การเงิน

ค่าคลอดบุตร ประกันสังคม ม.39 รวมสิทธิ ที่คุณแม่ต้องรู้ อัปเดต 2565

รวมสิทธิประกันสังคม ที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ ค่าคลอดบุตร ประกันสังคม มาตรา 39 มราตรา 33 อัปเดตปี 2565 ต้องสำรองจ่ายไหม ? กี่วันได้เงิน ?

ในปี 2565 นี้ ใครมีแพลนจะปั๊มลูก หรือมีเกณฑ์จะคลอดบุตรในปีนี้ห้ามพลาดกับ ค่าคลอดบุตร สิทธิพิเศษจาก ประสังคม ปี 2565 ที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ต้องรู้ สามารถขอรับผลประโยชน์ตอบทดแทนกรณีคลอดบุตร และสงเคราะห์บุตรได้ด้วยนะ วิธีขออย่างไร ได้เงินเท่าไหร่ วันที่คลอดต้องสำรองจ่ายไหม วันนี้ The Thaiger มีคำตอบมาให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่กันแล้ว

เปิดข้อมูล ค่าคลอดบุตร ประกันสังคม ม.33 ม.39 อัปเดตปี 2565 ว่าที่คุณแม่ต้องรู้

| เงินค่าคลอดบุตรประกันสังคม คืออะไร ?

เงินค่าคลอดบุตร ประกันสังคม เป็นวงเงินสำหรับเบิกค่าคลอดของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39 เพื่อใช้ในการคลอดบุตร ทั้งแบบผ่าคลอดหรือคลอดเอง โดยทาง ประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้จำนวน 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง หากกรณีลูกแฝดจะถูกนับเป็น 1 ครั้ง)

โดยเมื่อวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2565 เครือข่ายสตรีได้ยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้างประเด็น “วันลาคลอดบุตร” ที่ปัจจุบันให้ลาได้ 98 วัน แต่การจ่ายค่าจ้างครอบคลุมเพียง 90 วัน จึงเห็นได้ว่าจำนวนวันลา 8 วันที่เพิ่มขึ้นนั้น ลูกจ้างยังไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าจ้าง

ดังนั้นในนวันที 11 มีนาคม 2565 การกระทรวงแรงงาน จึงมีการสั่งการให้เร่งดำเนินการติดตามการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้นายจ้าง และสำนักงานประกันสังคม ร่วมกันจ่ายค่าจ้างให้ครอบคลุมวันลาทั้งหมด 98 วัน

| คนท้อง มีสิทธิเบิกเงินประกันสังคม อะไรได้บ้าง ?

สำหรับว่าที่คุณแม่ ที่กำลังตั้งครรภ์ ที่ส่งเงินประกันสังคมอยู่สม่ำเสมอ เมื่อตั้งครรภ์จะสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาได้ โดยแบ่งเป็น 5 รายการ ได้แก่

  • เบิกค่าฝากครรภ์ วงเงินรวม 1,500 บาท
  • เบิกค่าคลอดบุตร เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง
  • เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน)
  • เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์
  • เบิกเงินสงเคราะห์เพื่อเลี้ยงดูบุตร เบิกได้ 800 บาท ต่อเดือน (ตั้งแต่เกิดจนถึง 6 ปี)

| เงื่อนไข สิทธิประโยชน์ ค่าคลอดบุตร ประกันสังคม 2565

ประกันสังคม ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ กรณีค่าคลอดบุตร เป็นไปจามเงื่อนไขดังนี้

  • การเบิกสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร คุณแม่ที่มีสิทธิ์ในการเบิก จะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดบุตร โดยประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในกรณีคลอดบุตร ในอัตรา 15,000 บาท
  • คุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร โดยจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน
  • หากคุณแม่ และคุณพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคมทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิการเบิกคลอดบุตร ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และจำนวนครั้ง

| เอกสารประกอบการยื่นคำขอ ค่าคลอดบุตรประกันสังคม 2565

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน และการพิจารณาการสั่งจ่าย กรณีคลอดบุตร ในปี 2565 มีดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.sso.go.th)
  • สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดมาด้วย)
  • ในกรณีที่คุณพ่อ เป็นคนขอเบิกสิทธิ กรณีคลอดบุตร ให้แนบทะเบียนสมรส หากไม่ได้จดทะเบียนสมรส ให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตน
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อรับรองของผู้ยื่นคำขอ รายชื่อธนาคารที่สามารถยื่นได้ ได้แก่
    • ธนาคารกรุงไทย
    • ธนาคารกรุงเทพ
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
    • ธนาคารทหารไทยธนชาติ
    • ธนาคารกสิกรไทย
    • ธนาคารไทยพาณิชย์
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

ทั้งนี้ผู้ประกันตน สามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานประกันสังคมสังหวัด และสาขา ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข โดยการพิจารณาสั่งจ่าย จะสั่งจ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน

| กรณีเบิกเงินประกันสังคม สงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร

กรณีเบิกเงินประกันสังคม สงเคราะห์การหยุดงาน เพื่อการคลอดบุตร 2565 เป็นแบบเหมาจ่ายในอัตราร้อยละสามารถร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน (3 เดือน) รวมวันหยุดราชการ มีเงื่อนไขดังนี้

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
  • คิดฐานเงินเดือนสูงสุดที่ 15,000 บาท (ถ้าเงินเดือนสูงกว่านั้นก็คิดแค่ 15,000 บาท)
  • ใช้ได้กับการคลอดบุตรครั้งที่ 1 และ 2 เท่านั้น ครั้งที่ 3 ไม่สามารถใช้สิทธิได้
  • กรณีกลับมาทำงานก่อนถึง 90 วัน คุณแม่ก็จะยังคงได้รับเงินสงเคราะห์

ทั้งนี้ ในการขอเบิกเงินค่าคลอดบุตรนั้น ผู้ประกันตนจะต้องมายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ์ขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น ซึ่งหากผู้ประกันตนไม่มารับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ให้เงินนั้นตกเป็นของกองทุน

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button