ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

ประวัติ ‘วันเข้าพรรษา’ 14 กรกฎาคม 2565 วันสำคัญของชาวพุทธ ร่วมกิจกรรมงานบุญ ถวายเทียนพรรษา

วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม 2565 ร่วมแห่เทียนพรรษา พร้อมเปิดประวัติความเป็นมาของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มีอะไรน่าสนใจบ้าง

เช็กปฏิทินวันพระประจำปี วันเข้าพรรษา 2565 ปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา โดยเป็นวันที่พระสงฆ์จะประจำอยู่ที่วัดใดวัดหนึ่งตลอดช่วงฤดูฝน โดยจะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ทีมงาน The Thaiger จะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักวันเข้าพรรษาให้ละเอียดว่ามีความสำคัญอย่างไรกับชาวพุทธไทยกันบ้าง

Advertisements

วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม 65

ประวัติ วันเข้าพรรษา 2565 มีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างไรบ้าง

เปิดประวัติวันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม 2565

วันเข้าพรรษา หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จำพรรษา” เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ที่แห่งหนึ่งตลอดช่วงฤดูฝน เป็นระยะเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยปิฎกบัญญัติไว้ การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรงไม่สามารถละเว้นได้ หากพระสงฆ์รูปใดไม่จำพรรษาถือว่าต้องอาบัติทุกกฎตามพระวินัย โดยวันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคมเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดในวันออกพรรษา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือน เพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักจากการจาริก หรือ การเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความยากลำบากในการเดินทางตลอดช่วงหน้าฝน ทั้งยังเป็นการป้องกันความเสียหายจากการเดินเหยียบแปลงพืชการเกษตรของชาวบ้านในฤดูฝนอีกด้วย

Advertisements

ทั้งนี้วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม ยังเป็นโอกาสอันดีที่จะทำให้พระสงฆ์จำนวนมากมารวมตัวกันภายในอาวาสเดียวกัน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ภูมิปัญญา และยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างความสามัคคีให้เกิดในหมู่พระสงฆ์อีกด้วย

วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม 65

ความสำคัญของวันเข้าพรรษา

สำหรับวันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม ประจำปีพ.ศ. 2565 นี้มีความสำคัญกับทั้งชาวพุทธศาสนิกชน และสำหรับพระสงฆ์เอง เนื่องด้วยในหนึ่งปีมีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาไม่กี่วันเท่านั้นที่เปรียบเสมือนวันทำบุญใหญ่ที่มอบทั้งความเป็นสิริมงคลให้แก่ประชาชนชาวพุทธที่ได้ร่วมกันจัดประเพณีนี้ขึ้นมา อีกทั้งยังเป็นวันที่พระสงฆ์ได้รับการพักผ่อนจากกิจของสงฆ์อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ระยะเวลาในการเข้าพรรษาตรงกับช่วงเวลาที่ชาวบ้านเริ่มการทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์จำพรรษาที่สถานที่แห่งหนึ่งก็จะช่วยให้พันธุ์พืชการเกษตรไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์ผ่านในบริเวณนั้น

2. ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่พระภิกษุสงฆ์สามารถหยุดพักผ่อนจากเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาตลอด 8 – 9 เดือนที่ผ่านมาได้

3. พระภิกษุสงฆ์จะมีเวลาในการประพฤติตนเพื่อปฏิบัติธรรม และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย รวมทั้งเตรียมการสั่งสอนศาสนาแก่ประชาชนทั่วไป เมื่อพ้นระยะเวลาเข้าพรรษา

4. มีโอกาสสำหรับการอบรมสั่งสอน และการบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบเกณฑ์ในการบวช ซึ่งสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาคงอยู่ต่อไปได้

5. พุทธศาสนิกชน มีโอกาสที่จะได้บำเพ็ญกุศลในช่วงระยะเวลาที่พิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร การหล่อเทียนพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝน การรักษาศีล การเจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัย งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสในการฟังพระธรรมเทศนามากขึ้นตลอดเวลาเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม 65

กิจกรรมวันเข้าพรรษา

พุทธศาสนิกชนชาวไทย มีโอกาสที่จะได้ทำบุญบำเพ็ญกุศลมากขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคมนี้ เนื่องจากมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามากมายให้ชาวพุทธได้ร่วมกันทำบุญ ซึ่งแตกต่างจากวันสำคัญวันอื่น ๆ เช่น การถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา การถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระสงฆ์ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้ขณะจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน

นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษา 14 กรกฎาคม เป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร เพื่อเป็นการส่งเสริมค่านิยมที่ดีแก่สังคมไทย ทำให้ชาวพุทธสามารถร่วมใจกันปฏิบัติธรรมได้มากยิ่งขึ้นในวันเข้าพรรษานี้

อ้างอิง : 1

moo

นักเขียนที่ชื่นชอบสิ่งต่าง ๆ ในสังคมออนไลน์ รวมทั้งหนังสือ ภาพยนตร์ ไลฟ์สไตล์ และแฟชั่น ทั้งที่อยู่ในกระแสหรือนอกกระแส เพื่อนำมาเขียนเรียบเรียงให้ทุกคนได้อ่าน และทำความรู้จักสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นผ่านงานเขียนของเรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button