ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

รู้จัก ‘เมฆกันชน’ หรือ ‘เมฆอาร์คัส’ สึนามิจากท้องฟ้า สัญญาณเตือนวันฝนตก

ส่องปรากฏการณ์ ‘เมฆกันชน’ หรือ ‘เมฆอาร์คัส’ สึนามิบนท้องฟ้า สัญญาณเตือนฝนตกหนักกว่าปกติ เห็นเมฆลักษณะนี้ เตรียมหาที่หลบด่วน !!!

เข้าสู่ช่วงหน้าฝนโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ หลายคนต่างก็ต้องรีบร้อนไปทำงานที่เรารัก ก่อนที่จะเงิยหน้าขึ้นไปมองบนฟ้าถึงตาค้าง!!! นั่นสึนามิหรือเปล่า วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสึนามิจากท้องฟ้าอย่าง เมฆกันชน หรือเมฆอาร์คัส ปรากฏการณ์ธรรมชาติ สัญญาณเตือนฝนตกหนัก ใครเห็นแล้วอย่ารอช้า รีบหาที่หลบด่วน

Advertisements
เมฆกันชน
Unsplash – Raychel Sanner

รู้จักปรากฏการณ์ ‘เมฆกันชน’ สึนามิบนท้องฟ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร ต่างจากเมฆปกติไหม ?

| เมฆกันชน (Arcus) คืออะไร ?

เมฆอาร์คัส (Arcus) หรือเรียกว่า เมฆกันชน หรือ shelf cloud เป็นกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า คิวมูโลนิมบัส ที่อยู่บริเวณฐานเมฆ มีลักษณะโค้งเหมือนกันชนหน้ารถ จะเป็นปฎิกิริยาของเมฆฝนที่จะมีลักษณะโค้งลงมาใกล้พื้นดิน โดยเมฆอาร์คัสจะมี 2 แบบ คือ Roll รูปร่างม้วนแบบหลอด และ Shelf คือรูปร่างเป็นชั้น

สำหรับเมฆอาร์คัส (Arcus) ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร

เกิดจากแนวอากาศร้อน ที่ความชื้นพัดมาปะทะกับอากาศเย็น อากาศเย็นจะยกอากาศร้อนขึ้น จนมีลักษณะเป็นดอกเห็ด ภายในจะมีทั้งลมกดและลมยก ส่วนที่ฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด

นักอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมากล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างเมฆฝนแบบปกติและเมฆอาร์คัส จะแตกต่างกันตรงที่ เมฆอาร์คัส จะเกิดขึ้นบริเวณใกล้กับพื้นผิวโลก โดยลักษณะการเคลื่อนตัวของกลุ่มเมฆอาร์คัส จะต่ำลงมาใกล้พื้นผิวโลกมากขึ้น หากมีการสะสมของปัจจัยที่กล่าวมาในปริมาณมาก ๆ จนกลุ่มเมฆอาร์คัสพัดมาปะทะกับความเย็นของอากาศบริเวณพื้นผิวโลก

Advertisements

เกิดลักษณะการม้วนของกลุ่มเมฆอาร์คัสปรากฎให้เห็นคล้ายกำแพงก้อนเมฆ (Wall cloud) ดังเช่นกรณีที่เกิดขึ้น ณ ตลาดมีนบุรี เมื่อเช้าของวันที่ 29 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา รวมไปถึงที่จังหวัยชัยภูมิ ที่ทำเอาชาวบ้านต่างพูดถึงเป็นอย่างมาก

ลักษณะเพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น คือ มีลักษณะเมฆก่อตัวสูงขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ให้ระวัง เพราะจะเกิดฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า และลูกเห็บจะตกตามมา จึงควรเลี่ยงที่จะออกไปดู และควรเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ขอบคุณข้อมูล กรมอุตุนิยมวิทยา

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button