การเงินข่าวข่าวภูมิภาค

เงินประกันสังคม เดือน ส.ค.65 เริ่มจ่ายเต็มเดือน ใครได้เท่าไหร่บ้าง

เตรียมพร้อม เงินประกันสังคม สิงหาคม 2565 ทุกมาตราจ่ายเต็มเดือน ม.33, ม.39 และม.40 จ่ายเท่าไหร่บ้าง เช็กได้เลยที่นี่

หลังจากที่ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบลดอัตราส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, 39 และ 40 เป็นระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565 เหลือ 1% ต่อเดือน ซึ่งในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ได้สิ้นสุดมาตรการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อย เตรียมปรับให้ผู้ประกันตนทุกมาตรากลับมาจ่ายเป็น 5% ดังเดิม

Advertisements
เงินประกันสังคม
www.sso.go.th

ทวนความจำ เงินประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

หลังจากห่างหายไปนานกับการจ่ายเงินประกันสังคมแบบเต็มจำนวณ ทำเอาหลาย ๆ คนอาจจะลืมไปแล้วว่าในแต่ละเดือนนั้น เราในฐานะผู้ประกันตนต้องโดยกังเงินประกันสังคมไปเท่าไหร่กันบ้างในแต่ละมาตรา วันนี้ The Thaiger มาทวนความจำให้ทุกคนกันแล้ว

| เงินประกันสังคม มาตรา 33 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) คือ ผู้ที่มีนายจ้าง หรืออยู่ในระบบบริษัท (พนักงานประจำ) โดยจะถูกถูกหักเงิน 5% หรือ คำนวณโดย นำเงินเดือน คูณ 5% จะได้จำนวนเงินที่ถูกหักออกไปในแต่ละเดือน ตัวอย่างเช่น

เงินเดือน 15,000 บาท (เงินเดือน) x 5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 750 บาท (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)

| เงินประกันสังคม มาตรา 39 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 39 (ม.39) คือ ผู้ที่เคยทำงานในบริษัท หรืออยู่ในมาตรา 33 มาก่อน แต่ว่างงาน หรือลาออก ไม่เกิน 6 เดือน และเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แต่ยังอยากได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ กำหนดให้ส่งเงินสมทบ 9% โดยเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน ดังนี้

เงินเดือน 4,800 บาท (เงินเดือน) x 9% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 432 บาท (จำนวนเเงินที่ถูกหัก)

Advertisements

| เงินประกันสังคม มาตรา 40 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?

ผู้ประกันตนมาตรา 40 (ม.40) คือ ผู้ที่มีสัญชาติไทย อายุ 15-65 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นลูกจ้างบริษัท หรือมีนายจ้าง ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 รวมถึงไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม 3 อัตรา ดังนี้

  • เลือกจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย
  • เลือกจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ
  • เลือกจ่ายสมทบในอัตรา 300 บาท/เดือน มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร
เงินประกันสังคม
www.sso.go.th

| ข้อดีของ สิทธิประกันสังคม

กองทุนสิทธิประกันสังคม เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เกิดจากการทำงาน รวมทั้งกรณีคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน ถือได้ว่าเป็นความคุ้มครองทางกฎหมายของคนแรงงานทุกคน เพื่อสิทธิที่ลูจ้างและผู้ประกอบการควรได้รับอย่างถูกต้อง

อีกหนึ่งข้อดีของการส่งเงินประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอนั่นก็คือ กรณีเงินประกันสังคม เกษียณอายุ 55 ผู้ชราภาพ ผู้ประกันตน ม.33 ที่เกษียณอายุครบ 55 ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถยื่นเรื่องขอรับเงินกรณีชราภาพ ผ่านพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนได้

หากมีค่าจ้างที่ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ 15,000 บาท จะได้บำนาญในอัตรา 35% ของ 15,000 บาทหรือคิดเป็นเดือนละ 5,250 บาทและหากขยายระยะเวลาการทำงานถึงอายุ 60 จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 7.5%
ทำให้บำนาญเพิ่มเป็น 42.5% ของค่าจ้าง 15,000 บาท หรือคิดเป็นเดือนละ 6,375 บาท (เพิ่มขึ้น 1,125 บาท) ไปตลอดชีวิต

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานประกันสังคม

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button