเสียจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1 เปอร์เซ็นต์ในครั้งนี้ คือผู้ที่ต้องกู้ซื้อบ้าน เพราะอาจต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นตามการปรับตัวของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามลำดับด้วยเช่นกัน
อีกด้านหนึ่งการขึ้นดอกเบี้ยในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อตลาดตราสารหนี้ เพราะนักลงทุนจะมองหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำในการทำกำไร และผู้ที่ฝากเงินในธนาคารก็จะได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้การขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติ เป็นไปตามกลไกของเศรษฐกิจ มีทั้งผลกระทบในด้านดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การวางแผนการเงินของแต่ละบุคคล.
อ้างอิง : 1