เตือนภัย กลั้นปัสสาวะ อันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงโรคร้ายจากการติดเชื้อ
เตือนภัยสุขภาพ กลั้นปัสสาวะ อันตรายกว่าที่คิดยิ่งกลั้นนานยิ่งเสี่ยง ส่องผลร้าย โรคอันตรายจากการอั้นฉี่ เสี่ยงเป็นนิ่ว และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะ เป็นหนึ่งในของเสียที่ร่างกายกลั่นออมาในรูปแบบของของเหลว แต่ในบางครั้งร่างกายก็แกล้งให้ไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้เราปวดปัสสาวะในยามขับขัน จนในหลายๆครั้งก็จำเป็นจะต้อง กลั้นปัสสาวะ เอาไว้เพื่อไม่ให้ปล่อยมาเรี่ยราด แต่รู้หรือไม่ว่าการกลั้น หรืออั้นปัสสาวะนั้นอาจส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เสี่ยงต่อโรคร้ายอีกเพียบ ใครปวดฉี่อยู่รีบหาห้องน้ำเลย
- อั้นไม่ไหว! หญิง ฉี่รดห้องสำนักงาน ร้านกาแฟไต้หวัน
- ‘พิ้งกี้ สาวิกา’ เคลียร์ดราม่า หลังถูกวิจารณ์หน้าไม่รับแขกที่สนามบิน
- กินฉี่รักษาโรค ได้จริงไหม ? ไขข้อข้องใจ ใครเคยดื่มน้ำปัสสาวะ เช็กด่วน!
หาห้องน้ำด่วน! กลั้นปัสสาวะ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ยิ่งทำบ่อยทำนาน เสี่ยงเป็นนิ่ว กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
รู้จักระบบการทำงาน ปัสสาวะ
การปัสสาวะ แต่ละครั้งจะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของอวัยวะหลายส่วน เมื่อมีของเสียอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเกินครึ่ง เส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะจะส่งสัญญาณไปยังสมองให้รู้สึกปวดอ่อนๆ บริเวณท้องน้อย ต่อไปสมองจะส่งสัญญาณกลับไปให้กล้ามเนื้อกลั้นปัสสาวะไว้ก่อนจนกว่าเราจะพร้อมขับถ่าย
ดังนั้นการ กลั้นปัสสาวะ ทั้งที่กำลังปวดอยู่นั้นเปรียบเหมือนเป็นการยื้อเวลาการปล่อยของเสียในร่างกาย ทำให้ของเสียแช่ค้างนานจนทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโต กลายเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ และหากเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือเป็นโรคไตได้ในที่สุด
รวม 2 โรคอันตรายจากการกลั้นปัสสาวะ
| โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล ซึ่งพบได้มากถึง 75-95% ซึ่งเชื้อเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางรวมไปถึงการกลั้นปัสสาวะ ซึ่งหากอั้นฉี่นานๆ เชื้อโรคก็จะมีการเจริญเติบโตมากขึ้นร่วมกับมีแรงดันในกระเพาะปัสสาวะที่มากขึ้น ทำให้เยื่อบุผิวยึดตัวจนเชื้อโรคฝังตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนเกิดการอักเสบได้
2. ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การใช้ยา ส่วนประกอบในยาบางชนิดอาจมีผลต่อการอักเสบหรือระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะยาเคมีบำบัด เช่น ยาซัยโคลฟอสฟาไมด์ และยาไอฟอสฟามายด์
- การฉายรังสีบริเวณช่องเชิงกราน ทำให้เนื้อเยื่อภายในกระเพาะปัสสาวะบริเวณที่โดนฉายรังสีเกิดการอักเสบขึ้นได้
- สิ่งแปลกปลอมภายนอก เช่น การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการติดเชื้อและทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบตามมา
- สารเคมี บางคนอาจมีความไวหรือระคายเคืองต่อสารเคมีในผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์อาบน้ำหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
- ปัญหาสุขภาพ อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว เช่นนิ่ว, ต่อมลูกหมากโต หรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากฮันนีมูน (Honeymoon cystitis) มีสาเหตุมาจากการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ
| โรคนิ่ว
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย เกิดจากผลึกแคลเซียมและสิ่งแปลกปลอมที่มีการตกตะกอนเป็นก้อน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หากอั้นนานๆ แคลเซียมจะตกตะกอนและเกาะตัวกันเป็นก้อนนิ่ว ทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง