ข่าว

“จุน วนวิทย์” ประวัติ ‘เจ้าของฮาตาริ’ ผู้ใจบุญบริจาคเงิน 9 ร้อยล้านบาท

“จุน วนวิทย์” ประวัติ ‘เจ้าของฮาตาริ’ ใจบุญบริจาคเงิน 900 ล้านบาท ผู้มานะบากบั่น หนักเอาเบาสู้ สู่เจ้าของธุรกิจพัดลมมูลค่ากว่าพันล้าน

เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยเฉพาะพัดลมยี่ห้อ “ฮาตาริ” ชื่อฟังดูญี่ปุ่นนี้คุ้นหูและโด่งดังในหมู่คนไทยมาอย่างยาวนาน รู้หรือไม่ว่าผู้ก่อตั้งคือ “จุน วนวิทย์” เป็นคนไทย มีประวัติน่าสนใจมาก

Advertisements

จากต้นทุนชีวิตไม่ได้เรียนตามระบบการศึกษา แต่มุมานะบากบั่นจนเป็นเจ้าของธุรกิจในใจคนไทย

ชื่อของจุน วนวิทย์ถูกค้นหาประวัติ อย่างมากในช่วงวันมานี้ว่าเขาคือใคร หลังจากมีการรายงานว่า จุน วนวิทย์และครอบครัวได้บริจาคเงินส่วนตัว 900 ล้านบาทให้กับมูลนิธิรามาธิบดี

วันนี้ Thaiger จะพาไปย้อนรอยประวัติความเป็นมาของชายผู้นี้กัน

ประวัติ จุน วนวิทย์ เจ้าของผู้ก่อตั้ง ฮาตาริ.

ชื่อของ “นายจุน วนวิทย์” ได้ปรากฎขึ้นอย่างเป็นเกียรติยศ บนฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในฐานะผู้ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ประจำปีการศึกษา 2553

ในคำประกาศเกียรติคุณนายจุน วนวิทย์ ได้ระบุว่า ประวัติของเขา เกิดวันที่ 7 พ.ค. 2480 เป็นชาวกรุงเทพโดยกำเนิด

Advertisements

เด็กชายจุนไม่ได้เข้าเรียนหนังสือตามระบบโรงเรียนจึงไม่ได้รับวุฒิการศึกษา แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะขยันหาความรู้ พัฒนาตนเองจนชีวิตประสบความสำเร็จ

นายจุน วนวิทย์ได้เริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เป็นลูกจ้างกวาดพื้นร้านขายข้าวสารส่งออกต่างประเทศที่ถนนสี่พระยา กรุงเทพมหานคร

จากนั้นจุนก็ได้ไปทำหลายอาชีพไม่ว่าจะเป็น ช่างทำทอง ขับรถรับจ้าง ลูกจ้างร้านทำป้ายพลาสติก ร้านโรคกลึง ช่างทำแม่พิมพ์ เรียกว่าหนักเอาเบาสู้ เรียนรู้งานหลากหลายเสมอมา

เมื่ออายุ 28 ปี นายจุนเริ่มก่อร่างสร้างธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเอง ออกแบบและผลิตของเล่นเด็กขาย

ด้วยความที่มีความรู้ด้านการฉีดพลาสติกนี่เองเป็นต้นทุนทางภูมิปัญญาให้นำไปสู่การทำโครงพัดลมด้วยพลาสติกที่สมัยนั้นโครงพัดลมยังนิยมทำด้วยโลหะอลูมิเนียม

จุนไปเสนอขายไอเดียให้กับโรงงานจนโครงพลาสติกของเขาได้รับความแพร่หลาย

กระทั่งจุนได้ก่อตั้งบริษัทพัดลมของตนเองในวัย 52 ปี ชื่อ “ฮาตาริ” ออกขายเป็นครั้งแรกในปี 2532

ณ ปีที่ จุน วนวิทย์ ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ บริษัทที่เขาเริ่มก่อตั้งมีผลประกอบการ ปีละกว่า 4 พันล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดในผลิตภัณฑ์พัดลมในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 สามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด

อ่านประวัติฉบับเต็มคลิกที่นี่

เครดิตภาพปกจาก : ฐานข้อมูลจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Thaiger

The Thaiger นำเสนอข่าวสารล่าสุดและอัปเดตจากทั่วประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button