ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 9 โรงพยาบาลเอกชน เริ่ม 1 ต.ค.65 สปสช.แนะวิธีเลือกหน่วยบริการใหม่
ไปยังไงต่อดี ? หลัง 1 ตุลาคมนี้ ยกเลิกสิทธิบัตรทอง 9 โรงพยาบาลเอกชน สปสช.แนะช่องทางผู้ป่วยเลือกหน่วยบริการใหม่ ผู้ป่วยในอนุโลมรักษาต่อ จนกว่าจะปลอดภัย
ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะเริ่มทำการยกเลิกใช้บัตรทอง สิทธิรักษาพยาบาล ที่มีการทะเบียนเป็นหน่วยบริการของโรงพยาบาล (รพ.) เอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 9 แห่งได้แก่
1. โรงพยาบาลมเหสักข์
2. โรงพยาบาลบางนา 1
3. โรงพยาบาลประชาพัฒน์
4. โรงพยาบาลนวมินทร์
5. โรงพยาบาลเพชรเวช
6. โรงพยาบาลผู้สูงอายุกล้วยน้ำไท 2
7. โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
8. โรงพยาบาลบางมด
9. โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทย
โดยโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 9 แห่งนี้ ดูแลประชากรผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวน 696,103 คน ในจำนวนนี้มีเพียง 62,331 คน หรือประมาณร้อยละ 9 ที่ใช้สิทธิรับบริการ โดยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 24,058 คน
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ที่มีชื่ออยู่ในโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง เป็นหน่วยปฐมภูมิ/ประจำ หน่วยบริการที่รับส่งต่อ หรือเคยไปรักษารวมถึงที่ยังรักษาที่ รพ.ทั้ง 9 แห่ง ยังคงใช้สิทธิรักษาได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดย สปสช. ได้เตรียมความพร้อมรองรับการดูแลประชากรสิทธิบัตรทอง ดังนี้
- จัดหาหน่วยบริการปฐมภูมิรองรับประชากร ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข คลินิกเวชกรรม คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และร้านยา ฯลฯ
- จัดหาระบบบริการปฐมภูมิรูปแบบใหม่เพิ่มเติม ได้แก่ ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพื่อเพิ่มทางเลือกกับให้กับประชาชน
- จัดหาโรงพยาบาลรับส่งต่อ
- ประสานและจัดหน่วยบริการแห่งใหม่เพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีนัดรักษาหรือติดตามอาการ
สำหรับผู้ป่วยไตที่มีนัดฟอกไตกับทั้ง 9 โรงพยาบาลเอกชนนี้ ยังคงรับบริการได้ตามนัดเหมือนเดิม เนื่องจากการยกเลิกสัญญาไม่ได้รวมถึงการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ส่วนกรณีผู้ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยรักษาต่อเนื่องนั้น ระหว่างนี้ขอให้ท่านตรวจสอบสิทธิการรักษา ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1.ผู้ที่สถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้น (หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ) และสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป) เป็น 1 ใน 9 รพ.เอกชน ขอให้ท่านลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการแห่งใหม่ที่อยู่ในเขตพื้นที่ ซึ่งในกรณีที่ไม่มีหน่วยบริการในเขตพื้นที่ให้เลือกลงทะเบียน ขออย่ากังวลใจ เพราะขณะนี้ สปสช.อยู่ระหว่างการเร่งจัดหาหน่วยบริการเพิ่มเติมแล้ว
ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป หากเกิดภาวะเจ็บป่วยท่านก็ยังใช้สิทธิบัตรทองรักษาได้ โดยเข้ารับบริการที่ทุกหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่งในระบบบัตรทอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
2.ผู้ที่สถานพยาบาลเข้ารับการรักษาเบื้องต้น (หน่วยบริการปฐมภูมิ/ประจำ) เป็นคลินิกเอกชนหรือศูนย์บริการสาธารณสุข ที่ไม่ใช่ รพ. 9 แห่งนี้ และมีสถานพยาบาลที่รับการส่งต่อ (หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป) ระบุว่า เป็น 1 ใน 9 รพ.เอกชน เมื่อเจ็บป่วยท่านยังคงเข้ารับการรักษาได้ตามรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้ารับการรักษาเบื้องต้นตามสิทธิได้เช่นเดิม
ดูรายชื่อหน่วยบริการที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ที่เว็บไซต์ สปสช. https://www.nhso.go.th/page/hospital หรือที่เว็บไซต์ Nostra map https://map.nostramap.com/NostraMap/ หรือแอปพลิเคชัน Nostra Map
กรณีผู้ป่วยที่ปัจจุบันยังรักษาต่อเนื่องที่ รพ.ทั้ง 9 แห่ง
สำหรับกลุ่มที่มีนัดรักษาต่อเนื่อง รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่มีนัดติดตามอาการ / ผ่าตัด / รังสีรักษา / เคมีบำบัด / หญิงตั้งครรภ์ใกล้คลอด / ฯลฯ (ยกเว้นผู้ป่วยไตที่ฟอกไตกับ รพ.ทั้ง 9 แห่ง ยังคงไปฟอกไตได้ตามนัดเหมือนเดิม เนื่องจากไม่ได้ยกเลิกสัญญาการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม)
นอกจากนี้ กรณีผู้ป่วยใน (ที่ยังนอนอยู่ รพ.) รักษาต่อไปได้ จนกว่าจะปลอดภัยอย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 กด 6 หรือ Facebook สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ขอบคุณข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ