ข่าวข่าวการเมือง

คำพิพากษายกฟ้องฉบับเต็ม คดีสุเทพ ทุจริตผุดโรงพัก 396 แห่ง

เปิดคำพิพากษาศาลยกฟ้อง สุเทพ เทือกสุบรรณ ฉบับเต็ม คดีทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง อดีตนักการเมืองที่เคยห่มผ้าเหลืองลั่นไม่ต้องเป็นแพะแล้วหลังพ้นมลทิน

ภายหลังจากคดีที่ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและพวก เป็นจำเลยที่ 1-6 กรณีร่วมฮั้วประมูลโครงการสร้างโรงพักทดเเทนโครงการก่อสร้างอาคารที่พัก (แฟลตตำรวจ)

Advertisements

โดยล่าสุด คดีมหากาพย์ของนายสุเทพก็สอิ้นสุดลงวันนี้ (20 ก.ย.65) หลังจาก ศาลอ่านคำพิพากษา “ศาลยกฟ้อง” “สุเทพ เทือกสุบรรณ” จำเลยและมีการแจงยาว 5 หน้ากระดาษ 4 สี่ โดยมีรายละเอยีด ดังต่อไปนี้

ข่าวแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง Criminal Case Division For Persons Holding Political Positions โดยงานประชาสัมพันธ์ แผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ฉบับที่ ๑๓ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕

วันนี้ เวลา 9.30 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง อ่านคําพิพากษาคดีหมายเลขดําที่ อม.232564 ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ โจทก์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก รวม 5 คน จําเลย

ในความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ และความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ โดยโจทก์ฟ้องสรุป ได้ว่า จําเลยที่ 2 ขออนุมัติหลักการในการดําเนินการประกวดราคาจัดจ้างโครงการก่อสร้างอาคาร ที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง

และโครงการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยข้าราชการตํารวจ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเสนอให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติยกเลิกแนวทางในการจัดจ้างโครงการ ก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง ด้วยวิธีการจัดจ้างโดยส่วนกลาง

Advertisements

โดยแยก การเสนอราคาเป็นรายภาค (ภาค 1 – 4) และอนุมัติให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ดําเนินการประกาศ ประกวดราคาจัดจ้างก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง ภายในวงเงิน 6,248,000,000 บาท ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

โดยกองโยธาธิการ สํานักงานส่งกําลังบํารุง สํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานจัดจ้างก่อสร้างทุกอาคารรวมกันในครั้งเดียว โดยไม่ได้เสนอให้นายกรัฐมนตรี นําเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการจัดจ้างก่อสร้างโครงการ จําเลยที่ 1 อนุมัติตามเสนอ ซึ่งการเสนอเปลี่ยนแปลงการจัดจ้างดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อวงเงินงบประมาณ

ตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ กระทบต่อกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลางที่กําหนดขึ้นหรืองบประมาณ ที่สูงขึ้นเป็นเงินจํานวน 5,388,000,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคากลางเดิมที่กําหนดไว้จํานวน 6,100,538,900 บาท

การกระทําของจําเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ จําเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคา กับกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ต้องตรวจสอบบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาในการก่อสร้างที่จําเลยที่ 5 โดยจําเลยที่ 6 ยื่น ว่าถูกต้องครบถ้วนและราคาที่เสนอมีความเหมาะสมหรือไม่

หากไม่ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่เหมาะสม ประการใด จะต้องสั่งให้แก้ไขหรือเจรจาต่อรองราคาต่อไปตามเอกสารการประกวดราคาจ้าง แต่จําเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ไม่ตรวจสอบพิจารณา

หน้า 2

 

แจ้งหรือนัดหมาย หรือนําเสนอคณะกรรมการประกวดราคาเพื่อพิจารณา ทั้งเป็นการมุ่งหมายมิให้มี การแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมเพื่อเอื้ออํานวยแก่จําเลยที่ ๕ โดยจําเลยที่ 5 ให้ได้รับการคัดเลือก ในการเสนอราคาและเป็นผู้มีสิทธิเข้าทําสัญญากับสํานักงานตํารวจแห่งชาติ และจําเลยที่ 5 โดยจําเลยที่ 5 มุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันเสนอราคาอย่างเป็นธรรมและเอื้อประโยชน์ในการคิดคํานวณส่วนต่างกรณีมีงานลด หรืองานเพิ่มจากการตอกเสาเข็มได้ครบจํานวนตามแบบของงานก่อสร้างทั้ง ๓๙๖ หลัง อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการกระทําความผิดของจําเลยที่ 3 และที่ 4 ดังกล่าว

ขอให้ลงโทษจําเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จําเลยที่ 3 และที่ 4 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 90 และมาตรา 12 จําเลยที่ 5 และที่ 6 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ประกอบ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน ของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 12 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 จําเลยทั้งหกให้การปฏิเสธ

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พิจารณาแล้ว เห็นว่า เมื่อพิจารณาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา 4 (1) และมาตรา 10 กับระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2544 ข้อ 13 ซึ่งเป็นการกําหนดหลักเกณฑ์การเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา และอํานาจของคณะรัฐมนตรีในการ อนุมัติ ประกอบบันทึกของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ลงวันที่ 9 มกราคม 2552

ที่อ้างข้อเท็จจริงตามบันทึก สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีขออนุมัติให้ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบก่อนนําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา สํานักงานตํารวจแห่งชาติได้กําหนดประเด็นที่ ประสงค์จะให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สํานักงานตํารวจแห่งชาติดําเนินโครงการสถานีตํารวจเพื่อประชาชน (ทดแทน) โดยเป็นโครงการผูกพันงบประมาณ ๓ ปี ตั้งงบประมาณปี 2552 ถึง 2554 ซึ่งเป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกาและระเบียบดังกล่าว

นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สํานักงานตํารวจแห่งชาติประสงค์ ขอเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนภาครัฐจากวิธีแปลงสินทรัพย์เป็นวิธีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจําปี เท่านั้น ประกอบกับระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 8 ข้อ 27 และข้อ 29 กําหนดให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ให้ความเห็นชอบวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการโครงการก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน)

ตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติเสนอ โดยให้ดําเนินการตามความเห็นของสํานักงบประมาณ และให้ยกเว้น การปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง ในส่วนที่เกี่ยวกับ

หน้า 3

หลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันงบประมาณในข้อ 1.2 และข้อ 1.6 ตามหนังสือสํานักงบประมาณที่ นร 0704/ 097 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติที่เห็นว่าเมื่อสํานักงานตํารวจแห่งชาติได้ก่อสร้างอาคารใหม่ทดแทนเรียบร้อยแล้ว ควรดําเนินการรื้อถอนอาคารเดิมเพื่อความปลอดภัยในการใช้อาคาร

และเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ภาครัฐในการ จัดสรรงบประมาณซ่อมแซมและดูแลรักษาไปพิจารณาดําเนินการด้วย เป็นการอนุมัติหลักการโครงการ ก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) เฉพาะเรื่องเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนภาครัฐจากเดิม

โดยวิธีแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามที่บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จํากัด เสนอ เป็นวิธีการจัดสรร งบประมาณรายจ่ายประจําปีตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติเสนอเท่านั้น ไม่รวมรูปแบบการจัดจ้าง แนวทางการจัดจ้าง หรือวิธีการจัดจ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของหัวหน้าส่วนราชการจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ

การกระทําของจําเลยที่ 6 ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ในการกํากับดูแลโดยทั่วไป ซึ่งการบริหารราชการของสํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ จึงไม่เป็นการกระทําโดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ระบบราชการ และระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ภาครัฐ จําเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

ทางไต่สวนข้อเท็จจริงได้ความว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจ้างได้รับการพิจารณา เหตุผลความจําเป็นโดยมีมูลเหตุข้อขัดข้องในทางกฎหมาย แล้วเสนอขึ้นมาตามลําดับบังคับบัญชาจนถึง จําเลยที่ 2 โดยผู้บังคับบัญชาในแต่ละลําดับชั้น รวมทั้งพลตํารวจโทธีรยุทธ กิติวัฒน์ เจ้าหน้าที่พัสดุสํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ และพลตํารวจโทพงศพัศ พงษ์เจริญ ต่างพิจารณาให้ความเห็นขอบโดยให้ดําเนินการตามที่

สํานักงานส่งกําลังบํารุงเสนอ ซึ่งพลตํารวจโทพงศพัศเคยเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทาง ดําเนินการจัดจ้างที่เคยพิจารณาข้อดีข้อเสียของแนวทางวิธีการจัดจ้างที่เสนอมาใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่ อาจเป็นไปได้

ทั้งไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 2 ใช้อํานาจครอบงําสั่งการให้มีการเสนอขอเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจ้าง หรือมีพฤติการณ์ที่มิชอบแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ ๒ ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการใช้ดุลพินิจให้ ความเห็นชอบการจัดจ้างตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 ข้อ 4 ข้อ 27 และ ข้อ 29 แล้ว

ทั้งการกําหนดรูปแบบการจัดจ้าง แนวทางการจัดจ้าง และวิธีการจัดจ้าง มิใช่เรื่องที่ต้องเสนอให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา แม้จําเลยที่ 2 ขออนุมัติต่อจําเลยที่ 1 โดยไม่เสนอให้นายกรัฐมนตรีนําเสนอเรื่อง แก่คณะรัฐมนตรีพิจารณาก็ตาม แต่เมื่อจําเลยที่ 1 เคยอนุมัติวิธีการจัดจ้างตามที่พลตํารวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติในขณะนั้นเสนอมาก่อนแล้ว

การเสนอดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติ หน้าที่ตามสายงานการบังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าจําเลยที่ 1 จะอนุมัติตามที่จําเลยที่ 2 เสนอหรือไม่ ก็ไม่มีผลต่อความเห็นชอบของจําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ดังนี้ การกระทําของจําเลยที่ 2 จึงไม่ใช่การกระทําโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

หน้า 4

อันถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ระบบราชการ และระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จําเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามฟ้องจําเลยที่ 3 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประกวดราคา และจําเลยที่ 4 เป็น กรรมการและเลขานุการฯ โครงการก่อสร้างอาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) จํานวน 396 หลัง วงเงิน 6,248,000,000 บาท ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสํานัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2559 ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2535

ประกาศสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่อง ประกาศประกวดราคาจ้างโครงการก่อสร้าง อาคารที่ทําการสถานีตํารวจ (ทดแทน) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2553 และ เอกสารประกวดราคาจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เลขที่ 15/2553 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เมื่อจําเลยที่ 5 จัดทําบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาในการก่อสร้าง (Bit of Quantities หรือ BOQ) ราคารวม 5,848,000,000 บาท

ตามที่ได้ยืนราคาครั้งสุดท้ายส่งให้จําเลยที่ 3 และที่ 4 ภายในระยะเวลา ที่กําหนด จําเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีหน้าที่ต้องนําบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคาในการก่อสร้างของ จําเลยที่ 5 เสนอให้คณะกรรมการประกวดราคาพิจารณา แต่จําเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่นําบัญชีแสดงปริมาณ วัสดุและราคาในการก่อสร้างดังกล่าวเสนอคณะกรรมการประกวดราคา

โดยรายการในส่วนของงานฐานรากที่ เสนอราคาเสาเข็มตอกรูปสี่เหลี่ยมตัน ขนาด 0.mo X 0.mo x 21 เมตร มีราคาต่ำกว่าราคากลางของ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ และราคาของกองดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ที่กําหนดไว้

เมื่อพิจารณา เอกสารการประกวดราคา ข้อ 6.1 และข้อ 6.5 วรรคสอง แล้วเห็นได้ว่าราคาต่ําจนคาดหมายได้ว่าไม่อาจ ดําเนินงานตามสัญญาได้ ต้องพิจารณาจากราคารวมเป็นสําคัญ การพิจารณาของคณะกรรมการประกวดราคา จึงต้องพิจารณาในภาพรวมตามความเหมาะสมและอยู่ภายในวงเงินที่จําเลยที่ 5 เสนอราคา

และภายในวงเงิน งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากราชการ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ราคารวมที่จําเลยที่ 5 เสนอต่ำกว่าราคากลาง 540,000,000 บาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 8.45 ไม่เกินร้อยละ 15 ตามที่กําหนดไว้ในมาตรการป้องกันหรือ

ลดโอกาสการสมยอมกันเสนอราคาตามมติคณะรัฐมนตรีที่จะต้องจัดทําบันทึกคําชี้แจงส่งให้สํานักงานตรวจ เงินแผ่นดิน ถือว่าไม่ใช่ราคาต่ําเกินสมควรจนคาดหมายไม่ได้ว่าอาจดําเนินงานตามสัญญาได้ และบัญชีแสดง ปริมาณวัสดุและราคาในการก่อสร้างระบุราคารวมไม่เกินราคารวมที่จําเลยที่ 5 เสนอยืนราคาครั้งสุดท้าย

พฤติการณ์ดังกล่าว เห็นได้ว่าการกระทําของจําเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ทั้งทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 3 และที่ 4 กระทําการดังกล่าวเพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบสําหรับตนเองหรือผู้อื่น

หน้า 5

การกระทําของจําเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 เมื่อทางไต่สวนไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจําเลยที่ 3 และที่ 4 รู้หรือควรรู้ว่าการเสนอราคาครั้งนี้มีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอ ราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 หรือกระทําโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างไม่เป็นธรรม

เพื่อเอื้ออํานวยแก่จําเลยที่ 5 เข้าทําการเสนอราคา จําเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 และมาตรา 12 ด้วย จําเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง

เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทําความผิด จึงฟังไม่ได้ว่าจําเลยที่ 5 และที่ 6 เป็นผู้สนับสนุน การกระทําความผิดจําเลยที่ 3 และที่ 4 จําเลยที่ 5 และที่ 6 จึงไม่มีความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง

คดีสุเทพ

สุเทพ คดีโรงพัก สุเทพ เทือกสุบรรณ ศาลตัดสินคดีสุเทพ

ข่าวสุเทพ เทือก

 

 

 

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button