ไลฟ์สไตล์

วันผู้สูงอายุสากล 1 ตุลาคม 2566 ส่งเสริมบทบาท ผู้สูงอายุในสังคม

วันสำคัญน่ารู้ 1 ตุลาคม 2566 วันผู้สูงอายุสากล ตระหนักรู้ตระหนักรู้ ให้โอกาส เสริมบทบาทผู้สูงอายุ บุคลากรสำคัญผู้สร้างคุณงามความดี และคุณประโยชน์ไว้ให้คนรุ่นหลัง

รู้หรือไม่ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันผู้สูงอายุสากล” มีขึ้นเพื่อสร้างความตะหนักรู้แก่สังคมให้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุทั้งหลาย เพราะพวกเขามีส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนสังคม คุณตาคุณยายเหล่านี้ไม่ใช่ภาระอย่างที่คนรุ่นใหม่คิด และมักมองข้ามไม่เหลียวแล แต่ที่ผ่านมาคุณปู่คุณย่าได้สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมของเราไว้มากมาย

อีกทั้ง ยังให้ความหมายคำว่า ผู้สูงอายุ ว่าคือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางวันผู้สูงอายุสากล ประจำปี 2016 คือ Take a Stand Against Ageism “ให้โอกาส และบทบาทที่สำคัญแก่ผู้สูงอายุ”

ประวัติ วันผู้สูงอายุสากล 2023

ประวัติ วันผู้สูงอายุสากล

วันผู้สูงอายุสากล หรือ International Day of Older Persons ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม 2566 จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค. 2534 โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ผู้เคยเป็นบุคลากรสำคัญในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทย วันผู้สูงอายุ เริ่มได้รับความสำคัญในสมัย จอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีการกำหนดนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยได้มอบหมายให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้นในปี 2496 เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่มีความทุกข์ยาก ประสบปัญหา และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง

ในสมัยรัฐบาลขออง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้มีการสานต่อความสำคัญการสงเคราะห์ผู้สูงงอายุ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งงชาติ และเลือก ดอกลำดวน ให้เป็นสัญลักษณ์ของวันผู้สูงอายุ

เพราะดอกลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ลำต้นมีอายุยืน ใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดี และดอกมีสีนวล กลิ่นหอม กลีบไม่ร่วงโรยง่าย เปรียบได้กับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานสืบไป

1 ตุลาคม 2566 วันผู้สูงอายุสากล

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) นับตั้งแต่ปี 2547 และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี 2567 ซึ่งในปัจจุบันถืออว่ากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์

จากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่าประเทศไทยหลังปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรวัยแรงงาน และในปี 2560 ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติที่ประชากรเด็กมีจำนวนน้อยกว่าประชากรผู้สูงอายุ

1 ตุลาคม 2566 วันผู้สูงอายุสากล

จากข้อมูลประชากรสูงอายุในประเทศไทย ปี 2557 มีผู้สูงอายุมีจำนวน 10,014,705 คน ถือเป็นร้อยละ 14.9 มีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงาน ร้อยละ 38.4 และใน ปี 2558 มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน ร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยผู้สูงอายุ ร้อยละ 37.3 ยังคงทำงาน และมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ในปัจจุบันหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนสถานภาพบทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุมากขุึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งการขยายเกณฑ์กำหนดเกษียณอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปี เพื่อให้ผู้สูงอายุยังสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ และได้ใช้ประสบการณ์และศักยภาพอย่างเต็มที่

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button